15 ก.พ. 2021 เวลา 09:58 • การศึกษา
•ความไม่ขัดกันของเทคโนโลยีกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจาก Hotel Rwanda อาชญากรรมและความแตกร้าวทางสังคม สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน บนเส้นทาง 4.0•
พวกเขาต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง ก้าวให้ข้ามอะไรบ้าง เพื่อมาถึงสังคม 4.0 ในวันนี้: ทรรศนะและวิพากษ์ เครดิต วัตถุดิบภาพ/เสียง สำหรับการสัมมมนาจากรายการ ‘รอบโลก’ by กรุณา บัวคำศรี
ภาพยนต์ Hotel Rwanda ยุค 1990s
•เริ่มเรื่อง•
ในทศวรรษปี 1990 มีภาพยนตร์สำคัญเรื่องหนึ่งออกสู่ท้องตลาด ภาพยนตร์นั้นมีชื่อว่า “โฮเทล รวันด้า”
โฮเทล รวันด้า บอกเล่าเรื่องจริงที่เกิดขึ้นผ่านสายตาของผู้จัดการโรงแรมห้าดาวที่ทันสมัยที่สุดในรวันด้ายุคนั้น ซึ่งให้บังเอิญไม่ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ภูมิศาสตร์และภูมิประเทศรวมทั้งภูมิทางสังคมของประเทศรวันด้าที่ตัวเองไปอยู่มาก่อน ได้แต่พอทราบเป็นเลาๆว่า รวันดานั้นมีความขัดแย้งอยู่ ระหว่างผู้คนในชาติ แต่ไม่เคยคาดคิดว่าความขัดแย้งอันนั้นมันจะทวีความรุนแรงเกิดเปนสงครามกลางเมืองและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันซึ่งๆหน้า
ผู้จัดการโรงแรมรับบทโดย Don Cheadle พยายามทำหน้าที่ดูแลแขกต่างชาติผู้มาพักแรมที่ตื่นตระหนกกับสถานการณ์ ที่ออกไปไหนไม่ได้ สนามบินปิดทำการ การเดินทางทุกชนิดหยุดชะงัก ตำรวจหายตัวไป ทหารไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่มี ไฟฟ้าดับ และขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิง เขาคอยดูแลลูกน้องทีมงานพนักงานที่โรงแรมขาดน้ำขาดไฟฟ้าและเสบียงอาหารใกล้จะหมดให้ดีที่สุดระหว่างการเกิดสงครามกลางเมืองและประเทศตกอยู่ในภาวะมิคสัญญีไม่มีใครฟังใครภายนอกโรงแรมนั้นผู้คนเพ่นพ่านต่างพากันถืออาวุธเข้าห้ำหั่นไล่ล่าฆ่ากัน พวกอ่อนแอกว่าหนีกระเซะกระเซิง หวังพึ่งโรงแรมของเขาเปนที่ตั้ง
นาทีนั้นสังคมภายนอกใช้คำว่า เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างชนในชาติคือเผ่าตุ๊ดซี่โดนฆ่าโดยเผ่าวูตู
แม้ว่าสหประชาชาติจะได้ส่งกองกำลังทหารรักษาสันติภาพรวบรวมจากนานาประเทศสวมหมวกสีฟ้าเข้าตรึงสถานการณ์ แต่ด้วยความไม่ชำนาญในภูมิประเทศและความไม่เข้าใจในสถานการณ์ที่ลึกซึ้งดีพอทำให้เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงไม่ได้ ผู้จัดการโรงแรมพยายามขอความช่วยเหลือจากกองกำลังสหประชาชาติ แต่ไม่ค่อยสำเร็จ
เขา_ผู้จัดการโรงแรมพยายามช่วยคนเผ่าตุ๊ดซี่ให้รอดพ้นจากการทำลายล้างของพลเรือนด้วยกันเผ่าวูตูหาทางอพยพพวกเขาที่ยังเหลืออยู่ให้ข้ามพรมแดนสู่ประเทศเพื่อนบ้านให้รอดพ้นมรณะไป
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เรียกว่ามิคสัญญีไม่มีผู้ใดนับถือกฎหมาย ไม่มีผู้บังคับใช้กฎหมาย ใช้แต่กำลังและความป่าเถื่อนทางอารมณ์ ว่าผู้ใดมีกำลังมากกว่าก็สามารถเข่นฆ่าทำลายล้างกันได้ บ้านเมืองเต็มไปด้วยซากศพ ไร้ขื่อแป อาหารก็ใกล้จะหมดคนก็ใกล้จะตาย
•การพลิกโฉมหน้าของรวันด้า•
ผ่านมาเกิน สองทศวรรษหลังเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี2560อยู่ๆคุณกรุณา บัวคำศรีซึ่งเป็นสื่อสารมวลชนผู้ใหญ่ ได้นำคณะเข้าไปที่กรุงทิกาลี เมืองหลวงของรวันด้าเพื่อนำเสนอเรื่องราวของประเทศที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสูงที่สุดในหมู่ประเทศแอฟริกาด้วยกันเอง
คุณกรุณาได้ถ่ายทำรายการไปบนสถานที่จริง ได้แวะตลาดซื้อสินค้าต่างๆผักผลไม้ เพื่อจะพบว่าทุกคนไม่มีใครใช้ถุงพลาสติกกันเนื่องจากมีนโยบายพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
ถนนปลอดขยะ ในรวันด้า
ถุงพลาสติกแบบนี้ไม่มีหรือ?
ถนนหนทางในประเทศรวันดาเขตเมืองหลวงนั้นไม่มีขยะเลยแม้แต่ชิ้นเดียวผู้คนในรวันดาได้ก้าวข้ามความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์มาได้จนสำเร็จได้อย่างไร?
ไปร้านไหนๆก็ไม่ใช้ถุงพลาสติก
คุณกรุณาได้รายงานว่าประธานาธิบดีคนใหม่ของรวันดาตั้งเป้าให้ประเทศมีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีให้ได้สูงที่สุดให้ได้เทียบเท่า ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของทวีปเอเชียในด้านความไฮเทคและทันสมัย คุณกรุณาผู้ซึ่งทราบดีถึงความบอบช้ำแตกร้าวทางสังคมของรวันดามีความสงสัยและแปลกใจว่าประเทศที่พังยับเยินด้วยน้ำมือของคนในชาติด้วยกันเองเมื่อ 20 กว่าปีก่อนจะผลักดันตัวเองไปสู่ประเทศที่มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงสุดได้อย่างไร
•พักครึ่งทางเพื่อ สืบเสาะความเปนมาในรอบสองทศวรรษ
อันจะนำไปสู่ความเข้าใจ ปัจจัยทางสังคม และกลไกการจัดการปัญหาความขัดแย้ง จากวีดิโอคลิป ของคุณกรุณา บัวคำศรี
ศึกษาเพิ่มเติม Learn More เรื่องความหลังของรวันด้าและการจัดการอย่างละมุนละม่อม ได้ที่ 2 คลิปนี้
• รวันด้า 4.0 เปนไปได้อย่างไร?
เพื่อหาคำตอบเรื่องนี้ คุณกรุณาจึงได้เดินทางไปพบกับนักธุรกิจทางสังคมหลายคน เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายฝ่ายและตั้งคำถามถึงเส้นทาง 4.0 ที่จะก้าวไปว่า
เป็นที่รู้กันว่าการที่สังคมจะพัฒนาไปถึงจุด 4.0 และมีการใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศเพื่อจัดตั้งธุรกิจแบบใหม่ใหม่จำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบสองส่วน ได้แก่
-ระบบโทรคมนาคมพื้นฐานหรืออินเตอร์เน็ต
และ
-ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีของผู้คนในประเทศ
ในวันนี้จะเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้คนจะเข้าถึงเทคโนโลยีสาระสนเทศ/ระบบอินเตอร์เน็ต/อุปกรณ์แอพพลิเคชั่น ในเมื่อประเทศยังไม่มีไฟฟ้าใช้ครบถ้วนทุกครัวเรือน?
ตู้เคลื่อนที่ระบบโซล่าร์พาวเวอร์
ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีขนาดย่อย ได้แสดงตัวอย่างของการหยิบยื่นเทคโนโลยีสู่การใช้งานของผู้คนในระดับ 1.0 คือการใช้ตู้คีออสล้อหมุนที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังชุมชนต่างๆได้ ตู้นี้รับพลังงานแสงอาทิตย์โดยระบบโซล่าเซลล์แล้วแปลงออกมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรงในการชาร์จโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ผู้คนที่กระแสไฟฟ้าเข้าไม่ถึงที่บ้านสามารถออกมาชาร์จโทรศัพท์ได้
ผู้ประกอบการธุรกิจนี้รัฐบาลเปิดโอกาสให้รายย่อยที่เรียกกันว่าไมโครเพรอเนอร์ หรือไมโคร entreprenuer เป็นผู้ขับเคลื่อนแทนที่จะใช้งบประมาณของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ
ผู้ประกอบการรายย่อยมาก(micro คือ เล็กมากขนาดนี้) ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเช่าสถานที่ทำการ
การใช้รถเข็นที่เคลื่อนที่ได้จึงเป็นคำตอบสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนทั้งผู้ใช้บริการและตัวผู้ให้บริการ _ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าที่ ไม่ต้องผลักภาระต้นทุนส่วนนี้ออกไปให้ใครๆ
ให้บริการชาร์จโทรศัพท์มือถือ
ขยายผลสู่การให้บริการไวไฟ รัศมี 50 ม.
ขยายผลสู่การให้บริการที่ต้องติดต่อกับภาครัฐ
ในระยะถัดมาผู้ประกอบการรายเล็กย่อยนี้ ก็ขยายเป็นผู้ให้บริการ Wi-Fi เคลื่อนที่ ดังนั้นแล้วหลังจากชาร์จโทรศัพท์มือถือหากต้องการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารก็สามารถเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi จากรถเคลื่อนที่อย่างนี้ได้
ดังนั้นแล้วหลักการเรื่องความมีเหตุผลและหลักการเรื่องความพอประมาณสามารถขับเคลื่อนไปได้บนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์และปัญญา อันเกิดมาจากหลักการที่เรียกว่าเข้าใจ เข้าถึงก่อน ก่อนจะทะลึ่งพรวดพราดไปพัฒนา
ความรู้คู่คุณธรรมที่กำลังพูดถึงกันอยู่โดยทั่วไปคุณธรรมที่สำคัญในกรณีนี้ คือ การหยิบยื่น
หยิบยื่นการเข้าถึงเทคโนโลยีให้แก่ผู้คน 1.0
หยิบยื่นการหัด และ สอน ให้ผู้คน 1.0 สามารถใช้เทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง
เมื่อรัฐไม่สามารถ เมื่อเอกชนไม่ความพร้อม
ความละเลย ที่จะหยิบยื่นภายใต้สถานการณ์ขุกเข็ญ ก็นำไปสู่ความขัดแย้งและเกลียดชัง การให้ปลา ไม่สู้การให้เบ็ด แต่การให้เบ็ดโดยไม่หยิบยื่น know-how ก็เปนการให้ที่ไม่สมบูรณ์อยู่นั่นเอง
•ความพอเพียงกับความยั่งยืนเป็นเงาของกันและกัน
•ความเข้าใจ เข้าถึง และ พัฒนา เปนกลไกขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การประยุกต์ใช้
•การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีลักษณะยั่งยืนไม่ฉาบฉวย และพัฒนาร่วมกัน ส่งผลให้ไม่มีความขัดกันต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
•แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะในด้านการพึ่งพาตนเองนั้น มีความเปนสากลสูง•
โฆษณา