10 ก.พ. 2021 เวลา 12:18 • ประวัติศาสตร์
ประวัติย่อ NiNi ผู้สร้าง สบู่ คนแรก
Nini หญิงผู้ให้กำเนิด สบู่ ที่ช่วยชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วน
Ninisina เทพธิดาแห่งการแพทย์
สบู่สิ่งมหัศจรรย์ของมนุษย์ เกิดมาทุกคนต้องเคยใช้ ทุกบ้านต้องเคยมี มันคือตัวช่วยชั้นดีไม่ให้เราตัวเหม็น เรารู้ว่ามันซื้อที่ใหน แต่เรารู้รึเปล่าใครเป็นคนแรกที่ทำสบู่ขึ้นมา ถ้าเพื่อนๆสงสัยลองไปอ่านดูครับ
การใช้สบู่ครั้งแรกเชื่อกันว่ากำเนิดในช่วง 4500 ปีก่อนคริสตกาล เขตอารยธรรม
เมโสโปเตเมียโบราณ โดยชนชาติ สุเมเรี่ยน (Sumerian) เป็นพวกแรกที่ผลิตสบู่ขึ้นมาได้สำเร็จ
โดยใช้ไขมันที่ได้จากวัวแกะหรือแพะ มาผสมกับน้ำด่างที่ผลิตได้จากขี้เถ้าไม้ แล้วนำมาผสมกันผลที่ได้คือคราบมันเยิ้มและมีกลิ่นเหม็น
พวกเขาใช้ส่วนผสมที่ได้ ไว้ขจัดคราบไขมันจากผ้าขนสัตว์เพื่อให้สามารถนำมาย้อมสีบนตัวผ้าได้ และเหล่านักบวช ยังนำไปใช้ชำระตัวให้บริสุทธิ์ก่อนทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวเมโสอีกด้วยครับ
ชาวสุเมเรี่ยน
ส่วนผู้ที่ค้นพบการผลิตได้เป็นคนแรกเชื่อว่าเป็นผู้หญิง เพราะผู้ค้นพบสบู่น่าจะทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่กำลังขยายตัวของยุคสุเมเรี่ยน
เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่มีผู้หญิงเป็นผู้ควบคุมจนไปถึงเป็นแรงงาน ยังไม่แน่ชัดเรื่องชื่อของเธอ แต่นักวิชาการเรียกเธอว่า nini ตามชื่อเทพธิดาแห่งการแพทย์ของชาวสุเมเรียน Ninisina
เชื่อว่า nini เกิดในดินแดนทางตอนใต้ของอิรักบางทีอาจจะเป็นในเมือง Girsu(กีร์ซู) ของชาวสุเมเรี่ยนโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งของ แผ่นจารึก ที่เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตสบู่ที่เก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าเธอคนนี้ เกิดในช่วงเวลาของการสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซา
โดย nini เธอเติบโตมาในสังคมที่ปกครองโดยนักบวช ตามคำบอกเล่าของนักวิชาการชาวเมโสโปเตเมียและนักเขียนสตรีในเมโสโปเตเมียโบราณ
ว่าผู้หญิงในยุคนั้นอยู่ในสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ โดยมีพ่อเป็นหัวหน้าครอบครัวและมักจะบงการชีวิตเธอเสมอ และเขาน่าจะบังคับให้เธอแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตามสมัยนิยม
เมือง girsu ปัจจุบันคือ อิรัก
ในบทเพลงสวดต่อเทพ ของชาวสุเมเรียน อธิบายหน้าที่ของผู้หญิงชาวสุเมเรียนเอาไว้ว่า
"ฉันเป็นลูกสาว ฉันเป็นเจ้าสาว ฉันเป็นคู่สมรสฉันเป็นแม่บ้าน"
nini เธอน่าจะเกิดในครอบครัวชนชั้นล่างของชาวสุเมเรี่ยน นอกจากที่เธอจะเป็นแม่บ้านแล้วเธอยังมีอีกบทบาทที่ทันสมัยมากในยุคนั้นคือพนักงานโรงงาน
เพราะชาวสุเมเรี่ยนในยุคนั้นได้คิดค้นระบบโรงงานสิ่งทอ ลักษณะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยรัฐ
มีการใช้แรงงานที่เป็นทั้งทาสต่างชาติและการจ้างคนงานทั่วไป เพื่อให้ทำงานตัดเย็บ ย้อมสีและผลิตสิ่งทอที่ทำด้วยขนสัตว์ซึ่งเป็นสินค้าการส่งออกที่สำคัญของหลายๆเมืองในเมโสโปเตเมีย
โดย nini ได้ทำงานที่โรงงานสิ่งทอของ Girsu ซึ่งเป็นศูนย์การผลิตขนาดใหญ่ที่ทันสมัย นักโบราณคดี ได้คำนวณไว้ว่าในช่วงเวลาสามเดือนทางโรงงานสามารถตัดขนแกะได้มากกว่า 203,310 ตัวเลยทีเดียว
ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจมาก เนื่องจากมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่ากรรไกรตัดขนแกะมาใช้ โดยโรงงานแห่งนี้ใช้คนงานมากถึงหมื่นคนทำให้โรงงานสิ่งทอแห่งนี้แห่งเดียวผลิตขนสัตว์ได้มากกว่าสี่ร้อยตันต่อปี
1
มีเอกสารการใช้สบู่ครั้งแรกอธิบายไว้ใน แผ่นจารึกที่พบใน girsu โดยนักโบราณคดีมีใจความเกี่ยวข้องกับการซักและการย้อมผ้าขนสัตว์
โดยกล่าวถึงวิธีการย้อมผ้าขนสัตว์อย่างถูกต้องผู้ทอต้องขจัดไขมันลาโนลินออกจากสิ่งทอซึ่งทำได้ง่าย "ด้วยสบู่" ปัจจุบันก็มีการล้างขนแกะใหม่ๆในน้ำสบู่เพื่อขจัดลาโนลิน
(ลาโนลินคือสารคัดหลั่งธรรมชาติจากแกะ)
แผ่นจารึกสูตรสบู่ของชาวสุเมเรี่ยน
นักวิชาการสัญนิษฐานว่า Nini น่าจะพบวิธีการสร้างสบู่ขึ้นมาโดยบังเอิญอาจจะเกิดระหว่างการทำงานที่แสนน่าเบื่อในในโรงงาน โดยเธอค้นพบว่าไขมันที่ติดบนขนสัตว์นั้นเมื่อผสมกับขี้เถ้า จะได้ของเหลวพิเศษ(น่าจะเป็นขี้เถ้าบริเวณถังน้ำร้อนสำหรับไว้ล้างคราบไขมันบนขนสัตว์)
โดยเธอลองเอามาชะล้างทำความสะอาดขนสัตว์ ปกติเป็นเรื่องยากใช้เวลานานที่จะชะล้างคราบไขมันปรากฏว่าคราบไขมันถูกชะล้างได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น
nini จึงได้สร้างถังสบู่ส่วนตัวโดยเตรียมถังไขมันไว้ข้างกายเมื่อต้องการใช้งานเธอจึงผสมขี้เถ้าลงไปและจะหยิบมาใช้งาน เพื่อเพิ่มความเร็วและลดอันตรายจากการใช้นำร้อนมาล้างคราบไขมันแทน
( ไขมันจากพืชหรือสัตว์ เมื่อผสมกับ น้ำที่มีกรดเป็นด่างจากขี้เถ้า(โซเดียมไฮดรอกไซด์)จะทำให้เกิดปฎิกิริยา สปองซิฟิเคชั่น (Saponfication)
ผลที่ได้รับคือ กรดไขมันจะแยกตัวไปจับกับไฮดรอกไซด์อิออนกลายเป็นสบู่)
ในที่สุดตอนนี้ nini ก็มีสบู่ใช้แล้วถึงแม้จะเพียงถังน้ำขี้เถ้ากับไขมันเยิ้มๆ ต่อมา Nini หรืออาจเป็นเพื่อนๆของเธอ ก็คิดออกว่าเธอสามารถกรองขี้เถ้าและก้อนไขมันออกไปได้เนื่องจากน้ำจะดูดซับสารอัลคาไลน์จากขี้เถ้าเอาไว้
น้ำที่เหลือก็ยังใช้ได้ผลเหมือนเดิมทำให้การใช้งานนั้นสะดวกและน่าใช้มากกว่าเดิม ทำให้ผู้คนเริ่มยอมรับและนำวิธีนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
จนกระจายไปตามเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็ว และไม่นานก็จะจายไปทั่วไม่ว่าจะเป็นโรมัน กรีก ยุโรป หรือแม้แต่จีนผ่านเส้นทางสายไหม
ภาพการทอผ้าขนสัตว์ของชาวสุเมเรี่ยน
ถึงแม้ชาวสุเมเรี่ยนโบราณจะเรียนรู้วิธีการสร้างสบู่มาใช้ทำความสะอาดสิ่งของได้แล้ว แต่ก็ไม่มีหลักฐานเลยว่าตอนนั้นพวกเขานำมันมาใช้ทำความสะอาดร่างกายหรือไม่
เพราะไม่มีใครในยุคนั้นรู้จักไวรัสจึงไม่จำเป็นต้องล้างมือถ้าไม่เห็นว่ามือสกปรก จนหลายร้อยปีต่อมาจึงจะมีการใช้สบู่กับร่างกายและรู้ว่าประโยชน์ที่แท้จริงของสบู่คืออะไร
อย่างไรก็ตามเราไม่อาจจะระบุลงไปตรงๆได้ว่าแท้จริง nini ชื่ออะไรหน้าตาแบบใหน แต่เรามั่นใจว่าต้องเป็นผู้หญิงสักคนในโรงงานแห่งนั้นแน่นอน
เพราะสบู่ที่พวกเธอผลิตมันเหมือนเคล็ดลับส่วนตัวมากกว่าจะเป็นรูปแบบการทำงาน ที่ถูกเตรียมไว้เพราะมีการใช้น้ำร้อนเป็นขั้นตอนอยู่แล้ว
แต่ถึงยังไงพวกเราก็ต้องขอบคุณ Nini จริงๆถ้าเธอไม่บังเอิญสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา โลกในยุคกลางคงมีคนตายอย่างมหาศาลมากกว่านี้
จากสุขภาพอนามัยที่ไม่สะอาด เพราะสบู่นั้นลดการแพร่กระจายของเชื่อโรค และช่วยให้แพทย์ล้างมือทำความสะอาดเพื่อช่วยชีวิตคนไข้ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นครับ
เกร็ดตำนานชื่อ สบู่คำว่า soap
ตามตำนานของโรมันสบู่ได้รับการตั้งชื่อตามภูเขาซาโปซึ่งเป็นสถานที่ ที่ชาวโรมันใช้สัตว์บูชายันเทพภายหลังจากการบูชายันสัตว์
ฝนได้ตกลงมาและชะล้างไขมันและขี้เถ้าของสัตว์ที่เก็บสะสมไว้ใต้แท่นบูชาลงไปที่ริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์
บังเอิญบริเวณแม่น้ำตรงนั้น จะมีแม่บ้านเอาผ้ามาซักเป็นประจำ พวกเธอเริ่มสังเกตเห็นว่าหลังจากฝนตกหนักใหม่ๆ น้ำที่ไหลจากแท่น ทำให้เสื้อผ้าที่ซักสะอาดมากกว่าเดิม
ดังนั้นอาจเรียกได้ว่าชาวโรมันได้ใช้สบู่ครั้งแรก คือที่ภูเขานี้ จนเป็นที่มาของคำว่า sapo หรือ soap นั้นเอง
คำว่า "sapo" ปรากฏครั้งแรกในหนังสือที่เขียนเป็นภาษาละตินชื่อ "Natural History" โดย Pliny the Elder นักวิชาการจากเมืองปอมเปอี
ขอบคุณเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านนะครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ แล้วรอติดตาม ปัจเจก ใหม่ๆได้ที่เพจนี้เลยครับ ,,🙏🙏🤟
โฆษณา