11 ก.พ. 2021 เวลา 07:31 • การศึกษา
อาหารเจียงซู (苏菜) ตระกูลแห่งการตัดแต่งอาหาร รสหวานเค็ม😋
อาหารเจียงซู มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้
หลังจากผ่านช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งแล้ว อาหารเจียงซูเป็นหนึ่งในแกนหลักของอาหารภาคใต้ร่วมกับอาหารเจ้อเจียง
ปลาราดซอสเปรี้ยวหวาน 松鼠桂鱼
อาหารเจียงซู มีรสชาติเค็มปนหวาน
กรรมวิธีในการปรุง ได้แก่ การตุ๋น (炖) การต้มด้วยไฟเบา (焖) การย่าง (烧) การตุ๋นด้วยไฟเบา (煨) และการผัด (炒)
อาหารเจียงซูขยายอิทธิพลไปยังมณฑลที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางและด้านล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง ได้แก่ มณฑลเจียงซู เจ้อเจียง เซี่ยงไฮ้ เจียงซี และเหอหนาน
อาหารเจียงซู แบ่งออกเป็นอาหารจาก 4 สำนัก ได้แก่
- หวยหยาง (淮扬)
อาหารหวยหยางให้ความสำคัญกับการคัดเลือกวัตถุดิบที่สดใหม่
เน้นรสธรรมชาติของวัตถุดิบและการตัดแต่งอาหาร
เช่น
เจดีย์ตงโปพันชั้น 东坡千层宝塔
เจดีย์ตงโปพันชั้น 东坡千层宝塔
คือ การนำหมูสามชั้น (五花腩) ที่หันเป็นแผ่นๆ มาวางเรียงขึ้นไปจนเป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์ และตรงกลางด้านในมีผักดองจีน (梅菜干)
ส่วนคำว่า ตงโป ในชื่อเมนูจานนี้ มาจากที่นักกวีชื่อดังสมัยราชวงศ์ซ่งนามว่า ซูตงโป 苏东坡 (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ซูซื่อ 苏轼) มีเมนูโปรดคือหมูสามชั้นจานนี้ จึงนำชื่อนักกวีผู้นี้มาตั้งเป็นชื่อเมนูนั่นเองค่ะ
อาหารสำนักต่อมา
- อาหารหนานจิง (南京)
3
มีเอกลักษณ์ดังวลีที่ว่า "เจ็ดรสปาก เจ็ดรสชาติ" (七滋七味)
แต่รสชาติที่สำนักหนานจิงเชี่ยวชาญช่ำชองที่สุดก็คือ รสหวาน
โดยอาหารที่โดดเด่น คือ
เป็ดย่างจินหลิง 金陵叉烤鸭
จะใช้เป็ดหนึ่งตัวในการทำเมนูนี้ ดังนั้น เมนูนี้สามารถรับประทานได้สามอย่าง (一鸭三吃)
ได้แก่ หนังเป็ด เนื้อเป็ด และซุปต้มกระดูกเป็ด
ซึ่งการปรุงหนังเป็ดและเนื้อเป็ดก็ใช้น้ำตาลในการประกอบเมนูขึ้นมาได้อย่างพิถีพิถัน
จนถูกขนานนามว่าเป็นเมนูเป็ดที่อร่อยที่สุด
เป็ดย่างจินหลิง 金陵烤鸭
ส่วนสำนักอาหารที่สาม
- อาหารซูสี (苏锡)
รสชาติอาหารดั้งเดิมคือ รสชาติของอาหารซูโจวและอู๋ซี
ความโดดเด่นของอาหาร คือ มีรสชาติหวานและมีน้ำขลุกขลิก
กระดูกหมูซอสอู๋ซี 无锡酱排骨
และสำนักสุดท้าย คือ
- อาหารสวีไห่ (徐海)
เน้นรสชาติอาหารสูโจว ซึ่งจะมีรสชาติสดใหม่และมีรสเค็มเป็นแกนหลัก
แม้รสจะบางเบาแต่ไม่จืดชืด
เช่น หยางโจวจู่กันซือ 扬州煮干丝 เป็นเมนูที่มีวัตถุดิบหลัก คือ เต้าหู้แห้งเส้นและไข่เส้น
扬州煮干丝 เต้าหู้แห้งเส้นและไข่เส้น
นอกจากนี้อาหารเจียงซูยังมีการจัดเป็นประเภทงานสังสรรค์ ซึ่งมีชื่อว่า
三筵 (Sān yán ซันเหยียน)
บ้างก็เรียกว่า 三宴 (Sān yàn ซันเยี่ยน)
แปลว่า งานสังสรรค์สามอย่าง
ได้แก่
- 船宴 (chuán yàn) คือ งานสังสรรค์รับประทานอาหารบนเรือ
- 斋席 (zhāi xí) คือ งานสังสรรค์แบบพุทธ ซึ่งมักจัดในพื้นที่ที่เป็นวัดหรือห้องอาหารภายในวัด
- 全席 (quán xí) คือ งานสังสรรค์ที่อาหารในงานจะใช้เพียงหนึ่งวัตถุดิบหลัก และแต่ละเมนูจะมีกรรมวิธีการปรุงที่แตกต่างออกไป ทำให้เกิดเป็นเมนูอาหารที่แปลกใหม่ไม่จำเจ
เช่น
全鸭席 (quán yā xí)
鸭 ยา แปลว่า เป็ด
全鸭席 ก็หมายถึงอาหารทั้งหมดในงานเลี้ยงนั้นจะมีเป็ดเป็นวัตถุดิบหลัก
เป็ดตุ๋นเผือก เป็นหนึ่งในเมนูของชุดอาหารงานเลี้ยง 全鸭席
เป็ดตุ๋นเผือก 芋艿烩鸭汤
จบไปแล้วกับอาหารจีนอีกหนึ่งตระกูลค่า
เขียนไปก็หลายตอนแล้ว ขอชี้แจงตรงนี้หน่อยนะคะว่า
ชื่อเมนูอาหารที่เป็นภาษาไทย คือ เป็นการแปลจากภาษาจีนผสมกับดูรูปประกอบ
และกลั่นออกมาเป็นชื่อภาษาไทยค่า
ดังนั้นอาจจะมีชื่อแปลกๆ ไปบ้าง ขออภัยมานะที่นี้นะคะ 😂
อ้างอิงข้อมูล:
อ้างอิงรูปภาพ:
Google
โฆษณา