12 ก.พ. 2021 เวลา 12:51 • ไลฟ์สไตล์
โสดเพราะไม่มีใครเลือก หรือเลือกที่จะโสด?
ปรากฏการณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ลานหน้า Central World เป็นสิ่งที่ สะท้อนถึง ประชากรคนโสดในประเทศไทยมีไม่น้อย....จนมีคำพูดแซวกัน ขำ ๆ ว่า “โควิดก็กลัว ผัวก็อยากได้” บทความนี้มุ่งที่จะหาคำตอบของปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยการตั้งโจทย์ที่เป็นหลักใหญ่ใจความว่า ทำไมถึงยังโสด?
ก่อนที่จะไปค้นหาคำตอบถึงสาเหตุที่ยังโสด เรามาทำความเข้าใจคำว่า "โสด" กันก่อน โสด หรือ การครองตัวเป็นโสด หมายถึง การที่ไม่ว่าจะเพศใดก็ตามไม่เคย ผ่านการ แต่งงานหรือไม่เคยอยู่กินกันแบบสามีภรรยามาก่อน (ทิพวรรณ และคณะ 2562) เราลองไปดูข้อมูลตัวเลข โดยวัดสถานภาพโสดจาก จำนวนผู้จดทะเบียน สมรส กับ จดทะเบียนหย่า ..
ข้อมูลของกรมการปกครอง (อ้างใน EIC. ธ.ไทยพาณิชย์) พบว่า ปี2560 การจด ทะเบียนสมรสลดลง 5.1% เมื่อเทียบกับปี 2550 และ การจดทะเบียนหย่าเพิ่มขึ้น 19.7%
ที่มา https://today.line.me/th/v2/article/
นอกจากนี้หากให้ความสนใจไปที่เพศหญิง จะพบแนวโน้มของการเป็นโสดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระ โดด ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีความมั่นคงทั้งเรื่องงาน เงิน และความพร้อมใน การดำรงชีวิต แต่เลือกที่จะอยู่เป็นโสด ในขณะที่อาจได้คำตอบอีกอย่างคือ โสดเพราะไม่มีใครเลือกเลย!
ที่มา http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=3903
เหตุผลที่ยังโสด
1. วัฏจักรชีวิตบังคับให้โสด
หากเราตัดกลุ่มคนที่ยังเรียนอยู่ออกไปเหลือเฉพาะคนทำงาน ลองทบทวนดูว่า จันทร์ถึงศุกร์ ชีวิตประจำวันของคนวัยทำงานต้องเผชิญกับ.....เช้าตื่นนอน รีบทำ ภารกิจอย่างรีบเร่งไม่งั้นเข้างานสาย ถึงที่ทำงานก็มีสมาธิกับงาน ถึงเวลาเดินทาง กลับบ้านพร้อมเสียบหูฟังอยู่ในโลกของตัวเองบนรถไฟฟ้า กลับถึงบ้านมาก็ถูมือถือ ไปมาแล้วก็เพลียหลับไป ตื่นมากับเช้าวันใหม่ที่เข้าสู่วงจรเดิม..........แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปหาแฟนหรือพบปะผู้คนที่สนใจแต่จะเอาเวลาไหนคุย! งานวิจัยของ ทิพวรรณ และคณะ 2562 ให้ข้อสรุปของการที่ยังเป็นโสดเพราะ ไม่เลือกใครนั้นว่า ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหาเงินสร้างตัว และมีภาระที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญสงสุด และโดยเฉพาะคนที่มีฐานะปากกลางจะ เลือกอยู่เป็นโสดไปจนกว่าจะคิดว่าพร้อม
วงจรความโสด ที่มา โดยผู้เขียน
2. การศึกษา
คุณอาจจะมองว่าไม่เกี่ยวแต่ขอยืนยันว่าเกี่ยว....ซึ่งมีผลการวิจัยที่ให้ข้อสรุปที่ น่าสนใจว่า การเรียนจบระดับบัณฑิตศึกษา (โดยเฉพาะผู้หญิง) มีความเป็นไปได้ที่ จะแต่งงานช้าลง 14% เมื่อเทียบกับคนที่เรียนจบ ป. ตรีหรือต่ำกว่า นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เรียนจบสูง พื้นฐานครอบครัวดี และตำแหน่งงานสูง มักเลือกที่จะโสด หรือ ชะลอการมีครอบครัวออกไปก่อน (ทิพวรรณ และคณะ 2562 , ศศิวิมล และ Liao, มนสิการ กาญจนะจิตรา)
3. ทัศนคติต่อการมีชีวิตคู่
ประเด็นนี้เป็นเหตุผลของการที่ทั้งโสดไม่มีใครเอาและโสดไม่เอาใคร จากการสำรวจทัศนคติของคน Gen Y (ซึ่งถือว่าเป็นวัยที่เหมาะกับการมีครอบครัวหรือเรียกภาษา สวย ๆ ว่าวัยเจริญพันธุ์) พบว่า คนกลุ่มนี้ไม่ปฏิเสธการมีคู่ หรือก็คือ “มีก็ได้ ไม่มีก็ได้” โดยมีเหตุผลที่น่าขบคิดว่า "ถ้ามีแล้วไม่ดี สู้อยู่คนเดียวยังดีกว่า" (https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2019595)
นอกจากนี้ มุมมองต่อการมีชีวิตคู่ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ชายกับหญิง แต่รวมไปถึง เพศทางเลือก ที่เลือกจะมีคู่ในรูปแบบของความเป็นเพื่อนร่วมชีวิต (Partner) อย่างไรก็ตาม การที่เลือกจะเป็นโสดเพราะไม่เอาใครนั้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง (ไทย) ยุคใหม่มีมุมมอง ที่ต่างกันอยู่ ดังนี้
ทัศนคติของคน Gen Y ต่อการมีคู่ ภาพโดยผู้เขียน
4. ดีไม่พอและไม่พอดีกัน
เมื่อมีความรักต่างฝ่ายต่าง “คาดหวัง” เมื่อเป็นแฟนกันก็คาดหวังว่าเขาน่าจะ....และ หวังต่อไปอีกว่า ถ้าแต่งงานแล้ว เขาก็จะ..... ทว่า เมื่อไม่เป็นตามที่หวัง ปัญหาที่ตามมาก็คือ เลิกราอย่างร้าง สถิติการหย่าร้างมีจำนวนและแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดย สาเหตุการหย่าร้างในยุคปัจจุบัน ได้แก่
- lifestyle ที่ต่างกัน
- Sex ไม่พอดีกัน
- ความอดทนการใช้ชีวิตคู่ต่ำ ทนอยู่เพราะอึดอัด สู้เลิกกันยังดีเสียกว่า
- ชู้สาว จากโลก Social
- เงิน
อย่างไรก็ตาม อาจมีอีกเป็นร้อยพันเหตุผลของคนที่ยังโสด แต่ฝากให้คุณลองไป ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ที่โสดเพราะเราไม่เลือกใคร? หรือเพราะ ไม่มีใครเลือกเรา?.....
“ไม่มีใครด้อยค่าเกินกว่าที่จะมีความรัก”
“เป็นโสดก็หาวิธีแก้เหงา ดีกว่าต้องมาหาวิธีแก้เศร้าเพราะมีเขาแล้วยังเหงาไม่ต่าง กับเป็นโสด.......
โฆษณา