Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอกายติดเล่า
•
ติดตาม
13 ก.พ. 2021 เวลา 08:08 • สุขภาพ
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก คืออะไร??
สมมติว่า เช้าวันหนึ่งคุณตื่นมา พร้อมอาการปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท คิ้วตก ขยับใบหน้าครึ่งหนึ่งไม่ได้ มันคงทำให้ใจเสียไม่น้อยเลยนะคะ ชั้นเป็นโรคอะไรเนี่ย!!!
Sanook.com
โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายขาดได้ ไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่โรคนี้มันจะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราลำบากมากขึ้น เสียบุคลิกภาพ น่าอาย ไม่กล้าเจอหน้าผู้คน
1
บางคนอาจคิดว่าเป็นโรคเวรโรคกรรมหรือเปล่านะ?
จากสถิติการเกิดโรคนี้ เราจะเจอ 1:5,000 คนต่อปี ถือว่าไม่น้อยเลยนะค่ะ จากประสบการณ์การทำงานมาเจอคนไข้โรคนี้อายุน้อยสุด คือ 3 เดือน และอายุมากสุด น่าจะประมาณ 80 ปี ค่ะ แสดงว่าโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกวัย และไม่จำกัดเพศด้วยค่ะ
https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/6RaBbTmY7/Content/หน้าเบี้ยว_1.jpg
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรค bell’s palsy
สาเหตุ
มาจากการติดเชื้อของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 โดยเส้นประสาทนี้จะทำหน้าในการเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า เมื่อเกิดการอักเสบ บวม หรือติดเชื้อขึ้นมา ประสิทธิภาพในทำงานลดลง จึงทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าขึ้น
https://www.firstphysioclinics.com/article/91/ตอนที่90-โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก-bell’s-palsy
อย่างกรณีของดารา ชื่อ คุณโอ อนุชิต และคุณจ๊ะ จิตตาภา ที่มีอาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือเรียกว่า อัมพาตครึ่งหน้า โดยมีอาการหลับตาไม่สนิท มุมปากตก เป็นต้น
https://m.pantip.com/topic/32605523?
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 นี้ยังมีหน้าที่ในการรับรส และควบคุมการได้ยินด้วย คนไข้โรคนี้ อาจมีอาการผิดปกติของการรับรส และการได้ยินร่วมด้วยค่ะ
1
ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มักมีหลายสาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด บางทีอาจจะมาจากอุบัติเหตุ เนื้องอก แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆคือ มันทำให้เส้นประสาทบวมอักเสบ
สมมติฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในตอนนี้คือ การติดเชื้อไวรัส จากการศึกษา มีเชื้อไวรัสหลายตัว เช่น เชื้ออีสุกอีใส เชื้อเริม เป็นต้นค่ะ
อาการแสดง
https://m.pantip.com/topic/32605523?
มีอาการอ่อนแรงเฉียบพลัน ของกล้ามเนื้อใบหน้า อาการส่วนมากที่พบ คือ มุมปากตก ดื่มน้ำหยดมุมปากหลับตาไม่สนิท ตาแดง ยักคิ้วไม่ได้ เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด บางรายอาจมีอาการชาที่ใบหน้าครึ่งซีก ปวดหู เป็นต้น ค่ะ
คำถามแรกที่คนไข้คิดมาในหัวเลย นี่คือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเปล่าค่ะ
คำตอบคือ โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ ไม่ใช่โรคหลอดเลือดสมอง ที่มีพยาธิสภาพอยู่ที่เนื้อสมอง ไม่ทำให้มีอาการของแขน ขา อ่อนแรงได้ แต่ โรคอัมพาต สามารถทำให้มีอาการของหน้าเบี้ยวร่วมด้วยได้ค่ะ ดังนั้น โรคหน้าเบี้ยว ไม่ใช่ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ค่ะ
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนี้ มีหลายวิธี ค่ะ
1.การรักษาทางยา แพทย์จะให้ทานยาฆ่าเชื้อค่ะ ถ้าสาเหตุของโรคมาจาการติดเชื้อไวรัส
https://www.firstphysioclinics.com/article/91/ตอนที่90-โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก-bell’s-palsy
2.การฝังเข็ม
3.การรักษาทางกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นคนตรวจประเมิน คนไข้ก่อนการรักษานะค่ะ แต่โดยส่วนมาก เราจะทำการรักษาโดยเน้น
- การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation) เป็นการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้กลับมาทำงานอีกครั้ง ลดการฟ่อลีบของกล้ามเนื้อเมื่อไม่ได้ใช้งาน
https://www.firstphysioclinics.com/article/190/ตอนที่-189-กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก-bell’s-palsy
- การกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยการนวด เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้ทำงานนานๆ จะเกิดการแข็งเกร็ง เราจึงนวดเพื่อลดการแข็งเกร็ง และกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาท
https://www.firstphysioclinics.com/article/190/ตอนที่-189-กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก-bell’s-palsy
-การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อให้มีกำลังกล้ามเนื้อมากขึ้น ลดการฟ่อลีบ และกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานอีกครั้งค่ะ
โดยการออกกำลังกายใบหน้า เราจะให้คนไข้มองตัวเองที่หน้ากระจก เพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเริ่มแรกให้ใช้มือช่วยในการออกกำลังกาย ถ้าเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวมากขึ้นค่อยๆลดการช่วยลง ทำท่าละ 20 ครั้ง 3 รอบ/วัน
https://www.firstphysioclinics.com/article/190/ตอนที่-189-กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก-bell’s-palsy
ท่าที่ 1 ให้ฝึกยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง
ท่าที่ 2 ให้ฝึกขมวดคิ้วเข้าหากัน
ท่าที่ 3 ให้ฝึกย่นจมูก
ท่าที่ 4 ให้ฝึกหลับตาหลับตาปี๋
ท่าที่ 5 ให้ฝึกทำจมูกบาน
ท่าที่ 6 ให้ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก
6
ท่าที่ 7 ให้ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้น
ท่าที่ 8 ให้ฝึกทำปากจู๋
ระยะเวลาในการรักษา ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการมากหรือน้อยค่ะ และที่สำคัญขึ้นอยู่กับความขยันในการออกกำลังกายของคนไข้เองค่ะ
ส่วนการป้องกันนั้น เราเชื่อว่าไวรัสจะเข้ามาในร่างกายเราตอนที่เราอ่อนแอ ดังนั้น เราควรทำให้ร่างกายของเรามีภูมิต้านทานที่แข็งแรงค่ะ
Reference:
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article
https://www.firstphysioclinics.com/article/190/ตอนที่-189-กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก-bell’s-palsy
5 บันทึก
13
8
8
5
13
8
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย