9 ก.พ. 2021 เวลา 17:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งกับวิธีการรักษาด้วยการให้คีโมรูปแบบใหม่
ด้วยการให้ยาเพียงรอบเดียวและใช้การกระตุ้นด้วยแสงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์
2
การให้คีโมรูปแบบใหม่ ความหวังการรักษาโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยไม่ต้องอ่อนล้าจากการรักษา
การต่อสู้กับโรคมะเร็งของมนุษย์เรานั้นมีมาอย่างยาวนาน ตราบจนทุกวันนี้ก็ยังไม่อาจหาวิธีรักษาโรงมะเร็งให้หายขาดได้หากตรวจพบช้าเกินไป
5
และถึงแม้จะตรวจพบได้ทันท่วงทีแต่ผู้ป่วยก็ยังต้องทนทุกข์กับขั้นตอนการรักษาที่เหนื่อยล้ายาวนานบั่นทอนสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยรังสีวิทยา การทำคีโมหรือปัจจุบันที่ก้าวล้ำถึงขั้นปลูกถ่าย Stem Cell
สำหรับการทำคีโมนั้นเป็นที่รู้กันว่าการให้ยาแต่ละรอบนั้นส่งผลข้างเคียงกับผู้ป่วยรุนแรงทำให้การให้ยาในแต่ละครั้งนั้นต้องมีการพักฟื้นร่างกาย
แต่มาวันนี้ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลีใต้ (Korea Institute of Science and Technology) หรือ KIST ได้พัฒนาวิธีการให้คีโมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยลดผลข้างเคียงจากการทำคีโมลงด้วย
ด้วยยาชนิดใหม่ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นซึ่งมีคุณสมบัติตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยแสงเลเซอร์ จะทำให้ตัวยาออกฤทธิ์แตกตัวปล่อยไอโซโทปของธาตุออกซิเจนซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลังจากที่ได้รับแสง
ทั้งนี้วิธีการรักษามะเร็งโดนใช้การกระตุ้นด้วยแสงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีใช้รักษากันอยู่แล้วด้วยเทคนิคที่เรียกว่า photodynamic therapy (PDT) ซึ่งเป็นการให้ยาที่ถูกกระตุ้นการทำงานด้วยแสง
photodynamic therapy (PDT)
แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังเพราะหากให้ยามากเกินไปตัวยาจะยังคงตกค้างอยู่ในตัวผู้ป่วยและเมื่อออกไปโดนแสงไม่ว่าแสงแดดหรือแสงไฟในบ้านก็จะกระตุ้นให้ยาทำงานจนทำให้เซลล์ปกตินั้นได้รับความเสียหายไปด้วย ทำให้ผู้ป่วยต้องเก็บตัวอยู่ในที่มืดอีกพักใหญ่จนกว่าตัวยาจะถูกร่างกายขับออกไปจนหมด
1
แต่ตัวยาที่ทีมพัฒนาขึ้นมานี้จะเลือกจับเฉพาะกับเซลล์มะเร็งหรือเข้าไปอยู่ในเซลล์มะเร็งได้ด้วยการปรับแต่งสายพอลิเมอร์ของกรดอะมิโนที่เรียกว่า internalizing RGD peptide(iRGD) ในตัวยาเพื่อให้ตัวยาสามารถที่จับและเข้าไปในเซลล์มะเร็งได้ หรือว่าง่าย ๆ คือจะถูกปรับแต่งให้จับเฉพาะกับเซลล์มะเร็งไม่ไปจับกับเซลล์ปกติ
1
ยาชนิดใหม่เลือกจับเฉพาะกับเซลล์มะเร็ง
เมื่อรวมกับวิธีการกระตุ้นด้วยแสงจะทำให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพสูงและมีผลข้างเคียงต่ำ เพราะยาจะออกฤทธิ์ฆ่าเฉพาะเซลล์มะเร็งและสามารถเลือกให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่
1
ซึ่งตัวยาที่เหลือก็ยังสามารถถูกกระตุ้นให้ออกฤทธิ์ซ้ำได้หากตรวจพบว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ นั่นคือมีการให้ยาคีโมเพียงรอบเดียวไม่ต้องให้ซ้ำและใช้แสงกระตุ้นให้ยาออกฤทธิ์ไปฆ่าเซลล์มะเร็งอีกรอบ
1
ทีมวิจัยคาดว่าวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่นี้จะสามารถนำมาใช้รักษาคนไข้มะเร็งได้จริงภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
1
ก็หวังว่าจะให้วิธีการนี้สามารถนำมาใช้รักษาได้จริงในเร็ววันน่าจะช่วยให้การรักษามะเร็งนั้นไม่ต้องเป็นเรื่องน่าหวาดกลัวเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา