12 ก.พ. 2021 เวลา 10:57 • การ์ตูน
10 อันดับ มังงะและอนิเมะสอดแทรกปรัชญาที่ชวนให้ตั้งคำถามกับนิยามความจริงอันสลับซับซ้อน Part 1
Philosophical Anime&Manga
สวัสดีครับ ขอโทษที่ห่างหายกันไปนาน พอดีผมกำลังติดพันกับการอ่านหนังสือเพิ่มเติม เลยไม่ค่อยมีเวลามาเขียนวิเคราะห์อนิเมะสักเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ดี วันนี้ผมก็อยากจะมาเขียนนำเสนอมังงะและอนิเมะสอดแทรกปรัชญาและประเด็นทางสังคมที่ผมคิดว่าน่าสนใจ และได้นำเสนอคำถามบางแง่มุมที่ทำให้เราได้มาขบคิดกันเพิ่มเติมนะครับ โดยอนิเมะและมังงะจำพวกนี้ส่วนใหญ่ผมคิดว่าไม่ค่อยน่าจะมีใครรู้จักกัน เพราะเป็นอนิเมะที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มและบางเรื่องไม่ได้มีแปลไทยนะครับ ซึ่งอนิเมะที่ผมจะนำเสนอในวันนี้นั้นมีทั้งหมด 10 เรื่องนะครับ โดยผมจะเกริ่นถึงเรื่องย่อและประเด็นทางปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆแต่เพียงผิวเผินก่อนนะครับ ซึ่งในอนาคตผมคิดว่าผมอาจจะมาอภิปรายรายละเอียดอย่างเจาะลึกให้คุณผู้อ่านในภายหลัง รอติดตามได้เลยนะครับ ( ถ้าอยากให้ผมวิเคราะห์เรื่องไหนใน 10 เรื่องนี้ก่อนเป็นพิเศษก็สามารถ Request มาได้นะครับ )
1.Hinotori ตำนานวิหกเพลิง
hinotori
ขอเปิดเรื่องด้วยการ์ตูนที่ค่อนข้างเก่านิดนึงนะครับ โดยการ์ตูนเรื่องนี้มีทั้งฉบับมังงะและอนิเมะนะครับ แต่ในฉบับอนิเมะจะไม่มีลิขสิทธิ์ให้ดูภายในประเทศไทย ดังนั้นผมจึงขอแนะนำให้อ่านเป็นมังงะจะดีกว่าครับ โดยการ์ตูนเรื่องนี้เป็นผลงานของอาจารย์ tezuka osamu ซึ่งถือเป็นปรมาจารณ์และนักเขียนมังงะคนแรกๆของญี่ปุ่นเลยครับ โดยภายในเรื่องจะเล่าถึงวิหกตนหนึ่งซึ่งเป็นอมตะและต่างก็เป็นที่ต้องการของตัวละครภายในเรื่องเนื่องจาก ขนของมันสามารถทำให้ผู้คนเป็นอมตะได้ ซึ่งกลวิธีที่มังงะเรื่องนี้นำเสนอนั้นจะเสนอในรูปแบบของมังงะที่จบเป็นตอนๆไปแต่มีโครงเรื่องใหญ่ที่ผัวผันกับวิหกตนนี้ครับ ถ้าจินตนาการไม่ออกก็ลองนึกถึงการนำเสนอของ โดราเอมอนนั่นแหละครับ จบเป็นตอนๆแต่ทุกตอนล้วนเกี่ยวผันกับโดราเอมอน นอกจากนี้เรื่องนี้ยังได้สอดแทรกคำถามเชิงปรัชญาไว้มากมายครับ ยกตัวอย่างเช่น ชีวิตคืออะไร วัฎจักรของชีวิตมีอยู่จริงไหม อะไรคือเส้นแบ่งของเรากับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มีหัวใจหรือไม่ เรามีเจตจำนงเสรีไหม แล้วก็มีอีกหลายคำถามมากมายครับซึ่งขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นๆจะนำเสนอประเด็นอะไรเป็นสำคัญ
2. Franken fran หมอปีศาจ
Franken fran
ดูจากชื่อเรื่องทุกคนอาจจะคิดว่าเป็นการ์ตูนประเภทเดียวกันกับ Blackjack ที่ทุกคนน่าจะเคยดูกันหรือเปล่า ผมบอกเลยว่าไม่ใช่อย่างสิ้นเชิงเลยครับ มังงะเรื่องนี้ไปไกลและรุนแรงกว่านั้นมากครับ โดยภายในเรื่องจะกล่าวถึงหมออัจฉริยะคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า ฟรานซึ่งเป็นหมอปีศาจที่ไม่ได้มาจากฉายา แต่เธอเป็นปีศาจจริงๆเลยครับ โดยฟรานจะทำการผ่าตัดให้แก่ลูกค้าที่ร้องขอให้เธอช่วยอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่โครตผิดความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะมีฉากเลือดสาดชวนแหวะมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว และยังหมิ่นเหม่ประเด็นจริยธรรมหรือไม่ก็ท้าทายจริยศาสตร์ทางการแพทย์สุดๆ ยกอย่างเช่น ประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดหัวมนุษย์ หรือการดัดแปลงมนุษย์ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่ การโคลนนิ่งจะทำให้เกิดปัญหาอะไรไหม เราควรศัลยกรรมโดยที่ไม่มีขอบเขตหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถึงแม้จะนำเสนอได้รุนแรงแต่ก็ทำให้เราได้กลับมานั่งขบขิดกันได้ครับ
3. Isekai no Shuyaku wa Wareware da! ตัวเอกของต่างโลกก็คือพวกเรานี่แหละ!
3
Isekai no Shuyaku wa Wareware da!
การ์ตูนแนวต่างโลกเรื่องหนึ่งที่ผมบอกเลยว่า ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอนครับ เพราะเรื่องนี้จริงๆแล้วมันไม่ใช่มังงะทั่วไปครับแต่มันถือได้ว่าเป็นแบบจำลองทางความคิดฉบับที่อ่านแล้วได้ความบันเทิงเลยครับ กล่าวคือเป็นมังงะที่เต็มไปด้วยการต่อสู้กันของอุดมการณ์ สำนักคิดทางปรัชญาต่างๆโดยแสดงออกผ่านมังงะอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่แนวคิดของพระเอกอย่าง สุญนิยม ที่คิดว่าทุกสิ่งนั้นไร้ความหมาย ดีเลวมันไร้สาระ อยากทำไรก็ทำพอ หรือพระรองที่ยึดแนวคิดแบบ อรรถประโยชน์นิยม ที่เน้นผลลัพทเป็นสำคัญ และตัวละครอื่นๆที่มีชุดความคิดแบบสุดโต้งอีกมากมายครับ
(รอติดตาม Part 2 นะครับ )
โฆษณา