Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Ad Addict
•
ติดตาม
11 ก.พ. 2021 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
ทำความรู้จัก KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบเข้าใจง่าย วัดผลแบบสบายๆ ถึงเป้าทีไรชีวิตดี๊ดี
ทำความรู้จัก KPI
พื่อนๆ คนไหนที่ทำงานในเอเจนซีโฆษณาหรืองานรูปแบบที่ต้องมีการวัดผลเป็นประจำไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมในการทำงาน หรือผลลัพธ์จากแคมเปญต่างๆ คงต้องคุ้นชินกับคำว่า KPI ใช่ไหม
และก็เชื่ออีกแหละว่าหลายๆ คนก็คงจะรู้แล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้แอดจะอธิบายให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ โอ๊ะ! และถ้าหากสามารถเข้าใจถึงรูปแบบกับประเภทของ KPI ได้ด้วย ก็จะทำให้เรานำมันไม่ปรับใช้กับหลายๆ อย่างได้ดีเลยนะ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ลองไปทำความรู้จักกับพี่แกดูเลย
KPI คือ
KPI เป็นตัวอักษรย่อมาจากคำว่า Key Performance Indicator แปลเป็นภาษาคนก็คง “ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ” นั่นแหละ มันคือสิ่งที่จะวัดค่าพฤติกรรมหรือการทำงานในรูปแบบต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขให้เป็นหลักฐานมัดตัวว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีผลตอบรับในทางไหน ซึ่งทั้ง 3 ตัวอักษรนี้ก็สามารถแยกความหมายแบบย่อจนปวดเข่าได้ดังนี้
K (Key)
• จุดประสงค์หลัก
• เป้าหมายหลัก
• กุญแจของความสำเร็จ
P (Performance)
• ความสามารถในการทำงาน
• ประสิทธิภาพ
• ประสิทธิผล
I (Indicator)
• ตัวชี้วัด
• ดัชนีชี้วัด
• ตัวเลขแสดงผล
ประเภทของ KPI แบ่งได้ 2 ประเภท
แหม่! รู้แค่ความหมายแล้วจะเอาไปใช้ทำอะไรได้จริงไหม ถึงจะบอกว่า KPI เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จแต่มันก็ยังแบ่งออกมาให้เพื่อนๆ ได้ปวดหัวในการเลือกใช้ตามความเหมาะสมด้วยนะ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
1. การวัดผลทางตรงไม่มีอ้อม - KPI ประเภทนี้เป็นการวัดผลออกมาโดยตรง ตัวเลขจะแสดงผลออกมาโดยเป็นคำตอบที่ชัดเจนและเป็นข้อมูลที่บ่งบอกสิ่งที่เกิดขึ้นแบบที่ไม่ต้องวิเคราะห์ปัจจัยอะไรเพิ่มเติม เช่น น้ำหนัก, ส่วนสูง, จำนวนคน, จำนวนสินค้า ประมาณนี้
2. การวัดผลทางอ้อม - KPI ประเภทนี้จะไม่ใช่การแสดงผลแบบเราสูงเท่านี้หนักเท่านี้ แต่จะเป็นการวัดผลโดยผ่านกระบวนการคิดของผู้วัดผล ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัดอะไรก็ตามที่ไม่ได้มีผลลัพธ์ชัดเจนอย่างเช่น ความคิด, บุคลิกภาพ, ความชอบ, ทัศนคติ เป็นต้น หรือถ้าที่แอดพล่ามมายังไม่ชัดให้นึกถึงพวก เมนเทอร์หรือคอมเม้นเตเตอร์ตามรายการร้องเพลงหรืองานประกวดนั่นแหละ
มุมมองในการวัดผล KPI
แต่ก็อีกนั่นแหละไม่ว่าจะการวัดผลทางตรงหรือทางอ้อม การวัด KPI ก็ยังแยกมุมมองการวัดได้อีก 2 รูปแบบ ดังนี้
1. Positive KPI (ดัชนีวัดความสำเร็จเชิงบวก) - เป็นมุมมองการประเมินผลในพฤติกรรมหรือการทำงานในเชิงบวกที่เชื่อมโยงกับหลายๆ อย่างเช่น ยอดกำไร, ความพอใจของผู้บริโภค, การบอกต่อที่เพิ่มมากขึ้น, การทำยอดได้ตามเป้าหมายของพนักงาน เป็นต้น
2. Negative KPI (ดัชนีชี้วัดความสำเร็จเชิงลบ) - เป็นมุมมองการประเมินที่ใช้หาผลกระทบที่เป็นปัญหา จุดอ่อน จุดด้อย ข้อเสียเปรียบที่เกิดขึ้น หรือก็คือการประเมินวัดความเสียหายนั่นแหละ เช่น การขาดทุน, คำร้องเรียนของผู้บริโภค, ขาดสภาพคล่อง เป็นต้น
วิธีกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่างๆ
ในแต่ละสถานที่ทำงานนั้น การกำหนด KPI ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดและธรรมชาติของที่ทำงานต่างๆ ซึ่งจะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ และแต่ละระดับก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันดังนี้
