Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รีหวิว
•
ติดตาม
13 ก.พ. 2021 เวลา 14:42 • ความคิดเห็น
"ไอ้ต้าวความรัก❤️🥰😍"
ความรักคืออะไร?
คำถามจากเพื่อนหลายคนที่อยากได้คำนิยาม
บางคนก็ว่า
รักคือการให้..
รักคือการเสียสละ...
รักคือการให้อภัย.. ..
รักคือการประนีประนอม...
รักคืออะไรเยอะแยะไปหมด......
ไม่ใช่ค่ะ... ไม่ใช่ทั้งหมดนั่นแหละ
เคยได้ยินคำว่า.. เคมีตรงกันไหมคะ?
ใช่ค่ะ!!...ความรักมันคือความสัมพันธ์เคมีในร่างกาย
เป็นความปรารถนาในการสืบพันธุ์
เป็นความสัมพันธ์ที่มีแรงขับมาจากพื้นฐาน
ในการดำรงอยู่ต่อไปของสิ่งมีชีวิต.......
เอ้า.... ไม่โรแมนติกเลย 😅😅😅
ภาพจาก nsm.or.th
ก่อนที่จะเริ่มเกิดความรู้สึกรัก
จะมีสารเคมีชนิดหนึ่ง
ที่เป็นตัวนำพาให้เราเกิดความรัก นั่นคือ ฟีโรโมน
ฟีโรโมน เป็นสารเคมี
ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม
ฟีโรโมนไม่สามารถสัมผัสได้จากการสูดดม 👃
แต่สามารถรับรู้ได้จากสมอง 🧠
ซึ่งคนที่จะได้รับกลิ่นนี้ได้
ต้องมีฟีโรโมนตรงกับเราเท่านั้น
**หลับตาดม... วนไปค่ะ 😂😂
1
เฮเลน ฟิเชอร์
นักมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยรัตเกอร์
รัฐนิวเจอร์ซีย์ ได้แบ่งความรักออกเป็น 3 ระดับ คือ ความใคร่ (Lust)
ความเสน่หา(Attraction)
และความผูกพัน (Attachment)
1
==ความใคร่==
เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดความหลงใหล
และเกิดแรงขับทางเพศ
ร่างกายจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง)
และเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย)
ทำให้รู้สึกเขินเวลา มองตากัน
หรือได้เจอกันแล้วเกิดอาการตื่นเต้น หัวใจเต้นแรง
==ความเสน่หา ==
เป็นช่วงเวลาแห่งการตกหลุมรัก
มีอาการเพ้อและคิดถึงคนรักตลอดเวลา
อาการที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จะถูกควบคุมโดยสารสื่อประสาทกลุ่มที่เรียกว่า
โมโนอะมิเนส (Monoamines) 3 ชนิด คือ
โดพามีน (Dopamine) สารแห่งความสุขและความพึงพอใจที่หลั่งออกมา เมื่อร่างกายเราได้รับสิ่งที่เราปรารถนา
ฮอร์โมนเอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรงเมื่อได้พบกับใครสักคนที่เรารัก
1
เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารชีวเคมี
ที่สำคัญต่อกลไลการตกหลุมรัก
ส่งผลต่ออารมณ์และการแสดงออก
ในขณะที่สมองหลั่งเซโรโทนิน
เราอาจแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาแบบไม่รู้ตัว ในขณะที่เรารู้สึกรักใครสักคน
ความรัก.. ที่มีทั้งรัก ทั้งซึ้ง ทั้งเหงารวมอยู่ด้วยกันก็เกิดจากสารเซโรโทนินนั่นเอง.....
==ความผูกพัน==
ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนสำคัญ 2 ชนิด คือ
ออกซีโทซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้จิตใจสงบ ปลอดภัย คลายเครียด
โดยออกซิโทซินจะหลั่งออกมา
เมื่อเรามี การกอด การสัมผัส หรือใกล้ชิดกัน
ให้เกิดความรัก ความผูกพัน
และความเชื่อใจซึ่งกันและกันขึ้น
ฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (Vasopressin) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คู่รักนั้นมีความรู้สึกผูกพันกัน
ยาวนานมากขึ้น
โดยสมองจะหลั่งสารวาโซเพรสซินออกมา
หลังจากมีความสัมพันธ์กันของคู่รัก
เป็น ฮอร์โมนที่ทำให้มีความรู้สึกผูกพันหวงแหน
อยากดูแลและปกป้องคนรัก นั่นเอง....
อาการคลั่งรัก......หรือตกหลุมรัก
มันคือปฏิกิริยาทางเคมี.....
เราไม่ได้คลั่งเพราะตัวเราเป็นคนแบบนั้นนะ....
ที่เราเป็นแบบนี้เพราะปฏิกิริยาทางเคมีล้วนๆเลย
❤️😍🥰
Happy valentine.... นะคะทุกคน
ขอให้ปฏิกิริยาทางเคมีของทุกคนได้ทำงานค่ะ
1
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/3481-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81.html
20 บันทึก
35
64
26
20
35
64
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย