9 ก.พ. 2021 เวลา 14:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"Short Sell" คืออะไร?
Cr: Pixabay
ในการลงทุนด้วยการซื้อหุ้นแบบปกติ คือการที่เราต้องเข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้นๆ ก่อน อันนี้ก็เป็นพื้นฐานที่เราๆ รู้กันอยู่แล้ว
แต่การ "Short Sell” (การขายชอร์ต) คือ การยืมหุ้นมาขายเพื่อลงทุน (ทำกำไร) ในทิศทางที่คิดเอาไว้ว่าจะเป็นขาลง จัดว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ฮิตกันในหมู่นักลงทุน ซึ่งมักนำมาใช้ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง
หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “การขายหุ้นเพื่อทำกำไรในกรณีที่ประเมินและพิจารณาแล้วว่าราคาหุ้นตัวนั้นมีโอกาสที่จะปรับตัวลงมา” ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงนั่นเอง
 
การ Short Sell นั้นไม่จำเป็นต้องมีหุ้นอยู่ในมือ โดยเราสามารถไปยืมหุ้นจากโบรกเกอร์ (ที่เราเปิดบัญชีไว้) มาทำการขายออกไปก่อน
พอถึงจังหวะที่หุ้นตัวนี้มีราคาปรับตัวลงไปตามที่คาดไว้...ก็จะทำการซื้อหุ้นตัวนั้น (ณ ราคาที่ต่ำกว่าตอนยืมมา) และนำไปคืนให้โบรกเกอร์
## ถามว่าจะได้กำไรจากอะไร? ##
Cr: Pixabay
กำไรที่ได้ = ราคาหุ้น (ยืมโบรกเกอร์มาแล้วขายไป) – ราคาหุ้น (ซื้อกลับคืน)
 
แต่ทั้งนี้กำไรสุทธิที่แท้จริงก็ยังคงจะต้องหักด้วยพวกค่าใช้จ่าย และดอกเบี้ยต่างๆ ออกด้วย เช่น ดอกเบี้ยค่ายืมหุ้น ค่าธรรมเนียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
 
* ตัวอย่าง *
ปัจจุบันราคาหุ้น ABC อยู่ที่ 10 บาท เราคาดการณ์ว่าราคาหุ้น ABC จะปรับลดลง ก็เลยไปยืมหุ้นจากโบรกเกอร์แล้วทำการขายในราคา 10 บาท จากนั้นหุ้น ABC ราคาปรับลดลงเหลือ 9 บาท เราก็เข้าไปซื้อหุ้นคืนที่ราคา 9 บาท แล้วนำไปคืนให้โบรกเกอร์
 
เราก็จะได้กำไรก่อนหักต้นทุน 1 บาท (ราคาขาย 10 บาท – ราคาซื้อคืน 9 บาท)
 
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง...การ Short Sell มันไม่ได้เป็นใจไปซะทุกครั้ง หากสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ผิดไป
1
Cr: Pixabay
แทนที่หุ้น ABC จะปรับลดลง แต่มันกลับพุ่งบวกสวนกลับมาที่ 11 บาท นั่นจะเท่ากับว่าเราเอาตัวไปรับห่ากระสุนในสมรภูมิรบก็ไม่ปาน เพราะเราจะขาดทุนไป 1 บาท นั่นเอง (ราคาขาย 11 บาท – ราคาซื้อคืน 10 บาท)
อย่างไรก็ตาม หากอยากจะนำวิธีการ Short Sell มาใช้ในการลงทุน เราต้องมีความเข้าใจถึงหลักการ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากราคาหุ้นไม่ได้เป็นไปดังหวัง
เพราะอย่าลืมว่านอกจากส่วนต่างที่ขาดทุนกรณีที่ราคาหุ้นไม่ปรับตัวลงแล้ว...ก็ยังมีค่าธรรมเนียม Short Sell ที่คิดกันเป็นรายวันอีกด้วย
# ข้อมูลเพิ่มเติม #
Cr: Pixabay
🔵 บางแห่งก่อนจะ Short Sell ได้ต้องวางเงินหลักประกัน (Margin) จำนวนหนึ่งไว้กับโบรกเกอร์ (หรือวางหลักทรัพย์ตามแต่ที่ได้วางหลักเกณฑ์ไว้)
🔵 หุ้นตัวเล็กๆ หรือตัวที่สภาพคล่องน้อยๆ ไม่ค่อยมีสภาพคล่องก็มักจะไม่มีให้ยืม (ไม่เหมือนนาฬิกาที่ยืมเพื่อนได้ ⌚️😆)
🔵 การ Short Sell จะมีกำหนดระยะเวลาที่ต้องส่งมอบหุ้นคืนด้วย (ส่งมอบก่อนกำหนดก็ได้)
🔵 ทางเทคนิคโบรกเกอร์จะเป็นคนถือครองหุ้นแทนเจ้าของจริงๆ (ทั้งรายย่อย, กองทุน, สถาบัน) จึงมีหุ้นมากองรวมกันที่ตัวเองเป็นลักษณะที่เรียกว่า "Pool"
และโบรกเกอร์ก็จะเอาหุ้นใน Pool นี้แหละมาให้นักลงทุนที่ต้องการขายชอร์ต หรือก็คือโบรกเกอร์ "ยืมหุ้นของลูกค้าคนอื่น" มาให้นัก Short (กระบวนการนี้ ในประเทศไทยจะใช้คำว่า SBL หรือ Stock Borrowing and Lending)
🔵 การถือครองหุ้นที่ยืมมา Short นั้นจะต้องจ่ายดอกเบี้ย (เพราะคือการกู้ยืมหุ้น) ให้กับโบรกเกอร์คิดเป็นรายวัน (ประเทศไทยประมาณ 5-7% ต่อปี)
🔵 เมื่อนักลงทุนซื้อหุ้นคืนได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนยืม ก็ถือว่าเสร็จสมอารมณ์หมายการเก็งกำไรของนัก Short (กระบวนการซื้อหุ้นคืนนี้เรียกว่า Short Covering)
🔵 การ Short Sell หุ้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลใดๆ เพราะว่าไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นจริงๆ (ต่อให้ได้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของก็ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้ปันผล)
Ref: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1
โฆษณา