12 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • สิ่งแวดล้อม
UNDERWATER: วาฬช่วย ‘ลดโลกร้อนได้’ ดูดซับคาร์บอนได้อย่างมหาศาล แต่น่าเสียดาย มันกำลังเหลือน้อยลงอย่างมาก
วาฬโดยเฉพาะสายพันธุ์บาเลน และสเปิร์มเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก และร่างกายของพวกมันเป็นที่กักเก็บคาร์บอนจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นตัวแปรสำคัญในระบบนิเวศ
นับนานหลายศตวรรษที่มนุษย์เรานั้นได้ล่า และฆ่าวาฬเพื่อน้ำมัน เนื้อ และ กระดูกมาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ช่วง 1000 CE จนมาถึงปัจจุบัน วาฬจำนวนสิบล้านกว่าตัวได้ตายจากไป ซึ่งลดลงเป็นจำนวนประมาณ 66-90%
และเมื่อวาฬตาย ร่างของมันจมลงสู่ก้นทะเลและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กักเก็บในร่างอันใหญ่ยักษ์ของมันได้ถูกถ่ายเทพื้นจากผิวน้ำสู่ก้นทะเลลึก ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะยังคงอยู่นานเป็นเวลาหลายศตวรรษ
จากการศึกษาในปี 2010 นักวิทยาศาสตร์พบว่าก่อนการล่าวาฬในเชิงอุตสาหกรรมนั้น จำนวนคาร์บอนจากประชากราฬ(ไม่รวมวาฬสเปิร์ม) จะจมสู่ก้นทะเลจำนวนมากถึง 190,000 ถึง 1.9 ล้านตัน หรือเท่ากับนำรถจำนวน 40,000 ถึง 410,000 คัน ออกจากถนนต่อปี แต่เมื่อคนได้ฆ่าและแปรรูปวาฬเป็นอย่างอื่น คาร์บอนไดออกไซด์ในตัววาฬถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแทนที่จะจมลงสู่ก้นทะเล
Andrew Pershing นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลจากมหาวิทยาลัยของ Maine คาดว่า ตลอดช่วงการล่าวาฬในศตวรรษที่ 20 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 70 ล้านตัน ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่ง “ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก แต่รถจำนวน 15 ล้านคันก็กำลังปล่อยก๊าซจำนวนเท่านี้อยู่เช่นกัน ซึ่งตอนนี้สหรัฐอเมริกามีรถอยู่ 236 ล้านคันแล้ว” Andrew Pershing กล่าว
อย่างไรก็ตาม วาฬเหล่านี้ไม่ได้มีค่าเมื่อตายแล้วเท่านั้น เพราะมูลที่วาฬสร้างขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศของโลกเราอย่างไม่น่าเชื่อ โดยปกติแล้ววาฬจะหากินใต้ท้องทะเล และได้ว่ายขึ้นมาผิวน้ำเพื่อทำการถ่ายและหายใจ โดยอุจจาระที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กจะเป็นแหล่งเติบโตอันสมบูรณ์แบบของแพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) ถึงแพลงก์ตอนพืชนั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆแต่เมื่อนำมาอยู่รวมกันมันสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40% ซึ่งมากกว่าที่ป่าอะเมซอนจะกักเก็บได้ถึง 4 เท่า
และการที่จำนวนวาฬหายไปจากท้องทะเลนั้นทำให้ "วาฬเพชฌฆาต" ที่กินสัตว์ทะเลอื่นๆ เป็นอาหาร แม้แต่วาฬต่างสปีชีส์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เริ่มไปล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่นนากทะเลแทน ซึ่งถ้าจำนวนของนากทะเลหายไป อาหารของพวกมันอย่างเม่นทะเลจะมีการแพร่กระจายมากขึ้น และนำไปสู่ผลกระทบของการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของสาหร่ายทะเล (เม่นทะเลมากขึ้นแปลว่าจะมีการบริโภคสาหร่ายหรือแหล่งกักเก็บคาร์บอนมากขึ้น)
นอกจากนี้เรื่องของคาร์บอน ซากวาฬยังมีประโยชน์ สามารถกลายมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลลึก ซึ่งหลายชนิดนั้นสามารถพบเจอได้แค่บริเวณซากวาฬเท่านั้น การวิจัยยังคงพบว่า ซากวาฬหนึ่งตัวนั้นสามารถเป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่สำหรับสิ่งมีชีวติได้มากถึง 200 ชนิด
ในปี 2019 International Monetary Fund (IMF) ได้เผยแพร่รายงานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของการนำวาฬกลับสู่ทะเลโดยการใส่ตีมูลค่าวาฬออกมาเป็รเงินดอลล่าร์เพื่อให้นักการเมืองได้มีความเข้าใจ การศึกษาจากรายงานพบว่าเมื่อใส่ตีค่าของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บโดยวาฬในตลอดช่วงชีวิตของมัน และเงินที่ได้จากการประมงที่ดีขึ้น หรือการท่องเที่ยวแบบ Eco tourism ที่ดีขึ้น มูลค่าของวาฬตัวหนึ่งน่าจะมีมูลค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์
โดยนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการศึกษานี้กำลังดำเนินโครงการตีราคาวาฬให้กลายเป็นจริง โดยใช้วิธีการให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะปกป้องวาฬ แทนที่จะนำเงินไปลงทุนกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อที่จะให้ระดับ carbon footprint ของพวกเขาเป็นกลาง
สรุปได้ว่า วาฬนั้นเป็นทั้งตัวแปรสำคัญในห่วงโซ่อาหารและยังสามารถเป็นส่วนช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศด้วยการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ 33 ตัน ต่อตัว อีกทั้งการศึกษาของ IMF ยังได้กล่าวว่าการปกป้องวาฬต้องกลายเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดเพื่อการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในตอนนี้
แต่ช่างน่าเศร้าที่ปัจจุบันนี้ วาฬใหญ่จำนวน 6 จาก 13 สายพันธุ์ ตกไปอยู่ในสัตว์จำพวกใกล้สูญพันธุ์และมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ทั้งๆที่ได้มีการคุ้มครองดูแลมาโดยตลอดนับสิบปี
เรียบเรียง: buras
โฆษณา