14 ก.พ. 2021 เวลา 05:20 • การศึกษา
ราชกิจจานุเบกษา แท้จิงแล้วคืออะไร ? 🤔
ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร? ทำอะไรก็ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาตลอด (โดยเฉพาะช่วงนี้บ่อยมากๆ) จำเป็นด้วยหรือที่ต้องประกาศ ? ประกาศให้ใครทราบ ? วัตถุประสงค์การประกาศเพื่ออะไร ? หลายๆท่านคงอาจสงสัยเหมือนผมใช่ไหมครับ วันนี้เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันครับ 👇🏻👇🏻👇🏻
ราชกิจจานุเบกษาคืออะไร ?
💛ราชกิจจานุเบกษา หรือภาษาอังกฤษคือ Royal Thai Government Gazette โดยสามารถเรียกสั้นๆ ได้ว่า Government Gazette เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 ( คือพิมพ์กันมากกกว่า 100 กว่าปีแล้ว )
2
💙วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ (บางกอกรีคอเดอ) เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร่
1
♥️หนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดู ราชกิจ เป็นรูปพระมหามงกุฎ แลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำหน้าเป็นตัวอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษา อยู่เบื้องบน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอเดอ ของหมอบลัดเลย์ เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน
3
💚ลักษณะของเรื่องที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้มีดังนี้ครับ
1. เรื่องที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา❌❌❌
2. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องส่งไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540❌❌❌
1
3. เรื่องที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องประกาศหรือส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ❌❌❌
💜ราชกิจจานุเบกษามี 4 ประเภท
🤎โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องใน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ราชกิจจานุเบกษาแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยประเภท ข และ ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อไปจากเดิม ดังนี้ ❌❌❌
✅1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษา ของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ
✅2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก
2
✅3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน
✅4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค
🧡เห็นไหมครับว่าแม้ราชกิจจานุเบกษาจะฟังดูไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตทั่วไปของเรา แต่ในความเป็นจริงราชกิจจานุเบกษามีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เราต้องทราบไว้บ้าง แม้อาจจะไม่ต้องลงลึกในรายละเอียด แต่ก็ควรเข้าใจความเป็นไปเป็นมาและจุดประสงค์ของมัน
1
❤️วันนี้ผมจึงขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันต่อไปด้วยนะครับ สวัสดี🙏🏻😊
📌สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ จากเพจความรู้คู่ความโง่ (Stupid with Knowledge) ทุกคนจะฉลาดมากขึ้น หากเกิดข้อสงสัย ตั้งคำถาม และหาคำตอบให้กับเรื่องนั้นๆ 🙂🐻
Please Support & Follow us ♥️✍🏻
1
โฆษณา