10 ก.พ. 2021 เวลา 23:51 • บ้าน & สวน
บ้านที่มีแรงบันดาลใจจากพริกแกง
ในครั้งแรกที่เห็นแบบอาคารหลังนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า อาคารที่ดูแปลกตาแบบนี้ต้องเป็นบ้านที่สร้างในต่างประเทศอย่างแน่นอน โดยเฉพาะแบบบ้านในเวียดนามยุคใหม่ ๆ ที่มักจะนำเสนอแบบบ้านที่เต็มไปด้วยช่องว่าง การหยิบจับไม้มาคู่กับคอนกรีตและอิฐ ถ้าคิดแบบนั้นคุณคิดผิดครับ เพราะบ้านนี้เป็นฝีมือการออกแบบของสถาปนิกไทย ที่ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจังหวัดสระบุรีดินแดนแห่งโคบาลไทยและขนมกะหรี่ปั๊บที่ใคร ๆ ต่างอยากไปลิ้มลอง เนื้อหานี้ไฮไลต์อยู่ที่บ้านย่านตลาดในเมืองที่ชวนให้สะดุดตากับวัสดุ โทนสี และเส้นสาย จนต้องหันกลับมามองอีกครั้งและอีกครั้ง
บ้านขนาด 220 ตารางเมตรหลังนี้ อยู่ในชุมชนตลาดจังหวัดสระบุรี มีชื่อโครงการว่า บ้านพริกแกง มาจากธุรกิจเดิมของครอบครัวและเป็นสิ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวได้ดี อาคารเดิมป็นบ้านไม้สองชั้นครึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมและไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน ทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัยและความสามารถในการรองรับธุรกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถูกรื้อสร้างขึ้นใหม่โดยผสมผสานระหว่างอิฐคอนกรีตโทนสีเทาและไม้ ซึ่งทีมงานใช้วัสดุที่สีและสัมผัสแตกต่างนี้ เพื่อแยกสัดส่วนฟังก์ชันใช้งานให้ชัดเจนขึ้นและเติมมิติที่น่าสนใจให้กับบ้าน
หากสังเกตอาคารรอบ ๆ ข้างจะเห็นว่าบนชั้น 2 จะมีระเบียงอยู่ด้านหน้าเหมือนตึกแถวทั่วไป ในส่วนนี้สถาปนิกจึงยังคงไว้ด้านหนึ่งของบ้าน เพื่อให้เป็นจุดเชื่อมโยงกับบริบทรอบข้างไม่ให้แปลกแยกจนเกินไป และจัดวางห้องนั่งเล่นให้อยู่ถัดจากพื้นที่ระเบียง เพื่อให้สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของถนน พร้อม ๆ กับเปิดรับลมและแสงธรรมชาติได้ง่าย
ส่วนอีกสิ่งที่พิเศษไม่เหมือนบ้านอื่น ๆ คือพื้นผิวผนังที่ทำมุมโค้งมนโอบเข้าหากัน ทำให้ความรู้สึกของบ้านเป็นมิตรและช่วยลดความรู้สึกเร็วของการสัญจรและเหมือนเชิญชวนให้แวะเข้ามาที่นี่
อาคาร 2 คูหาแบ่งสัดส่วนการใช้งานให้มีหน้าที่แยกกันอย่างชัดเจน คือ ฝั่งซ้ายเป็นร้านขายของส่วนทางฝั่งขวาจะเป็นบ้าน
ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ที่ติดกับถนนมีผู้คนสัญจรไปมาพลุกพล่าน และถูกบ้านเรือนโดยรอบปิดล้อมมุมมองและมีปัญหาเรื่องการการระบายอากาศ จึงต้องจัดเรียงลำดับการใช้งานพื้นที่ใหม่ จากที่เราคุ้ยเคยกับการวางห้องรับแขกห้องพักผ่อนไว้ข้างหน้า เปลี่ยนมาเป็นทำครัวไทยอยู่หน้าบ้านแทน เพราะเป็นจุดที่ลมถ่ายเทดีที่สุดทำให้กลิ่นและควันระบายออกจากบ้านได้ดี โซนถัดไปเป็นมุมรับประทานอาหาร ครัวหน้าบ้านจึงเป็นเสมือนแกนหลักของบ้านที่เชื่อมต่อ “บ้าน” และ “โรงงานพริกแกง” เข้าด้วยกัน และตกแต่งให้พร้อมรองรับธุรกิจคาเฟ่ที่วางโครงการจะทำเพิ่มในอนาคต
1
พื้นที่โถงบันไดด้านล่างกรุไม้ให้บ้านที่เต็มไปด้วยคอนกรีตดู Soft ลง และยังใส่ลูกเล่นเล็ก ๆ ลงไปด้วยการเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมจะใช้วางของตกแต่งก็ได้ หรือเข้าไปนั่งเล่นก็ได้เช่นกัน ส่วนบันไดนี้จะเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของบ้านที่ถูกนำมาใช้แบ่งพื้นที่อาคารฝั่งบ้านและโรงงานพริกแกง โดยออกแบบโถงสูงมีบันไดโครงสร้างเหล้กกรุทับด้วยหม้นำทางขึ้นไปถึงชั้นสอง ระหว่างทางบนผนังจะเห็นบางช่วงที่เปลี่ยนมาใช้บล็อกแก้วซึ่งเป็นวัสดุที่สถาปนิกมักหยิบจับมาใช้ เพื่อให้บ้านยังรับแสงได้บ้างดดยที่ไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัว
1
พื้นที่โถงบันไดด้านล่างกรุไม้ให้บ้านที่เต็มไปด้วยคอนกรีตดู Soft ลง และยังใส่ลูกเล่นเล็ก ๆ ลงไปด้วยการเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมจะใช้วางของตกแต่งก็ได้ หรือเข้าไปนั่งเล่นก็ได้เช่นกัน ส่วนบันไดนี้จะเป็นเหมือนกระดูกสันหลังของบ้านที่ถูกนำมาใช้แบ่งพื้นที่อาคารฝั่งบ้านและโรงงานพริกแกง โดยออกแบบโถงสูงมีบันไดโครงสร้างเหล้กกรุทับด้วยหม้นำทางขึ้นไปถึงชั้นสอง ระหว่างทางบนผนังจะเห็นบางช่วงที่เปลี่ยนมาใช้บล็อกแก้วซึ่งเป็นวัสดุที่สถาปนิกมักหยิบจับมาใช้ เพื่อให้บ้านยังรับแสงได้บ้างดดยที่ไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัว
พื้นที่บนชั้นสองเป็นส่วนตัว มีห้องพักผ่อนนั่งเล่นดูทีวีที่เชื่อมต่อออกมาบริเวณระเบียงผ่านประตูกระจกที่สูงจากพื้นจรดเพดาน เปิดวิสัยทัศน์ให้มองออกไปข้างนอกได้กว้าง การตกแต่งภายในห้องใช้ชุดสีน้ำตาล เทา-ดำ ซึ่งสีน้ำตาลของไม้และหนังจะช่วยลดทอนความรู้สึกไม่ทำให้ห้องไม่ขรึมดุดันเกินไป ดูเท่และอบอุ่นได้ในเวลาเดียวกัน สีแบบนี้ยังสอดคล้องกับภายนอกอาคารที่เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อสีพริกแกงและครกหินสีเทา ๆ เป็นการดึงตัวตนของบ้านสื่อออกมาได้ชัดเจนและกลมกลืนกันในทุกจุด
แหล่งข้อมูล : banidea.com
โฆษณา