1. กำหนด KPI ระดับองค์กร (Organization indicators) - เป็นการกำหนดเป้าหมายหลักร่วมกันของทุกคนในองค์กร เพื่อให้การทำงานมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นจะเป็นตัวที่บอกถึงความสำเร็จขององค์กรนั้นนั่นเอง
2. กำหนด KPI ระดับหน่วยงาน (Department indicators) - เมื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กรไปแล้ว แต่ในองค์กรก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันซึ่งแต่ละฝ่ายก็จำเป็นที่จะต้องกำหนด KPI ในหน่วยงานของตัวเองด้วย และต้องมีความสอดคล้องกับ KPI หลักขององค์กรนั่นเอง
3. กำหนด KPI ระดับบุคคล (Individual Indicators) - รองลงมาก็คือการกำหนด KPI ของแต่ละบุคคลซึ่งตามปกติแล้วที่ทำงานมักจะมีเกณฑ์กำหนดคุณภาพการทำงานของพนักงานอยู่แล้ว ซึ่ง KPI นี้จะส่งผลเชื่อมโยงไปถึง KPI ขององค์กรด้วย อีกทั้ง KPI ระดับนี้ยังเป็นตัวชี้วัดในการกำหนดอัตราการขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งด้วยนะ ระวังกันดีๆ นะเพื่อนๆ อิอิ
4. กำหนด KPI ระดับ KPI รอง (Secondary indicators) - จะว่ากันให้เข้าใจง่ายสุดๆ ก็คือคะแนนสเน่หาก็ว่าได้ ซึ่งจะไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนระดับอื่นๆ แต่จะเป็นการประเมินพฤติกรรมในการทำงาน เช่น การสนับสนุนหน่วยงาน, การให้บริการที่ดี, การสร้างผลงานได้มากกว่า KPI เป็นต้น (เป็นหนึ่งในการวัดผลทางอ้อมที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้)
การใช้ KPI ให้มีประสิทธิภาพด้วยหลักการ SMART
รู้กระบวนการวัดผล ประเภทของตัวชี้วัด และระดับของการกำหนด KPI กันไปหมดแล้ว คำถามต่อไปจากคุณจิตตรีก็คือ “แล้วเราจะทำอย่างไรให้การวัด KPI ได้ผลตอบรับที่ดี” ในส่วนนี้จะเป็นรูปแบบการกำหนด KPI โดยใช้หลักการ SMART ซึ่งเป็นวิธีการกำหนด KPI อย่างมีเหตุและผล หากเพื่อนๆ สามารถกำหนด KPI ได้ครอบคลุมหลักการนี้รับรองเลยว่า KPI ที่วัดออกมาจะต้องมีประสิทธิภาพแน่นอน
adaddictth.com
แนวคิด SMART กับ 5 หลักการสำคัญในการตั้งเป้าหมายที่ดีของทุกธุรกิจ
แนวคิด SMART กับ 5 หลักการสำคัญในการตั้งเป้าหมายที่ดีของทุกธุรกิจ
และนี่ก็คือทุกสิ่งที่เพื่อนๆ ควรรู้เกี่ยวกับเจ้า KPI แล้วจะบอกให้ นอกจากการวัดผลในการทำงานแล้วหากเพื่อนสามารถประยุกต์ใช้การวัดผลเหล่านี้กับกิจกรรมในชีวิตหรือเป้าหมายบางอย่างได้ KPI ก็สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เพื่อนๆ ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ด้วยนะ
เดี๋ยวจะหาว่าโม้กีฬาหลายๆ อย่างก็มีลักษณะการวัดผลเพื่อวัดคุณภาพของพัฒนาการในการเล่นกีฬาเหล่านั้นเช่นกัน เช่น ‘นักวิ่งมาราธอน’ ที่มีการวัดความสำเร็จจากระยะทางที่สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นนานขึ้น
จวบจนปัจจุบันมีการวัดไปถึงระดับการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในการวิ่ง สิ่งเหล่านั้นก็นับว่าเป็นการวัด KPI อย่างหนึ่ง มันจะทำให้เราเห็นพัฒณาการในเรื่องต่างๆ อย่างเป็นระบบ และเราก็จะพยายามทำลายตัวเลขเหล่านั้นให้สูงขึ้นไปอีก เป็นไงบ้างมีประโยชน์ไหมล่ะ เพื่อนๆ ก็ลองเอา KPI ไปปรับใช้กันดูได้นะ แต่ตอนนี้แอดต้องรีบไปทำงานก่อน เดี๋ยวหัวหน้าจะประเมิน KPI ให้ไม่ดี เจอกันใหม่คราวหน้าครับ
adaddictth.com
ทำความรู้จัก KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบเข้าใจง่าย วัดผลแบบสบายๆ ถึงเป้าทีไรชีวิตดี๊ดี
ทำความรู้จัก KPI ดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบเข้าใจง่าย วัดผลแบบสบายๆ ถึงเป้าทีไรชีวิตดี๊ดี
20 บันทึก
12
16
20
12
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย