13 ก.พ. 2021 เวลา 00:23 • ปรัชญา
การทำงานของวิญญาณกับนามรูป
(ในระบบขันธ์ ๕)
เทียบกับหลักการทางวิทยาศาสตร์**
บุคคล เมื่อผัสสายะตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กระทบกับภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์) แล้วจะเกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ (อทุกขมะสุข) ตามช่องทางอายตนะนั้นๆ คือ
** ตา เห็นภาพสิ่งนั้นบ้าง โน้นบ้าง นี้บ้าง เห็นภาพสีนั่นแล้วเห็นสีนี่ เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลา แล้วเกิดเวทนาดังกล่าว
**หู ได้ยินเสียงนั้นบ้าง โน้นบ้าง นี้บ้าง เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลา แล้วเกิดเวทนาดังกล่าว
**จมูก ได้กลิ่นนั้นบ้าง โน้นบ้าง นี้บ้าง เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลา แล้วเกิดเวทนาดังกล่าว
**ลิ้น ได้รู้รสนั้นบ้าง โน้นบ้าง นี้บ้าง เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลา แล้วเกิดเวทนาดังกล่าว
**กาย ได้รับสัมผัสนั้นบ้าง โน้นบ้าง นี้บ้าง เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลาแล้วเกิดเวทนาดังกล่าว
**ใจ ได้รู้สึก คิดนึก ตริตรึก ถึงเรื่องนั้นบ้าง เรื่องโน้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง เปลี่ยนการรับรู้อย่าตลอดเวลา แล้วเกิดเวทนาดังกล่าว ***หรือ การที่บุคคลรับรู้ถึงเรื่องนั้น คิดถึงเรื่องนี้ คิดไปในอดีตบ้าง ปรุงไปในอนาคตบ้าง หรือรู้สึกสุขทุกข์ พอใจไม่พอใจบ้าง หรือเรื่องใดๆ ภายใต้ฐานที่ตั้งทั้ง ๔ (จัตตะโส วิญาณะฐิติโย) นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นจิต มโน วิญญาณ(กิริยาที่รู้แจ้ง)ดวงเดียวกันที่ได้วิ่งไปเรื่องโน้น รับรู้ไปเรื่องนี้ กลับไปเรื่องนั้น กลับมาเรื่องนี้แต่อย่างใด (ลักษณะอย่างนี้พระตถาคต เรียกว่า "จิตเปลี่ยน" หรือ"จิตมีการมาการไป")
**หากแต่มีจิต มโน วิญญาณ หลายดวงและสัตว์ผู้ยึดติดในขบวนการทำงานหรือการรับรู้ในสิ่งๆนั้น และการที่ จิต มโน วิญญาณ ได้มีการมามีการไป จะมี "ตาย" (ดวงหนึ่งดับ)และมี "เกิด" (ดวงหนึ่งเกิด) ใน ๑ วงรอบ อยู่ทุกหนึ่งในล้านเสี้ยววินาทีเสมอ
#ยกตัวอย่าง สมมุติว่าบุคคลเอาจิตมาเกาะอยู่กับลมหายใจหรือ "รูปธาตุ" เป็นปกติ ณ ขณะนั้นชื่อว่ามีสติอยู่กับปัจจุบัน แต่พอเสี้ยววินาทีต่อมาจิตได้เปลี่ยนการรับรู้(ชราและมรณะ) สมมุติ หลุดจากลมหายใจไปรับรู้เรื่องราวในอดีต การอธิบายปรากฏการณ์ก็คือ ณ ขณะนั้นจิตหรือวิญญาณที่เกาะกับรูปจะดับ(ตาย)เมื่อจิตหรือวิญญาณดับ รูปก็จะดับไปชั่วขณะ เนื่องจากไม่มีวิญญาณครอง พอวิญญาณดวงหนึ่งดับไปและดวงใหม่เกิด สัตตานัง ก็จะเข้ายึดดวงใหม่ที่เกิดอย่างรวดเร็ว(หนึ่งในล้านเสี้ยววินาที)และจะพาเอาจิตหรือวิญญาณดวงที่จับยึดไปตั้งที่สัญญาขันธ์อย่างรวดเร็ว(หนึ่งในล้านเสี้ยววินาที)เช่นกัน และ ณ เสี้ยววินาทีนั้นสัญญาขันธ์ก็จะเกิด เนื่องจากมีวิญญาณไปตั้ง
**พอคิดเรื่องอดีตไปได้ซักพัก จิตก็เปลี่ยนการรับรู้(ชราและมรณะ)อีก สมมุติ โดยหลุดไปคิดปรุงแต่งไปในอนาคตหรือไปเกาะที่ "สังขารขันธ์" (การทำงานจะเป็นลักษณะเดียวกันกับกรณีแห่งรูป) ณ ขณะนั้น สัญญาขันธ์จะดับ(ตาย)เนื่องจากไม่มีวิญญาณครอง ส่วนสังขารขันธ์จะเกิด เนื่องจากมีวิญญาณไปตั้ง
**พอปรุงเรื่องอนาคตไปได้ซักพัก จิตก็เปลี่ยนการรับรู้อีก(ชราและมรณะ)สมมุติหลุดไปคิดเรื่องสุขทุกข์ พอใจไม่พอใจใดๆซักอย่าง หรือไปเกาะที่ "เวทนาขันธ์" (การทำงานจะเป็นลักษณะเดียวกันกับกรณีแห่งรูป) ณ ขณะนั้นสังขารขันธ์จะดับ(ตาย) เนื่องจากไม่มีวิญญาณครอง และ เวทนาขันธ์จะเกิด เนื่องจากมีวิญญาณไปตั้ง
**พอคิดไปคิดมารู้สึกเหนื่อยจึงหยุดคิด หรือเป็นจังหวะพัก (หรือเป็นจังหวะเสี้ยววินาทีที่รู้ลมโดยไม่ได้ตั้งใจ) ณ ขณะหยุดคิดหรือพักสมองนั่นเอง(การทำงานจะเป็นลักษณะเดียวกันกับกรณีแห่งรูป) เสี้ยววินาทีนั้นจิตจะดับจากเวทนาขันธ์แล้วกลับมารับรู้หรือเกาะเกี่ยวอยู่กับ "ลมหายใจ" หรือ "รูปขันธ์" ใหม่โดยอัตโนมัติอีกครั้งทันที และในขณะนั้นเอง เวทนาขันธ์จะดับ(ตาย) เนื่องจากไม่มีวิญญาณครอง ส่วนรูปขันธ์หรือลมหายใจจะเกิด "กายจะกลับมามีวิญญาณครองอีกรอบ"
**พอจิตเกาะอยู่กับลมไปได้ซักพัก จิตก็เปลี่ยนอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนอยู่กับฐานที่ตั้งทั้ง ๔ เพื่อสร้างภพ สร้างชาติ สร้างการเกิดอยู่อย่างนี้ไปตลอดกาล(อกาลิโก)
**หากดูเผินๆแล้วจะเหมือนกับว่า เป็นจิตดวงเดียวกันที่วิ่งไปนั่น วิ่งมานี่ วิ่งไปเรื่องนั้นบ้าง วิ่งมาเรื่องนี้บ้าง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ หากแต่การมาการไปจะมีดวงหนึ่งตายดวงหนึ่งเกิดอย่างรวดเร็ว(หนึ่งในล้านเสี้ยววินาที) นับล้านๆดวงในทุกเสี้ยววินาทีที่จิตเปลี่ยน
*************************************
#เทียบกับหลักการทางวิทยาศาตร์#
โดยเปรียบหลักการทำงานของวิญญาณกับนามรูปเหมือนหลักการทำงานของ
***๑.ไฟกระพริบ ที่ใช้ประดับในงานต่างๆ เช่น ไฟกระพริบประดับต้นคริสมาสต์ หรือ ไฟกระพริบประดับโลงศพ ฯลฯ เมื่อเรายืนมองอยู่ไกลๆแบบเผินๆจะเห็นว่าเป็นไฟดวงหนึ่งวิ่งไปวิ่งมา "ไปซ้ายที ไปขวาที วิ่งขึ้นวิ่งลง หรือวิ่งวนกลับไปกลับมาอยู่ตรงนั้น แต่พอเราเดินเข้าไปดูใกล้ๆก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า ไฟไม่ได้มีแค่ดวงเดียว และไม่เชิงเป็นการวิ่ง แต่เป็นการทำงานเชิงระบบ เหมือนแต่ละดวงมีหน้าที่ รับ-ส่ง แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว กล่าวคือในระบบการทำงานจะมีดวงหนึ่งดับลงดวงหนึ่งติดขึ้นอยู่จำนวนหลายดวงสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว ฉันท์ใด
**การทำงานของวิญญาณกับนามรูป ก็ฉันท์นั้นเหมือนกัน ดูเผินๆจะเห็นว่าความคิดเราวิ่งไปวิ่งมา วิ่งไปนั้นวิ่งมานี้ เปลี่ยนไปตรงนั้น เปลี่ยนมาตรงนี้เพียงดวงเดียว แต่ถ้าหากทำให้การทำงานช้าลงได้ หรือ"สโลว์โมชั่น" ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า ในระบบการทำงานนั้นจะประกอบไปด้วยจิตมากมายหลายล้านดวง (เหมือนแต่ละดวงมีหน้าที่รับรู้อารมณ์ความรู็สึกต่างๆแล้วส่งต่อไปรับรู้อารมณ์ความรู้สึกใหม่ต่อไปแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว) เกิดดับๆสลับกันไปมา(หนึ่งในล้านเสี้ยววินาที)อยู่ตลอดเวลาในทุกขณะจิตเปลี่ยน จึงรู้สึกเหมือนความคิดได้วิ่งไปวิ่งมาเช่นเดียวกัน นั่นเอง
 
***๒.แผงไฟโฆษณา ตามข้างถนน อันนี้ก็หลักการคล้ายกันกับข้อที่ ๑. ที่เราเห็นตัวหนังสือโฆษณาวิ่งไปวิ่งมา วิ่งขึ้น วิ่งลง เช่นเดียวกัน ถ้าทำให้การวิ่งช้าลง จะเห็นการเกิดการดับของประจุไฟฟ้านับล้านๆประจุสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกัน และในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ยังได้ทดลองและศึกษาวิจัยจนเชื่อว่าในคลื่นสมองของมนุษย์มีประจุไฟฟ้าบรรจุอยู่ ดังนั้นจึงสามารถนำมาอ้างอิง ยืนยันได้ว่าคลื่นไฟฟ้าก็คือรอยแหวกรอยเคลื่อนอันเป็นปภัสสรของ จิต มโน วิญญาณ ที่มีการเกิดการดับแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาทุกหนึ่งในล้านเสี้ยววินาทีอยู่นั่นเอง
***๓.ฟิล์มภาพภาพยนตร์ ที่เป็นข้อๆปล้องๆ เวลาเลื่อนผ่านเครื่องฉายอย่างรวดเร็วภาพที่ออกมาจะเรื่องเป็นราวเป็นเนื้อเดียวกันแบบเนียนสนิท โดยไม่มีการสะดุดตรงข้อต่อนั่นเลย โดยเปรียบข้อต่อเป็นช่วงการ "ดับ"และปล้องแผ่นฟิล์มเป็นช่วงการ "เกิด" พอไหลผ่านเครื่องฉายอย่างรวดเร็วจะเปรียบมีการเกิดการดับ เกิดดับๆ สลับกันไปเรื่อยๆจึงทำให้ภาพปะติดต่อเป็นอันเดียวกันเนียนสนิทต่อเนื่องกัน เช่นเดียวกันนั่นเอง
**จากการอุปมาเปรียบเทียบหลักการทางวิทยาศาสตร์กับการทำงานของวิญญาณกับนามรูป ในระบบขันธ์ ๕ นั้น จะเห็นโดยประจักษ์ในกระบวนการทำงานที่มีความเหมือนกันในทุกสิ่งอย่าง (จะต่างก็เพียงแต่ความเร็วในการเกิดดับของจิตเท่านั้นที่มากกว่าหลายเท่า) ถึงการที่ระบบประจุไฟฟ้าเปลี่ยน(หลักวิทยาศาสตร์) กับระบบจิต มโน วิญญาณเปลี่ยน สลับไปมาบนฐานที่ตั้งทั้ง ๔ ดังความคิดเคลื่อนไป เคลื่อนมา ไหลไปนั่น ไหลมานี่ วนไปนั่น วนมานี่ ปะติดปะต่อกันไปเป็นเรื่องเป็นราวต่อเนื่องแบบเนียนสนิท โดยที่ไม่รู้สึกสะดุดกับความคิดนั้นเลย ทั้งๆที่การไปการมาแต่ละรอบ จะมีการเกิดดับอย่างมากมายมหาศาลในทุกเสี้ยววินาทีที่จิตเปลี่ยน
***พระตถาคตทรงอุปมาเหมือน "ลิง" เที่ยวไปในป่าใหญ่ กระโดดเกาะกิ่งนั้น ปล่อยกิ่งนี้ๆ เกาะกิ่งใหม่สลับกันเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ โดยจังหวะที่มือลิงโน้มไปเกาะเปรียบเสมือน “การเกิด”หรือการรับรู้อารมณ์ของ จิต มโน วิญญาณ และช่วงจังหวะการปล่อยมือเปรียบเสมือน “การดับ(ตาย)หรือช่วงเปลี่ยนการรับรู้ นั่นเอง
***ความเร็วของจิตเกิด-ดับ (จิตเปลี่ยน)เทียบกับความเร็วแสง***
จากพระพุทธพจน์ ที่ได้ทรงตรัสว่า "จิตเป็น ลหุปริวัตตัง เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย"
**ดังนั้นจึงได้ลองนำมาเปรียบเทียบกับความเร็วแสงดูกัน (โดยยกหลักการทางวิทยาศาสตร์และการคำนวนมาประกอบ)
***ความเร็วของจิต***
ในพระไตรปฎก พระพุทธองค์ ได้ตรัสไว้ว่า “จิตนั้นเกิดดับเร็วมาก เพียงแค่ ชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับมากถึงแสนโกฏขณะ” แสนโกฏคือ 100,000 x 10,000,000 = 1,000,000,000,000 (หรือ 10 ยกกำลัง 12) ส่วนคำว่า “ ชั่วลัดนิ้วมือ ” นั้น เราคิดที่ความเร็ว ประมาณ 1/100 วินาที (โดย เปรียบเทียบได้กับการ เปิดหน้ากล้อง หรือ เปิดชัตเตอร์ของกล้อง)....ฉนั้นเราจึงตอบได้ว่า จิต มีการเกิด-ดับ เกิด-ดับเร็วแค่ไหน? เมื่อนำ 1,000,000,000,000 (หรือ 10 ยกกำลัง 12) หาร 1/100 จะเท่ากับ 100,000,000,000,000 (อ่านว่า ร้อยล้านล้าน) นั้นคือ 1 วินาที จิต เกิด-ดับ ถึง ร้อยล้านล้านรอบ/วินาที
***ความเร็วของแสง***
อัตราเร็วของแสง (speed of light) ในสุญญากาศ มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (หรือ 1,080,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 186,000.000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 671,000,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
**ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของจิต หรือ มโน หรือ วิญญาณนั้น พูดได้ว่า "อาจจะเร็วกว่าแสงเลยก็ว่าได้ "
**ดังนั้น การที่จะเอาจิตมาตั้งอยู่กับกายให้ได้ตั้งมั่นด้วยดี(เป็นสมาธิ)ให้ได้โดยตลอดไปจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตนั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องที่กระทำได้โดยง่าย(ต้องใช้ความเพียรและกาลเวลา) และด้วยสัจธรรมนี้เอง จึงเป็นเหตุผลได้ว่า ทำไมจะต้องมาเริ่มฝึกฝนกันตั้งแต่ตอนนี้ เพราะถ้าจะรอไปกระทำในตอนเวลาใกล้ตายนั้น เป็นเรื่องยากที่จะกระทำให้สำเร็จได้ และไม่ทันกาลเป็นอย่างแน่นอน
#และด้วยสัจธรรมต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงทำให้นักปราชญ์ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกอย่าง อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ได้กล่าวชื่นชม ยกย่องสรรเสริญหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาสว่ามีหลักการที่อิงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ได้ เป็นหลักความจริงที่คงความจริงตลอดกาล และยกให้เป็นศาสนาเอกของโลก และของทุกสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาทั่วทั้งสากลจักรวาล
สาธุ สาธุ สาธุ
โฆษณา