10 ก.พ. 2021 เวลา 12:39 • ปรัชญา
" เป็นคนไม่มีเหตุผล "...
ในวันหนึ่งๆ​
มีเรื่องราวตกกระทบจิตใจนับครั้งไม่ถ้วน
ตาม​ทันมั๊ย ถามใจตัวเองดู เห็นไหม...
1
เกิด-ดับ
สุข-ทุกข์
เบิกบาน-เศร้าหมอง
ร้อน-หนาว
เจิดจ้า-มืดมิด
อื้ออึง-เงียบเหงา
อิ่มเอม-ขาดไร้
1
ไม่มีสิ่งใด "ไ​ ด้​ ม​ า" โดยไม่​มี​ "เ ห ตุ"
1
ไม่มี​เหตุใด​ "เ กิ ด ขึ้ น"
โดยปราศจากการ​ "เ ชื้ อ เ ชิ ญ"
1
... ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เราเชื้อเชิญสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นกับเราโดยไม่รู้ตัว
1
เพราะ...
...
🍃🍃🍃 🍃🍃🍃
มีเหตุ​ก็เกิด​
หมดเหตุก็ดับ
บังคับไม่ได้
🍃🍃🍃 🍃🍃🍃
2
💡ทบทวนให้ดี
สิ่งเหล่านี้จำเป็นหรือไม่ อย่างไร
ไม่มีเหตุผลให้ต้องเศร้า
... ก็อารมณ์ดีไป
ไม่มีเหตุผลให้ต้องกังวล
... ก็ไม่ต้องเครียดกับมัน
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้อง​ขี้เกียจ​
... ก็ตั้งหน้าตั้งตาขยันทำงาน
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้องฟุ่มเฟือย
... ก็ประหยัดเงินไว้
ไ​ม่มีเหตุผล​ให้ต้องยึดติดสิ่งใด
... ก็ปล่อยวางมันลง
ไม่มีเหตุผล​ที่ต้องปล่อยร่างกายชำรุดทรุดโทรม
... ก็ออกกำลังกายกัน
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้องกล่าวโทษในอดีต
... ก็ให้อภัยตัวเองและ กลับมารักตัวเองให้มากๆ
1
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้องเบียดเบียนกัน
... ก็หัดแบ่งปันผู้อื่น
ไม่​มีเหตุผลให​้ต้องเอาชนะ
... ก็จงเลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นซะ
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้องท้อแท้
... ก็หมั่นเติมกำลังใจให้ตัวเองเข้าไว้
ไม่มีเหตุผลจะต้องทนทุกข์
... ก็หัดมีความสุขกับทุกๆวันของชีวิต
2
ก็ขนาดผีเสื้อขยับปีก ยังสะเทือนถึงดวงดาว
แล้วความคิดหรือการกระทำเล็กน้อยของเรา
จะไม่ส่งผลต่อชีวิตเราได้ไง😉
2
〰️〰️〰️〰️〰️
🦋🦋🦋 🦋🦋 ว่าด้วยทฤษฎี
" B u t t e r f l y E f f e c t " 🦋🌺🌠
Edward Lorenz ได้ค้นพบทฤษฎีนี้จากการทดลองทางด้านการพยากรณ์อากาศ
จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นการค้นพบสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ ในปี1961 เลยก็ว่าได้
เขาได้ใช้คอมพิวเตอร์ซิมูเลชันแบบจำลองอากาศ และในการคำนวณครั้งถัดไปนั้นเขาต้องการประหยัดเวลาการคำนวณ โดยที่ไม่ใช้ค่าเริ่มต้น
แต่ใช้ข้อมูลที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้เป็นค่าเริ่มต้น
กล่าวคือปกติแล้ว มักประกอบด้วยตัวเลข
หลังจุดทศนิยมหลายหลัก
มีวันหนึ่งเกิดขี้เกียจป้อนตัวเลขหลายๆหลัก เลยปัดเศษทศนิยมออก คือป้อนตัวเลข 0.506 แทนที่จะเป็น 0.506127 ปัดเศษ 0.000127 ออกไป
ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สำคัญทางสถิติเลย เพราะที่ตัดออกเป็นหลักที่สี่หลังจุดทศนิยม
ซึ่งก็เป็น “แค่” หนึ่งในหมื่นที่น้อยมากๆ‼️
ผลปรากฎว่าค่าคำนวณที่ได้นั้นมีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สาเหตุเกิดจากการที่เขาปัดค่าทศนิยมที่มีค่าน้อยมากๆ แต่สามารถนำไปสู่ความแตกต่างกันได้อย่างมหาศาล
สรุปได้ว่า แค่ผีเสื้อขยับปีกในไทย
อาจไปทำให้เกิดทอร์นาโดในอเมริกาได้
ภาพจากGG
ในทางตรงข้าม เราก็อาจหยุด
ทอร์นาโดที่กำลังก่อตัวได้
ด้วยการทำให้เกิดลมเล็กๆ ก็อาจเป็นไปได้ที่จะทำให้ทอร์นาโดเปลี่ยนทิศ หรือลดความรุนแรงลง
🧩 ยกตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์แล้ว
มาดูด้านสังคมศาสตร์บ้าง
ขอเริ่มด้วยครูใหญ่ท่านหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ติดสมการชุดหนึ่งไว้หน้าห้องเรียนเป็นการเปรียบเทียบระหว่างผลคูณของ 0.99 กับ 1.01
ตัวเลขต่างกันเพียง 0.02
ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยมาก
แต่เมื่อคูณกันซ้ำๆ 365 วัน‼️
credit clubtohappiness
ผลลัพธ์กลับต่างกันลิบลับ
ครูใหญ่ท่านนี้กำลังพูดถึง Butterfly Effect ที่เราต้องพยายามทำต่อเนื่อง
แม้เราถอยแม้เพียงก้าวเล็กๆ
หรือหากเรา... พยายามอีกนิด เพียงทีละนิดเดียวเท่านั้น แล้วทำต่อเนื่องนานๆ ผลที่ได้อาจไปไกลอย่างคิดไม่ถึง
🦋🦋🦋🦋🦋
〰️〰️〰️〰️〰️
เอ่อออ... ทบทวนกับตัวเองอีกสักครั้ง
1
ไม่มีเหตุผล​ให้ต้องอ้วนตุ๊ต๊ะ
... ก็หยุดกินได้แล้ววววววนะ ยัยอ้วง!!! 😱😱
2
มาวิ่งกันๆ ทนพิษความอ้วงไม่ไหววว🤣🤣
💐💐💐 ใช้ชี​วิตให้สนุก​ หมั่นอ​อกกำลังกาย​ และอย​ู่กับธรรมช​าติมากๆ​
~~เอพริล🧡
#ไม่ใช่​สิ่ง​นี้​หรอก​หรือ​ความสวยงาม​ของชีวิต​🌹
ชอบ​ กด​ Like👍
ใช่​ กด​ Love♥️
เงิบ​ กด​ Laugh🤭😁
พูดคุย​ แลกเปลี่ยน เป็นกำลังใจซึ่งกันและกันผ่านคอมเมนท์​ได้เลยนะคะ​ จุฟฟฟ💞👇
อ้างอิง
The butterfly effect โดย​
ภิญโญ รัตนาพันธุ์ (Pinyo Rattanaphan)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ก่อตั้งThailand AppreciativeInquiry Network (www.aithailand)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา