"ด้านการค้าเศรษฐกิจ" หลังจากที่ขุดคลองสุเอซในปี 1869 นั้นมีการขนส่งสินค้าไปยุโรปผ่านเส้นทางนี้ สั้นง่ายสะดวกประหยัดไม่ต้องอ้อมอาฟริกา ทำให้การค้าในยุโรปของประเทศเจ้าอาณานิคมเติบโตมาก ทำให้ "อังกฤษ" พยายามเร่งการค้าข้าวในพม่า ทั้งในแง่การขยายพื้นที่ปลูกข้าว อังกฤษได้ให้สิทธิ์ "คนอินเดีย" เป็นผู้ออกเงินกู้ราคาแพงให้คนพม่าท้องถิ่นไปกู้มาลงทุนทำการค้า ปลูกข้าว แล้วเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูง จนเมื่อเกิดวิกฤติภัยธรรมชาติ ที่ดินของชาวนาเหล่านั้นก็เป็นของคนอินเดีย ที่มีอังกฤษชักใยอยู่เบื้องหลังเกือบหมด
เมื่ออังกฤษมาถึง เศรษฐกิจของพม่าถูกบีบคั้นด้วยเศรษฐกิจโลกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกของอาณานิคม มีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี เนื่องจากขณะนั้น ข้าวเป็นที่ต้องการของยุโรป และมีการอพยพผู้คนจากที่สูงลงมายังที่ลุ่มเพื่อปลูกข้าว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของประชากร
หลังจากมีการเปิดคลองสุเอซ ความต้องการข้าวจากพม่าเพิ่มมากขึ้น มีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ในการเตรียมที่ดินเพื่อการปลูกข้าว ชาวนาพม่ามักจะยืมเงินจากพ่อค้าอินเดียในอัตราดอกเบี้ยที่สูง เกิดการขูดรีด มีการนำแรงงานชาวอินเดียเข้ามาเป็นปัจจัยการผลิตเนื่องจากได้ค่าแรงต่ำ และได้เข้ามาแทนที่ชาวนาพม่า
"อังกฤษ" ฉลาดในการลดแรงกดดันจาก "จีน" ที่เมื่อก่อน "พม่า" ต้องส่งบรรณาการไปให้จีน เมื่ออังกฤษมาถึงและปกครองพม่า อังกฤษก็ยังคงส่งบรรณาการนี้อยู่ในนามพม่า เพื่อไม่อยากสร้างศัตรูเพิ่มทำศึกหลายหน้า คนพม่าในตอนนั้นต้องหลบไปอยู่ทางเหนือโดยตั้งเป็นกองโจรติดอาวุธปล้นสะดมกินไปวันๆ ในชื่อที่ว่า 'dacoity' ( armed robbery หรือโจรติดอาวุธ ).
แม้การค้าข้าว ไม้สัก แร่ธาตุ ของพม่าจะเจริญเติบโตมากแค่ไหน แต่คนพม่าเอง ไม่มีส่วนได้ผลประโยชน์ในครั้งนี้เลย มีแต่เจ้านายใหญ่ชาวอังกฤษ ลูกครึ้งแองโกลเบอร์มิส และลูกน้องคนสนิทอย่างอินเดีย ที่กอบโกยผลประโยชน์จากการค้านี้ไป ทำให้คนพม่าเกลียดชังคนอังกฤษ คนอินเดียและเชื้อสายแขกมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มีคนเชื้อสายแขกอพยพเข้ามาในพม่ามากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ตามนโยบาย "กลืนชาติ" ของอังกฤษ และยังเป็นการคานอำนาจของทั้งสองเชื้อชาติเองด้วย ซึ่งนับจากนั้นมาพัฒนาการทางวัฒนธรรมและศาสนาของพม่าก็ถูกตัดขาดและทำลายตลอดมา ที่ต่างจากอังกฤษและพวกพ้องก็ได้กอบโกยเอาความมั่งคั่งจากดินแดนพม่า และ คนพม่า ไปมากมาย โดยที่เจ้าของดินแดนไม่ได้อะไรเลย
และบทสรุปจะเห็นว่า "การทำลายแบบซอฟท์พาวเวอร์" ( การทำลายที่ไม่ใช่อาวุธทางการทหาร ) หรือ "การทำลายวัฒนธรรม ศาสนา ศีลธรรม ประเพณี" ต่างๆนั้นเป็นอีกวิธีหนึ่ง พอสิ่งเหล่านั้นหายไป คนพม่าก็ไม่เห็นคุณค่า ไปเปลี่ยนศาสนาตามอังกฤษ หรืออินเดีย ทำให้ความเข้มแข็งของผู้คนก็ต่ำลง เพราะศรัทธาความเชื่อมั่นภายในใจต่ำลงเพราะถูกทำลาย โดยระบบใครมือยาวสาวได้สาวเอาแบบทุนนิยมสุดโต่ง คนในอดีตเคยบอกว่า