13 ก.พ. 2021 เวลา 04:25 • เกม
5 สิ่งที่ "อย่าหาทำ" ถ้าคุณเป็น Game Producer
Gong xi fa cai! 🐄🙏 and Happy Valentine's Day ♥💐 ค่ะ มาเจอกับไมล์ลี่อีกครั้งนะคะ วันนี้มาในธีมสีแดงซึ่งเข้ากับ เทศกาล และ Content แสนเดือดของเราเลยแหละค่ะ 😜
จาก Blog ที่แล้ว ที่เราคุยกันไปว่า Game Producer ที่ดีควรเป็นอย่างไร 😇 ในครั้งนี้ จะเป็น Spin-off ออกมา เราจะมาดูกันค่ะ ว่า สิ่งที่ Game Producer ไม่ควรทำมีอะไรบ้าง 😈 จากคุณ Ernst ten Bosch (อดีต Game Producer ของ Blizzard ผู้ดูแล World of Warcraft) เช่นเดิม ไมล์จะเล่าผสมกับยกตัวอย่างสถานการณ์สมมติขึ้นมาให้เห็นภาพชัดขึ้นนะคะ
Disclaimer: บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ภายในบทความล้วนเป็นเหตุการณ์สมมติ เพื่อใช้ในการเสริมความเข้าใจ หากไปตรงกับบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
อย่าหาทำ อะเคร๊?!
สำหรับผู้อ่านที่อาจจะไม่ใช่ Game Producer ไม่ว่าจะเป็น Project Manager, Department Lead หรือตำแหน่งอื่นๆ ไมล์เชื่อว่า สามารถนำบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ได้กับงานของตัวเองค่ะ 😇
เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ!
1. กลัวที่จะถาม!!!!
เหตุการณ์สมมติ ในบริษัทพัฒนาเกมแห่งหนึ่ง
Executive Producer หน้าหนวดท่านหนึ่ง 🧔 ถูก Publisher เสนอให้ทำ A/B Testing กับเกมที่ดูแลอยู่ ซึ่ง Executive Producer ไม่เคยทำมาก่อน และเมื่อเห็นว่ามีคำว่า Test จึงตัดสินใจให้ QA/Tester เป็นคนรับผิดชอบไป research มาทันที
หลังจากเริ่มไปได้ไม่นาน Executive Producer หน้าหนวดท่านนั้น โดน UX Designer และ QA Lead ตำหนิอย่างแรง เพราะ A/B Testing เป็นงานของฝั่ง UX Design และทำให้ทีม QA เสีย Resource โดยใช่เหตุ
ไอ่ Executive producer!!!
จากเหตุการณ์ข้างบน ซึ่งจัดเป็นเคสเล็กๆเท่านั้น จะเห็นว่า การที่ Game Producer เลือกที่จะไม่ถาม สามารถส่งผลกระทบกับการทำงานได้เลย และยิ่งตำแหน่ง Game Producer เป็นตำแหน่งที่ ต้องมีข้อมูลทุกอย่างของเกม และเป็นตัวแทนในการสื่อสาร ทั้งภายในและภายนอกทีม ข้อมูลที่ถูกต้องจึงยิ่งสำคัญ
เพราะฉะนั้น ไม่รู้อะไรก็ถามเถอะ อย่าเขินเลย ก่อนจะพังไปกว่านี้!!!
2. ขยันสร้างงานที่ไม่จำเป็น
เหตุการณ์สมมติ ที่บริษัทพัฒนาเกมแห่งเดิม
ปลาย Iteration รอบหนึ่ง ซึ่งฟีเจอร์หลักเสร็จเกือบหมดแล้ว Executive Producer หน้าหนวดคนเดิม 🧔 ได้เล่นเกมไปพักนึง ก็พูดขึ้นมาว่า "เราควรใส่ Effect ให้ศัตรูนะ จะได้ดูสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เอาเป็นควันๆอ่ะ ใส่ไปใน Build นี้เลยนะ"
ทาง Developer จึงต้อง ทำงานอยู่จนดึก เพื่อจัดการเรื่องนั้น ราวๆเที่ยงคืน เมื่อ Effect ใส่ไปแล้ว Executive Producer พูดขึ้นว่า "ดูไม่ดีเลยอ่ะ งั้นเอาออกจาก Build นี้เหอะ Game Publisher เค้าก็ไม่ได้ขอด้วย" - - อ่าว 😠😠😠
2
เป็นเรื่องปกติของไอเดียที่จะมีขึ้นมาเยอะแยะระหว่างพัฒนาเกม แต่ก็ควรคำนึงถึง Objective ของสิ่งที่จะทำ ความจำเป็นและ Priority ของงานอื่นๆด้วย เพราะการมีงานเพิ่ม มันหมายถึงการที่ต้องใช้ คน, เวลา, และอื่นๆอีก นอกจากนั้นไอเดียที่ผุดขึ้นมาโดยไม่กลั่นกรองอาจจะเกิด impact กับตัวเกมที่ทำอยู่แล้วก็ได้
5
เพราะฉะนั้น อย่าสร้างงานที่ไม่จำเป็นเลย มันเหนื่อยนะ
1
3. ทำให้คนไม่อยากทำงานด้วย
เหตุการณ์สมมติ ยังคงบริษัทแห่งเดิม
หลังจาก Executive Producer หน้าหนวดคนเดิม 🧔 ทำ COMBO 2 เหตุการณ์ข้างบนไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะส่ง Build ของทีมให้กับ Publisher อีกครั้ง ซึ่งด้วยฟีเจอร์ปริมาณมาก และเวลาที่ค่อนข้างมีจำกัด Executive Producer เลยให้กำลังใจด้วยประโยคที่ว่า "เราต้องทุ่มเท Passion ลงไปนะ🔥 คืนนี้เราจะ Crunch กัน แต่ว่าเราต้องไปรับลูกน่ะ ไปก่อนละบาย✋" แล้ว Executive Producer หน้าหนวดก็เดินจากไป ตอนยังไม่หกโมงดี -- TRIPLE COMBO!!! 😈😈😈
เอาอีกแล้วนะ หนวด
ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน คนในทีมหลายๆคน รวมถึง Lead ในหลายๆฝ่ายซึ่งหมดความเชื่อถือในตัวหนวด ก็เลือกที่จะไม่สนใจ Request จากทาง หนวด และเลือกที่จะสนใจกับทาง Publisher อย่างเดียว
อย่างที่บอกว่า งานของ Game Producer คือ Communication ด้วย เมื่อคนเริ่มหลีกเลี่ยงที่จะทำงานด้วย คุณภาพของการสื่อสาร และข้อความที่จะสื่อก็มีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น เพราะฉะนั้น เราควรให้คนอยากทำงานด้วย ไม่ใช่แค่ในทีมรวมถึงลูกค้าด้วย อย่างที่เราเคยเล่าในบทความ 10 Lessons Learned from Game Development Production (ไปตามดูใน Series: Game Development Notes ได้เลยค่ะ)
4. ถือทุกอย่างไว้คนเดียว
เหตุการณ์สมมติ บริษัทอีกแห่ง
Developer ถาม Game Designer "GDD เสร็จยังอ่ะ?"
Game Designer ตอบ "ส่งไปแล้ววว Producer บอกว่าเอาไปให้ Game Publisher แล้ว เห็นเค้าบอกรอ Feedback อยู่"
Marketer แทรกขึ้นมา "แก เห็นเค้าบอกจะคุยเรื่อง Banner ที่จะใช้ในเพจให้ด้วย"
3D Artist พูดบ้าง "Asset ที่อยากได้ใน Store ที่ Request ก็ยังไม่รู้เลย ว่าถึงไหน"
จากเหตุการณ์ข้างบนจะเห็นว่า Game Producer กลับกลายเป็น Bottle-neck ของทีม ทำให้งานเดินไปไหนไม่ได้ ทั้งที่ อย่างที่เราเคยคุยกันว่า Game Producer ต้องอำนวยความสะดวก (Facilitate) ให้งานเดินไปได้
ดั้งนั้น อย่าถือทุกอย่างไว้คนเดียว พยายามจัดการงานให้ได้เท่าที่จะทำได้ เพื่อที่ให้ งานสามารถเดินไปได้
5. ลืมติดตามผล . . .
เหตุการณ์สมมติ บริษัทแห่งเดียวกับข้อ 4.
ไม่นานนัก Game Producer เดินเข้ามา
Game Developer รีบทัก "เห้ย พี่ GDD เป็นไงบ้าง"
Game Producer "หืม ส่งไปแล้วนะ ทำไมเหรอ"
Game Designer "Feedback ล่ะพี่"
Game Producer " เออ ลืมว่ะ"
"แล้ว Asset ผมล่ะ" "Banner น้องล่ะคะ" "แล้วผมจะได้เริ่มทำเมื่อไหร่ฮะ"
ภาพทีมไล่ตี Game Producer
นั่นแหละค่ะ ผลของลืมที่จะติดตามผล แทนที่ Game Producer ที่เป็นตัวแทนของทีม ควรตอบคำถามได้ เพราะมีข้อมูลเยอะสุด กลับ Outdated อย่างนั้น เหตการณ์แบบนี้ จัดว่าเป็นความผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดของ Game Producer เลยทีเดียว เอาเป็นว่า อย่าหาทำละกัน!!!!
นี่คือ 5 ข้อที่ Game Producer อย่าหาทำนะคะ จริงๆ มันอาจจะมีอีกหลายอย่างที่ไม่ควรทำ ถ้ายึดตามหลักที่ว่า Game Producer ควรเป็นตัวแทนของทีมที่รู้ทุกเรื่อง และ ช่วยทำให้งานเดินหน้าต่อไปได้ หวังว่า คนเป็น Game Producer หรือคนที่มี Role ใกล้เคียงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในแต่ละวันได้นะคะ
สำหรับวันนี้ จบแค่นี้ค่ะ ใครที่มีความเห็นเพิ่มเติม หรืออยากให้เขียนอะไรต่อ Comment ทิ้งไว้ได้เลยค่ะ 🌟♥

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา