Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
10 ก.พ. 2021 เวลา 03:52 • ธุรกิจ
รู้จัก OEM โมเดลธุรกิจ ที่หลายอุตสาหกรรมเลือกใช้
1
OEM ย่อมาจาก คำว่า Original Equipment Manufacturer
ซึ่งคำนี้คงเป็นคำที่คุ้นเคย ในหมู่เจ้าของธุรกิจที่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง
แต่ไม่ได้ผลิตสินค้าด้วยตนเอง..
สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้ความหมายของโมเดลธุรกิจแบบนี้
ลองมาดูกันว่า ธุรกิจ OEM ที่ว่านี้ มีลักษณะเป็นอย่างไร ?
OEM คือ ลักษณะธุรกิจที่รับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ
โดยมีทั้งที่รับผลิตชิ้นส่วน หรือ ผลิตสินค้าแบบพร้อมจำหน่าย
หรือก็คือทำหน้าที่รับจ้างผลิตตามคำสั่งนั่นเอง
บริษัทที่เป็นผู้จ้างผลิต ก็จะนำสินค้าสำเร็จรูป หรือนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นสินค้า
แล้วตีเป็นแบรนด์ของตัวเองเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
พูดง่ายๆ ว่า บริษัทเจ้าของแบรนด์สินค้าก็จะสามารถลดภาระในขั้นตอนของการผลิต
และจะมีเวลามุ่งเน้นเรื่องของการสร้างแบรนด์เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้
แล้วอุตสาหกรรมไหนที่มักใช้ OEM ในการผลิตบ้าง?
ปัจจุบัน OEM กลายเป็นผู้รับจ้างผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเครื่องสำอาง, กลุ่มเสื้อผ้า, กลุ่มยานยนต์, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างในกลุ่มยานยนต์ เช่น
รถยนต์แบรนด์ต่างๆ อย่างเช่น Ford หรือ Volkswagen ที่ต้องอาศัย OEM ในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่จากบริษัทอื่นๆ แล้วนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบกันภายใต้แบรนด์ของตัวเอง
ตัวอย่างในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี เช่น
บริษัทอย่าง Apple โดยมีบริษัทอย่างเช่น TSMC เป็นผู้ผลิตชิปเซตที่เป็นส่วนประกอบสำคัญใน iPhone iPad และ MacBook
ส่วน Foxconn เป็นผู้นำชิ้นส่วนมาประกอบรวมกัน อีกทีหนึ่ง
จาก 2 ตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า OEM กำลังเข้ามาช่วยให้บริษัทที่มีนวัตกรรมหรือไอเดียสินค้าใหม่ๆ สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมาให้เป็นจริงได้ โดยไม่ต้องรับภาระในเรื่องการผลิตด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ OEM ก็มีข้อระวังอยู่บ้าง นั่นก็คือ
1. เรื่องของรายได้ ที่อาจจะขึ้นอยู่กับลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากเกินไป
ตัวอย่างเช่น บริษัทในประเทศไทยอย่าง ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TACC ผู้ผลิตหัวเชื้อเครื่องดื่มให้กับ 7-11 และ All Cafe โดย TACC มีรายได้จาก CPALL คิดเป็นสัดส่วนกว่า 90% ของรายได้ทั้งหมด
1
นั่นหมายความว่า รายได้ของ TACC นั้นจะเติบโตตามการขยายสาขาของ 7-11 เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการพึ่งพารายได้จากลูกค้ารายใดรายหนึ่งมากเกินไป
2. เรื่องอัตรากำไร ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าตั้งต้น หรือชิ้นส่วนประกอบต่างๆ
หากมีคู่แข่งในตลาดมากราย อาจทำให้ความสามารถในการเรียกร้องค่าจ้างผลิตได้ลดลง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปริมาณการผลิตด้วย เพราะถ้าบริษัท OEM สามารถผลิตได้มากก็จะช่วยทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดหรือที่เรียกว่า Economy of Scale ทำให้บริษัท OEM มีโอกาสทำอัตรากำไรมากขึ้นได้
หรือยิ่งบริษัท OEM มีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าผู้ผลิตรายอื่น สามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความเฉพาะมากๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันได้มากขึ้น
ตัวอย่างธุรกิจ OEM ที่สามารถทำกำไรได้ดี เช่น บริษัท TSMC ผู้ผลิตชิปเซตให้กับ Apple ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าบริษัทรับจ้างผลิตชิปรายอื่นๆ
ทำให้ TSMC ยังคงสามารถเป็นผู้นำในด้านการผลิตชิปให้กับบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก โดยมีอัตรากำไรเฉลี่ยสูงถึง 30%
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า OEM มีบทบาทสำคัญไม่น้อยในขั้นตอนการผลิตของธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรม
อย่างในอุตสาหกรรมรถยนต์ ใครจะไปรู้ว่า.. รถยนต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จะมีชิ้นส่วนประกอบรวมนับหมื่นชิ้น และทั้งหมดก็มาจากการจ้างผลิต (OEM) นั่นเอง..
References
-
https://www.investopedia.com/terms/o/oem.asp
-
https://intrepidsourcihttps
://www.investopedia.com/terms/o/oem.aspng.com/trade-wiki/original-equipment-manufacturer-oem-introduction-pros-cons/
-
https://www.freightos.com/import-guide/parts/oem-odm-manufacture/
17 บันทึก
15
1
4
17
15
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย