Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ภาษาไทยโบราณ
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2021 เวลา 15:46 • การศึกษา
คำไทยสมัยโบราณ บทที่ 9
ความหมายคำนี้ที่แพร่หลายในปัจจุบัน(วิกิพีเดีย)
แหล่ หมายถึงการเทศน์ที่ใช้เสียงและทำนองที่มุ่งความไพเราะเป็นสำคัญ เช่นเทศน์มหาชาติ เรียกว่า เทศน์แหล่ มีทั้ง แหล่ใน คือเทศน์ตามคัมภีร์เทศน์มหาชาติ และแหล่นอก คือเทศน์เรื่องนอกคัมภีร์มหาชาติ แหล่ อีกความหมายหนึ่งหมายถึงตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งของแต่ละกัณฑ์ในเทศน์มหาชาติ เทศน์ไปได้ตอนหนึ่งก็เรียกได้ว่าแหล่หนึ่ง สองตอนก็สองแหล่ จบแต่ละตอนก็เรียก ว่าจบแหล่
แหล่ เป็นคำกร่อนมาจากคำว่า "นั่นแล" เพราะในการเทศน์มหาชาติทุกกัณฑ์ เมื่อจบตอนหนึ่งแล้วท่านจะลงท้ายด้วยคำว่า "นั่นแล" ทุกตอนไป เมื่อลากเสียงคำว่า แล
ยาวออกไปจึงกลายเป็น แหล่ ไป
คำว่า"แหล่"ในภาษาโบราณมีความหมายอื่น.
1.แปลว่างานฉลอง2.หมายถึงนักร้องในงานศพหรือหมายถึงผู้ที่ร้องเพลง
กล่าวสรรเสริญ คุณงามความดีของผู้ตาย
ลำตัด
ลำตัด
ศิลปะพื้นบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี
ความเชื่อที่แพร่หลายถึงที่มาของคำนี้สันนิษฐานว่ามาจากการละเล่นของมาลายู
แปลงเป็นภาษาไทยว่าลิเกลำตัดต่อมาก่อนเหลือคำว่าลำตัดเนื่องจากเนื้อหา
ในลำตัดมักจะร้องเชือดเฉือนกันจึงเรียกว่าลำตัด.
ภาษาไทโบราณคำว่า"ตัด"แปลว่าบทเพลง
ส่วนคำว่าลำก็หมายถึงบทกลอนที่คล้องจองกันเรียกเป็นลำ
เหมือนในภาษาไทยปัจจุบัน.เพราะฉะนั้นลำตัดก็หมายถึงบทกลอนที่เป็นเพลง.
เพลงฉ่อย
เพลงฉ่อย
ศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดแถบภาคกลางเป็นเพลงโต้ตอบกันระหว่างผู้หญิง
และผู้ชาย คำว่า"ฉ่อย"ความหมายภาษาไทโบราณแปลว่าโต้ตอบ.
ความหมายของคำเหล่านี้ ยังพบได้ในเผ่าไทอื่น เช่นเผ่าไท,ไต่ในจีนตอนใต้และ
เวียดนามเหนือ.
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน.
คำไทยโบราณ ๘.๒.๖๔
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย