13 ก.พ. 2021 เวลา 15:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สรุปเนื้อหาจากคอร์สยอดนิยมแห่งปี 2020 บน Coursera
"Learning How to Learn" วิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ! ตอนเดียวจบ
1
คอร์สนี้เป็นอันดับที่ 5 ในการจัดอันดับ 2020’s Most Popular Courses ของ Coursera เลยทีเดียว มีคน Enrolled ไปแล้วกว่า 2.7 ล้านคน มีคนรีวิว 71k+ และมี Rating เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8/5.0 👍
มีชื่อเต็มๆ ว่า Learning How to Learn: Powerful mental tools to help you master tough subjects 👍
สอนโดยอาจารย์สองท่าน
1. Dr. Barbara Oakley
Dr. Barbara Oakley
2. Dr.Terry Sejnowski
Dr.Terry Sejnowski
📌 COURSE OVERVIEW
คอร์สนี้เหมาะกับใคร ?
เหมาะกับทุกคน ปกติแล้วทุกคนมีการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่ตลอด คอร์สนี้ทำให้เรารู้วิธีที่จะเรียนรู้ได้มากขึ้น จำได้ดีขึ้น และการนำความรู้ในสมองออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (น่าสนใจมั้ย)
ก่อนที่จะไปดูกันว่าจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นได้ยังไง มารู้กันก่อนว่า 5 ข้อ เบื้องต้นที่ควรรู้มีอะไรบ้าง
📍 1. HOW BRAIN WORKS ?
มาเริ่มกันด้วยการทำงานของสมอง Dr.Terry บอกว่า สมองมีน้ำหนักประมาณ 1.36 กิโลกรัม แต่มันใช้พลังงานมากกว่าร่างกายส่วนอื่นๆ มันเป็นสิ่งที่ซับซ้อนที่สุดในจักรวาล !!! ทุกความคิด ทุกความหวัง และทุกความกลัวอยู่ในเซลล์ประสาท (นิวรอน) ในสมอง
ในสมองของเรามีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท (synapse) เป็นพันล้านๆ ซึ่งเก็บความทรงจำเอาไว้ เราสามารถเพิ่มความแข็งแรงของการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทด้วยการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงของ synapse ภายใน 24 ชม. from Learning how to learn
ลองดูภาพการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ไซแนปส์ (synapse) มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา มีทั้งเกิดขึ้นใหม่และตายไป นั่นทำให้เกิดคำถามว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ความทรงจำจะคงอยู่หลายปีได้อย่างไร?
เส้นขาวๆ ในภาพ แสดงให้เห็นแขนงประสาทของเซลล์ประสาท (dendritic branch) ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากเซลล์ประสาทอื่นๆ ส่วนบริเวณที่มีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทคือบริเวณที่เป็นปุ่มเล็กๆ
ภาพที่อยู่ด้านบน (Pre-training) คือภาพก่อนหน้าที่จะมีการเรียนรู้ ส่วนภาพด้านล่าง (24 h post-training) คือแขนงประสาทเดิมหลังจากมีการเรียนรู้และนอนหลับไปหลังจากผ่านไป 24 ชม. สังเกตดูจะมีการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทใหม่เกิดขึ้น บริเวณที่เป็นลูกศรสีขาวชี้ในภาพด้านล่าง
สรุปก็คือออออ หลังจากนอนหลับข้ามคืน หรือแค่งีบหลับ เราก็ไม่ใช่คนเดิมอีกแล้วเมื่อตื่นมา เหมือนเรานอนหลับไปด้วยสมองอันเก่า และตื่นมาด้วยสมองที่ได้รับการอัพเกรด อย่างกับไซบอร์กเลย
📍 2. FOCUSED VS DIFFUSE THINKING
Focused vs Diffuse Thinking
หลายคนอาจไม่ทราบว่าความคิดของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็น Focused Thinking (ความคิดแบบจดจ่อ) และ Diffuse Thinking (ความคิดแบบกระจาย)
🔎 Focused
เราทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี เวลาเราโฟกัสไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเวลาที่เราเรียนหรือพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งใหม่ๆ เป็นการเรียนรู้เชิงลึก
🏃🏼‍♂️ Diffuse
เป็นรูปแบบการคิดที่ Relax กว่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทดลอง Neural Resting State หรือภาวะการพักผ่อนของสมอง เป็นการคิดแบบโดยดูหลักการแบบกว้างๆ
📍 3. PROCRASTINATION
Photo by Leonardo Baldissara on Unsplash
ภาษาไทยเรียกว่า การผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อเรากำลังทำสิ่งที่สมองไม่อยากทำ เหมือนเป็นการทรมานสมอง สมองจะสั่งการให้เราสนใจอยากทำสิ่งอื่นที่สนุกกว่า นักวิจัยพบว่าไม่นานหลังจากที่เราเริ่มทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ความสบายของเซลล์ประสาทในสมองจะเริ่มหายไป
เช่น สมมุติว่าเราเรียนออนไลน์ในคอร์สที่ยากกกก สมองเลยสั่งให้เราสลับไปเล่น Facebook, Youtube หรือแชทกับเพื่อนๆ แทนเพราะมัน Happy กว่า เราสามารถสู้กับ Procrastination ได้ด้วยเทคนิคง่ายๆ อย่าง Pomodoro (เดี๋ยวมีอธิบายด้านล่างจ้า)
2
📍 4. MEMORY
💬 Long Term Memory
เกิดจากการฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน เช่น การจำสูตร Stats, SQL, Excel เปรียบเสมือนโกดังเก็บของขนาดใหญ่ ที่จะถูกเก็บกระจายอยู่ในหลายๆ ส่วนของสมอง ซึ่งมันยากมากที่จะดึงออกมาใช้ได้แบบครบถ้วนถ้าหากเราไม่มีการฝึกฝน
เวลาที่เราเรียน Fundamentals และ Techniques ต่างๆ ที่สำคัญในครั้งแรก มันจะถูกเก็บใน Working Memory ก่อน เมื่อผ่านการฝึกฝนหรือทำซ้ำถึงจะค่อยเปลี่ยนเป็น Long Term Memory
💬 Working Memory
เหมือน RAM ที่เป็นข้อมูลระยะสั้นเพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์เฉพาะหน้า นักวิจัยบอกว่าเราจะเก็บได้ประมาณ 7 items หรือ Chunks แต่เอาจริงแล้วที่เชื่อกันว่า working memory จะเก็บข้อมูลได้ประมาณ 4 Chunks
📍 5. CHUNKS
เป็นกลุ่มก้อนทางความคิด ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลแต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน กลุ่มก้อนแห่งความคิดจะช่วยเราให้จดจำได้ง่ายขึ้น และยังถูกเชื่อมเข้ากับสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ได้ง่ายขึ้นหากเนื้อหานั้นมีความคล้ายคลึงกัน เช่น การที่มี Chunk ของ IF formula ใน excel เมื่อเรากำลังเรียน CASE WHEN ใน SQL ก็จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นนนน Chunk เหมือนกับกล่องเก็บความรู้เรื่องต่างๆ เช่น Chunk ของการจำท่าเต้น, Chunk ของสูตรคูณ, Chunk ของการจำเส้นทางไปทำงาน เป็นต้น
Chunk สามารถรวมกันหลายๆ ก้อน แล้วกลายเป็น Chunk ใหญ่ อันเดียวได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น
การใช้ Google Maps สมมุติว่าเราย้ายไปทำงานที่บริษัทใหม่ ในครั้งแรกเมื่อเราใช้นำทาง ระหว่างที่ขับเราก็จะต้องมองซ้ายมองขวาตลอด ว่าเอ๊ะ เราจะเลี้ยวแยกไหนกันแน่ วันต่อมาเราอาจใช้นำทางแค่ประมาณครึ่งทาง จากนั้นเราก็จะปิดระบบนำทางเพราะจำได้แล้ว พอวันต่อๆ ไปก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Google Maps นำทางแล้ว นั่นหมายความว่า Chunk นี้ถูกขยายขึ้นเรียบร้อยแล้ว !!
✏️ การที่เราจำทุกๆ อย่างโดยที่ไม่รู้ถึงบริบทจะไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งนั้น หรือวิธีการที่แนวคิดต่างๆ ทำงานร่วมกับแนวคิดที่เรากำลังเรียนอยู่
ขั้นตอนเบื้องต้นในการสร้าง Chunk
Focused Attention, Understanding, Practice
🔔 Focus
ตั้งสมาธิจดจ่ออยู่ที่ข้อมูลที่ต้องการนำมาสร้าง Chunk หากต้องค่อยไถมือถือ เชคเฟสบุค อยู่เรื่อยๆ มันจะทำให้สร้าง Chunk ได้ยากขึ้น เพราะสมองจะไม่ได้จดจ่อกับเนื้อหาใหม่ๆ อย่างแท้จริง เมื่อเริ่มเรียนรู้อะไรบางอย่าง เรากำลังสร้างรูปแบบใหม่ๆ ในระบบประสาทและเชื่อมต่อมันเข้ากับรูปแบบเก่าที่อยู่กระจายในหลายตำแหน่งของสมอง (เหมือน RAM น้อยแต่อยากทำเยอะสิ่ง)
🔔 Understand
เราควรเข้าใจไอเดียพื้นฐานของสิ่งที่เราต้องการสร้าง Chunk เช่น หลักการอุปสงค์อุปทานของเศรษฐศาสตร์ หรือการเข้าใจแก่นแท้ของสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งปกติเรามักจะสรุปเนื้อหาเป็นการเข้าใจแนวคิดหลักได้อยู่แล้ว เพื่อจะให้เข้าใจส่วนนี้ เราต้องปล่อยให้สมองทั้งส่วน Focused และ Diffuse ได้ทำงานเต็มที่เพื่อช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น
🔔 Practice
Practice Makes Permanent !! เช่น การที่เราเข้าใจอะไรครั้งแรก เราจะวาด Pattern ในสมองขึ้นมาคร่าวๆ ถ้าเราลองเริ่มเข้าใจสิ่งนั้นซ้ำอีกรอบ สมองจะวาด Pattern ใหม่ที่ชัดมากยิ่งขึ้น และเมื่อปัญหานั้นเริ่มคลี่คลายลงเรามีเวลาที่จะลงลึกถึงการแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอนได้ชัดเจนขึ้น เหมือนเป็นการฝึกหลายครั้ง Pattern ก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นมากกว่าเดิม
เราจะสามารถสร้าง Chunk แบบไม่มี Understand ได้ไหม ?? จริงๆ ก็ได้นะ แต่มันจะเป็น Chunk ที่ไม่มีประโยชน์ เพราะมันไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้ เป็น Chunk การจำที่ตายตัวอยู่แค่นั้น ไม่สามารถเชื่อมโยงกับ Chunk อื่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันได้ เพราะเราไม่เข้าใจมัน
มีหลายคนที่เข้าใจตอนฟังอาจารย์ในห้องเรียน แต่พอไม่ทบทวนแค่เพียงไม่นานหลังจากเรียน กลับไม่รู้เรื่องเลยตอนเตรียมตัวสอบ Practice make permanent ! เราต้องลงมือทำด้วยตัวเองเท่านั้นถึงจะช่วยสร้างระบบประสาทที่เป็นพื้นฐานของความชำนาญที่แท้จริงได้
💪🏻 Learning something difficult can takes time
Photo by Jesper Aggergaard on Unsplash
สมมุติว่าเรามีแข่งยกน้ำหนักเดือนหน้า เราคงไม่วางแผนรอจนถึงวันก่อนแข่งและใช้เวลาทั้งวันออกกำลังกายเหมือนปีศาจ เพราะกล้ามเนื้อไม่ได้เกิดขึ้นแบบนั้น. โครงสร้างของกล้ามเนื้อต้องทำงานทีละเล็กละน้อยทุกวัน เพื่อค่อยๆ ปล่อยให้กล้ามเนื้อเติบโต เช่นเดียวกับการสร้างโครงสร้างประสาท เราก็ต้องปล่อยให้มันทำงานทุกวันทีละเล็กละน้อย !!
เอาล่ะ มาถึงเนื้อหาจริงๆ กันแล้ว
🧑🏻‍🚀 เราจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นได้ยังไง ??
ขอยกตัวอย่างเทคนิคที่น่าสนใจที่อยู่ในคอร์สนี้
1. Sleep 🛌
Photo by Kate Stone Matheson on Unsplash
การนอน !! ฟังดูเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา แต่ก็อย่างที่ทุกคนได้เห็นการทำงานของสมอง ตัวเซลล์ประสาทจะเติบโตในขณะที่เรานอนหลับ เพื่อทำการอัพเกรดให้เรากลายเป็นคนใหม่เมื่อตื่นขึ้นในวันถัดไป ลองมาดูผลการวิจัยเรื่องสมองในย่อหน้าถัดไป
ผลวิจัยพบว่าเมื่อสมองเราทำงานในช่วงที่เราตื่น เหมือนเป็นการสร้างสารพิษให้สมอง เซลล์สมองจะหดตัวลงและสารพิษจะแทรกเข้าไปในช่องว่างของสมอง เมื่อเรานอนหลับเหมือนกับการเปิดประตูเขื่อนใหญ่ๆ เพื่อปล่อยให้น้ำชะล้างสารพิษออกไป เพื่อคืนความสะอาดและสดชื่นให้กับสมอง
การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่ล้างสารพิษในสมองเท่านั้น ที่จริงแล้วมันเป็นส่วนสำคัญของความจำและกระบวนการเรียนรู้ เพราะการนอนจะช่วยให้เราลบสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากความจำของเราด้วย อารมณ์เหมือน clear cache ในคอมพิวเตอร์ และทำให้เราจำสิ่งที่สมองเหลือไว้ได้แม่นขึ้นด้วย
2. Focused and Diffuse mode 🧘‍♂️🤸‍♀️
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการสลับไปมาระหว่าง Focused และ Diffuse หลายๆ คนจะมีช่วงเวลาที่สมองใช้ Diffuse Thinking อาจจะเป็นตอนอาบน้ำหรือตอนกินข้าว มันเป็นเวลาที่คล้ายกับเรากำลังเปิด auto-pilot mode ในช่วงนั้นอาจมีความคิดบางอย่างผุดขึ้นมาโดยที่เราไม่ได้คิดล่วงหน้า จากนั้นก็เอาความคิดนั้นมาต่อยอดเป็น Focused Thinking
นักประสาทวิทยาวิจัยมาแล้วว่าเราไม่สามารถอยู่ในการคิดแบบ Focused Mode หรือ Diffuse Mode ได้พร้อมกัน มันเหมือนเหรียญเราสามารถเห็นด้านใดด้านหนึ่งหรือด้านอื่น ๆ ของเหรียญ แต่ไม่ใช่ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน
3. Pomodoro Technique ⏱
Pomodoro Technique
มีที่มาจากหนังสือ The Pomodoro Technique เขียนโดย Francesco Cirillo นักวิชาการชาวอิตาลี ซึ่งเป็นหนังสือขายดีตลอดกาล ได้รับการพิมพ์ซ้ำบ่อยๆ
เป็นเทคนิคที่เอาไว้ต่อสู้กับการผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination) ที่ได้อธิบายไว้แล้วด้านบน ลองมาดูวิธีการใช้เทคนิคนี้กัน
* ตัดสิ่งรบกวนออก เช่น ปิดมือถือ, log out facebook หรือหาที่เงียบๆ อยู่
* แบ่งเวลา 25 นาที จากนั้นใช้ Focused mode เพื่อตั้งใจทำสิ่งนั้น
* พัก Relax 5 นาที → Social Network หรือทำสิ่งที่ผ่อนคลาย
* ทำแบบนี้ทั้งหมด 4 รอบ (25/5–25/5–25/5–25/5)
* พัก 30 นาที ให้สมองเข้าสู่ Diffuse mode
ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเป๊ะตามนี้ก็ได้ ประมาน 20–25 นาทีใน Focused mode ก็ถือว่ายากแล้ววว ขนาดตัว Dr.Barbara ก็ใช้แค่ 20–22 นาที
4. Recall
Photo by Ben White on Unsplash
ภาษาไทยเรียกว่า การระลึก เป็นการดึงความคิดที่เป็น keyword ออกมาจากความจำ ไม่ใช่แค่การอ่านซ้ำ มันจะช่วยให้เวลาที่เรียนมีสมาธิและประสิทธิผลมากขึ้น หลังจากอ่านหรือเรียนเนื้อหาส่วนนึงจบแล้ว ลองหันไปทางอื่นแล้วลองหลับตานึกดูว่าจำเนื้อหาอะไรจากที่เพิ่งอ่านได้บ้าง
1
มีการวิจัยออกมาแล้วว่าในระยะเวลาเท่ากัน การใช้เทคนิค Recall ทำให้ผู้เรียนจำเนื้อหาได้มากกว่าใช้วิธีการอ่านซ้ำไปซ้ำมา
5. Process NOT Product 📑
Process
การเคลื่อนผ่านของเวลา กิจวัตรและการกระทำที่เกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ผ่านไป ถ้าพูดกันแบบภาษาคน มันก็คือกระบวนการที่จะทำสิ่งๆ หนึ่ง เช่น หากเราต้องการนั่งเรียนออนไลน์ให้จบ ควรจะโฟกัสว่าจะเรียนแบบไหน ชงกาแฟอะไรมาดื่มระหว่างเรียน
Product
ผลงานที่ได้ เช่น เรียนคอร์สออนไลน์ให้จบ ความท้าทายคือ หลีกเลี่ยงการจดจ่อกับ ผลที่ได้ เพราะมันเป็นตัวกระตุ้นความทรมานของสมองที่ทำให้เกิด Procrastination
Process NOT Product วิธีนี้ เราได้ปลดปล่อยตัวเองให้ถอยหลังออกมา และไม่จดจ่อว่าฉันทำใกล้เสร็จแล้วหรือยัง
6. Spaced Repetition ♻️
เรียนรู้ซ้ำๆ โดยมีการเว้นระยะ เช่น การที่คอร์สออนไลน์ส่วนใหญ่ แบ่งเป็นหลายๆ Part เราก็ควรจะเรียนทีละ Part เช่น วันหรือสัปดาห์ละ Part เพื่อเว้นระยะให้สมองได้จดจำและผลักสิ่งที่เราเรียนรู้เข้าสู่ Long Term Memory
เหมือนกับการก่ออิฐสร้างกำแพง ถ้าเราไม่ทิ้งเวลาให้ปูนที่ฉาบอิฐในชั้นก่อนหน้ามันแห้ง แล้วก่ออิฐทับขึ้นไปเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วกำแพงก็จะพัง เพราะไม่มีโครงสร้างที่ดี
1
7. Deliberate Practice 🏔
เป็นการฝึกในเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สมองพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น (อัพเกรดดดด !!) เช่น การเริ่มเรียน Excel
* เรียนสูตร SUM
* เรียนการเขียน IF
* เรียนการใช้ Conditional Formatting
* เรียนการใช้ Pivot Table
* เรียนการสร้าง Chart ต่างๆ
Dr.Barbara บอกว่าแทนที่เรียนสิ่งเดิมซ้ำๆ พยายามจดจ่อกับสิ่งที่คิดว่ายาก การจดจ่อกับเนื้อหาที่ยาก เป็นสิ่งที่แยกนักเรียนดีและนักเรียนที่ยอดเยี่ยม !!
8. Interleaving 🤹
การเรียนรู้แบบผสมผสาน เช่น การออกกำลังกาย เราอาจวางแผนสลับไปมาระหว่าง วิ่ง ว่ายน้ำ เข้าฟิตเนส ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือการทำสิ่งเดียวกัน การทำแบบนี้จะทำให้เราเรียนรู้ได้แบบไม่เบื่อหน่ายและสนุกกับมันมากขึ้น เพราะเราเป็นคนเลือกกิจกรรมต่างๆ เอง ไม่ได้โดนเทรนเนอร์บังคับให้ทำ
9. Exercise 🏃
Dr.Terry บอกว่า จากการวิจัยของนักประสาทวิทยา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้เซลล์ประสาทที่เกิดใหม่มีสุขภาพแข็งแรง ตายยากกกกก การออกกำลังกายตอนเช้าจึงเหมือนเป็นการบำรุงสมองไปในตัวด้วย (ฮือ ถึงว่าสมองเหมือนไม่เคยถูกบำรุงเลย)
📌 ข้อควรระวังในการเรียนรู้ !!
ILLUSION OF COMPETENCE IN LEARNING
Overlearning 💣
เมื่อเข้าใจพื้นฐานระหว่างเรียน การทวนซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่ทำให้ Long Term Memory แข็งแรงขึ้น ที่แย่ไปกว่านั้น การจดจ่ออยู่กับเทคนิคเดียว ก็เหมือนช่างไม้ที่เรียนงานไม้โดยฝึกใช้ค้อนอย่างเดียว พอเวลาผ่านไปจะนึกเอาเองว่าซ่อมทุกอย่างได้ด้วยการทุบไปเรื่อยๆ
Text Highlight 🖌
การเน้นข้อความและขีดเส้นใต้ ต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว อาจทำให้เข้าใจผิด ว่าการที่เราใช้มือขยับเพื่อเน้นข้อความนั้น หมายถึงว่าเราเอาแนวคิดนั้นใส่สมองแล้ว
วิธีการที่ช่วยให้เราเรียนรู้และหยุดหลอกตัวเองด้วยภาพลวงของความสำเร็จในการเรียนรู้ คือ การทดสอบตัวเองด้วยเนื้อหาอะไรก็ตามที่เรียนรู้อยู่ (Recall) นั่นเอง ทำให้เห็นว่าเข้าใจเนื้อหาจริงหรือไม่
📌 Course Summary
สมองของเราไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้งาน เราจึงต้องเรียนรู้ละเขียนคู่มือขึ้นมาความจริงคือ เราเป็นผู้ควบคุมการเรียนรู้ของตัวเอง เมื่อเข้าใจสมองของตัวเองมากขึ้นก็สามารถใช้ความเข้าใจนี้ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้
เราจะเรียนรู้บางอย่างอย่างแท้จริง ต่อเมื่อเราสอนมันให้คนอื่นได้ แล้วจะพบว่า ความรู้นั้นจะสะท้อนและฝังลึก ลงในสมองของเราเอง
อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเรียนรู้นั่นก็คือ
2
📌 What Motivates You ?
การที่เราจะเรียนรู้สิ่งๆ นั้น เราควรรู้ว่าเรียนไปทำไม เพื่ออะไร เมื่อก่อนมีคนคนนึงเคยถามคำถามว่า อยากจะเป็น Data Scientist ไปเพื่ออะไร ก็เลยตอบเค้าไปว่าอยากสร้าง Impact ให้องค์กร โดยการหา Insights จากข้อมูลที่มี ตอนนั้นเราก็คิดว่ามันเท่โคตรๆ แล้วนะ
แต่สิ่งที่ได้ยินต่อมาก็คือ เป้าหมายนั้นมันเล็กไป แรงผลักดันที่มีควรใหญ่กว่านั้น มันไม่พอที่จะทำให้เราเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ไปได้ตลอด ก็เลยทำเพจ Malonglearn ขึ้นมา เพื่อแชร์ความรู้ที่ได้จากการเรียนออนไลน์ ทำให้มีแรงผลักดันที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ มาเขียนให้คนอื่นได้ลองอ่านดูบ้าง อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ต่อสังคม โคตรเท่
สุดท้ายนี้อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ลองเข้าไปเรียนคอร์สเต็มใน Coursera กัน
จะได้มีใบ Certificate เท่ๆ แบบเน้ และ Dr.Barbara และ Dr.Terry ยังมีเทคนิคที่น่าสนใจอีกมากที่อยู่ในคอร์สนี้
ขอบคุณ Dr.Barbara Oakley และ Dr.Terry Sejnowski มากคร้าบบบบบ
1
โฆษณา