Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดูอนิเมะให้ถึงเเก่น
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2021 เวลา 05:04 • ความคิดเห็น
Gender bender เส้นพร่าเลือนและความเลื่อนไหลของความเป็นเพศ
ฮิเมะ , มิซึกิ .ชิโดว , ซุบารุ
ถ้าหากพูดถึงแนวอนิเมะหรือมังงะแล้วนั้น คงจะเป็นไปไม่ได้ที่ใครหลายๆคนจะไม่รู้จักอนิเมะแนว Gender bender หรือแนวสลับเพศ แต่อย่างไรก็ดีถ้าหากคุณยังไม่รู้จักอนิเมะแนวนี้ก็ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายให้คุณเข้าใจเอง Gender bender หรือแนวสลับเพศ เป็นอนิเมะที่จะมีตัวละครตัวใดตัวหนึ่งที่สลับเพศไปเป็นตัวละครเพศตรงข้ามด้วยเหตุผลบางอย่างซึ่งส่งผลให้เขาต้องใช้ชีวิตเป็นเพศตรงข้ามแต่ภายในใจยังเป็นเพศเดิมอยู่ โดยผมจะแบ่งแนว Gender bender เพื่อจะได้ง่ายต่อการอธิบายออกเป็น 3 ประเภทนะครับ
1. Crossdressing หรือ แนวแต่งหญิง แต่งชาย (จะเรียกว่าแนวสาวดุ้น ก็ได้นะครับ) เป็นแนวที่ตัวเอกชายพยายามแต่งตัวเป็นผู้หญิง หรือ ตัวละครหญิงพยายามแต่งตัวเป็นผู้ชาย ด้วยเหตุผลหลากหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ฮิเมะจาก Himegoto ที่แต่งหญิงเพื่อใช้หนี้ให้ครอบครัวจนเกิดเป็นเรื่องราวชุลมุนระหว่างฮิเมะกับประธานนักเรียนและคนรอบข้าง, ชิโดว จากเรื่อง Maria Horic ที่ปลอมตัวเป็นน้องสาวฝาแฝดของตน ,หรือ ซุบารุ จากเรื่อง Mayo Chiki ที่แต่งตัวเป็นผู้ชายเพื่อจะได้สามารถทำงานเป็นพ่อบ้านเพื่อรับใช้คุณหนูได้
https://danbooru.donmai.us/posts/1808207
2. Switching souls หรือแนวสลับร่าง เป็นแนวที่ตัวละครเอกชายและหญิงสลับร่างซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดเรื่องราวชุลมุนวุ่นวายตามมา ยกตัวอย่างเช่น การสลับร่างกันระหว่าง ยามาดะและอุราระจากเรื่อง Yamada-kun and the seven witches
1
https://spotlightreport.net/anime-art-exhibitions/yamada-kun-and-the-seven-witches-review
3. transgenders หรือแนวเปลี่ยนเพศ ซึ่งเป็นแนวที่ตัวละครเอกเปลี่ยนเพศของตนเป็นอีกเพศไปเลย จากชายกลายเป็นหญิง หรือจากหญิงเป็นชาย นอกจากนี้ยังเป็นแนวที่ผมค่อนข้างชื่นชอบและชวนให้ตั้งคำถามมากที่สุด ตัวอย่างของแนวนี้ก็เช่น รันม่าจาก Ranma1/2 ที่กลายเป็นผู้หญิงเมื่อโดนน้ำร้อนเพราะดันตกลงไปในบ่อน้ำต้องคำสาป , มิซึกิ จาก Boku Girl ที่ดันโดนเทพขี้เล่นแกล้งสาปให้เป็นผู้หญิง ,หรือ เรียวจากเรื่อง Mida love ที่มีสายเลือดของแซคคิวบัส ทำให้สามารถสลับเพศเป็นหญิงได้เวลาเกิดอารมณ์ทางเพศ
https://www.thepetitionsite.com/258/139/357/this-heartwarming-manga-called-quotboku-girlquot-by-sugito-akira-needs-to-get-a-anime-adaptatio./
ซึ่งอนิเมะแนวนี้นอกจากจะสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชมแล้วนั้น (อาจจะไม่ทุกคนครับเพราะบางคนก็ไม่ชอบอย่างเพื่อนผมคนหนึ่งนี่แทบไม่แตะแนวนี้เลยครับ ต่างจากผมที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหนถ้าเป็นแนวนี้ผมก็จะหามาดูแทบทุกเรื่องเลย) ยังได้สอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับเพศไว้พอสมควรเลย โดยเฉพาะเป็นการรื้อถอนมายาคติเก่าๆเกี่ยวกับเพศที่เรามักจะเข้าใจกัน ยกตัวอย่างเช่น เพศชายก็ไม่จำเป็นต้องแสดงออกเป็นผู้ชายเสมอไปเหมือนน้องฮิเมะจังก็ได้ หรือเป็นการตั้งคำถามกับความเป็นเพศว่าจริงๆแล้วเพศคืออะไรกันแน่ อะไรคือเส้นแบ่งของความเป็นชายและความเป็นหญิง ถ้าสมมุติ มิซึกิกลายเป็นหญิงแต่ข้างในเธอเป็นผู้ชาย สรุปแล้วเธอเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงกันแน่ แต่อย่างไรก็ดีเพื่อที่จะตอบคำถามเหล่านี้ ผมก็ขอใช้กรอบคิดของนักปรัชญาชื่อดังอย่าง Judith butler มองปัญหาดังกล่าวนะครับ โดยเขากล่าวไว้ว่า จริงๆแล้วเพศเป็นสิ่งที่เลื่อนไหลและมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราคิดกันนะ ไม่ใช่มีเพียงเพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือกอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่การจะแบ่งเพศนั้นจริงๆแล้วต้องแบ่งให้ซับซ้อนกว่านั้น ซึ่งเขาแบ่งความเป็นเพศออกเป็น
1. เพศกำเนิด (Sex) หรือสภาวะที่ติดตัวมาเปลี่ยนแปลงได้ยาก เช่น เพศชาย เพราะมีน้องชาย หรือเพศหญิงเพราะมีน้องสาว
2.เพศภาวะ (Gender) หรือการแสดงออกของความเป็นเพศ เช่น แสดงออกว่าเข้มแข็งไม่ร้องไห้ พูดว่าครับ ชอบเล่นกีฬา ถือว่าแสดงออกถึงความเป็นชาย หรือแสดงออกว่าอ่อนโยน บอบบาง พูดว่าค่ะ ชอบอะไรหวานแหวว เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหญิง โดยเพศภาวะนี้เองที่ butler กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่สังคมประกอบสร้างขึ้นมาเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริงหรอกนะ เรานั้นก็เหมือนนักแสดงที่ถูกบังคับให้เล่นตามบทเท่านั้นแหละ เพศชายก็ถูกบังคับให้เล่นบทของความเป็นชาย เพศหญิงก็ถูกบังคับให้เล่นบทของความเป็นหญิง โดยคนที่เล่นผิดบทหรือไม่ได้เล่นตามบทก็จะถูกสังคมมองว่าแปลกประหลาด ผิดปกติ หรือถูกทำให้เป็นเรื่องน่าอาย ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครอย่าง ฮิเมะจัง ที่ในตอนแรกก็จะพยายามต่อต้านและไม่ยอมรับมัน โดยคิดว่ามันเป็นเรื่องน่าอาย แต่เมื่อดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆฮิเมะก็สามารถทำใจยอมรับได้และไม่อายอีกต่อไป และเป็นการสะท้อนว่าจริงๆแล้วผู้ชายก็สามารถแสดงออกในความเป็นหญิง ร้องไห้ และแต่งชุดสวยๆเดินเล่นตามสถานที่ต่างๆอย่างไม่ต้องปิดบังได้เหมือนกัน
3.เพศวิถี Sexuality หรือความชอบต่อคู่ของตน ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับเพศภาวะหรือเพศกำเนิดก็ได้ อย่างฮิเมะที่แสดงออกเป็นหญิงด้วยการ Crossdressing ก็อาจชอบผู้หญิงเหมือนเพศชายทั่วไปก็ได้ หรือรันม่าที่กลายเป็นผู้หญิงไปแล้วแต่ก็ยังรักและชอบอากาเนะไม่เปลี่ยนแปลง ต่างจากมิซึกิที่กลายเป็นหญิงแต่ชอบเพื่อนสนิทของตนที่เป็นเพศชาย ซึ่งสะท้อนว่าเราไม่ควรถูกจำกัดว่าเพศใดๆควรรักเพศนั้นๆเท่านั้น แต่ความรักเป็นสิ่งไร้พรมแดน เป็นสภาวะเปิดที่เต็มไปด้วยความเป็นไปได้อันไม่รู้จบ
กล่าวโดยสรุปแล้ว Butler เห็นว่าความเป็นเพศนั้นซับซ้อนและยากที่จะจำแนกประเภทอย่างที่เรามักจะเข้าใจกัน ดังนั้นเราจึงไม่สามารถไปจำแนกอะไรง่ายๆอย่าง ตุ๊ด กระเทย เกย์ หรืออะไรก็ตาม แต่เราควรมองเขาว่าคือเพศๆหนึ่งเหมือนกับเราทุกคน เป็น Queer เช่นเดียวกันกับเรา และก้าวข้ามความเป็นเพศไปสู่การยอมรับในความแตกต่างของทุกคน ไม่ว่าเขาจะเป็นแบบ ฮิเมะจัง รันม่า มิซึกิ ยามาดะ ซุบารุ ชิโดว หรือใครก็ตาม แต่ทุกคนล้วนเป็นคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครที่ผิดปกติทั้งนั้นละครับ
(จบแล้วละครับ ครั้งนี้เขียนยาวหน่อยนะครับ พอดีหัวกำลังแล่นๆ มือมันก็เลยไหลไปตามความคิดจนเผลอแปปๆก็เขียนซะยาวเหยียดเลย แต่อย่างไรก็ดี ถ้าใครมีความเห็นหรือชอบดูอนิเมะแนวนี้ก็สามารถเสนอความคิดเห็นและแนะนำอนิเมะแนวนี้ที่คุณชื่นชอบมาได้นะครับ )
Reference
https://en.wikipedia.org/wiki/Judith_Butler
https://cla.purdue.edu/academic/english/theory/genderandsex/modules/butlergendersex.html
https://www.otakukan.com/best-gender-bender-anime-series/
https://en.wikipedia.org/wiki/Gender_bender
https://myanimelist.net/manga/genre/44/Gender_Bender
https://aminoapps.com/c/anime/page/blog/gender-bender-manga-genre-analysis/X1tg_u7L7bvY8V1x7Ladn518DXbK6D
“There is no gender identity behind the expressions of gender; that identity is performatively constituted by the very expressions that are said to be its results.”
Judith butler
Judith butler
บันทึก
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย