15 ก.พ. 2021 เวลา 01:30
ยังไม่ทันเคลียร์กองงานที่ดองไว้ตั้งแต่หยุดยาว แต่พอพ้นปีใหม่มางานก็ถาโถมเข้ามาไม่หยุด
1
ไม่รู้จะจัดการยังไงดี ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อน ทำอะไรไม่ทันแล้ว!
ใครที่กำลังแพนิก เราขอให้ใจเย็นๆ ก่อน เพราะถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นงานของเรา แต่ก็ใช่ว่าแต่ละงานจะมีความสำคัญเท่ากัน
วันนี้ Career Fact ขอนำเสนอเทคนิคบริหารเวลาตามหลักการของ Eisenhower ที่จะช่วยให้เราจัดลำดับงานจากความสำคัญและความเร่งด่วน จนสามารถทำงานทุกอย่างได้สำเร็จลุล่วงโดยไม่มีอะไรตกหล่น
#Eisenhowerคือใคร?
.
Eisenhower หรือ Dwight D. Eisenhower เป็นอดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 34 แน่นอนว่าการเป็นถึงผู้บริหารระดับประเทศย่อมมีเรื่องมากมายที่ต้องตัดสินใจ
แต่ใช่ว่าทุกเรื่องจะสำคัญเท่ากัน เขาจึงคิดค้นหลักการ Eisenhower’s Urgent/Important Principle ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารเวลาและจัดการแต่ละงานแต่ละชิ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Dr J. Roscoe Miller อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นที่เคยกล่าวไว้ว่า
“ชีวิตของคนเราเผชิญปัญหาแค่ 2 แบบคือปัญหาที่สำคัญกับปัญหาที่เร่งด่วน”
#The_Eisenhower_Matrix – Urgent vs. Important
Eisenhower ได้แบ่งตารางออกเป็น 4 ช่อง หรือ 4 Quadrants โดยเป็นการสร้าง Matrix ระหว่างงานที่เร่งด่วน (Urgent) และงานที่สำคัญ (Important) โดยทั้ง 4 Quadrants ได้แก่
Quadrant 1: สำคัญและเร่งด่วน (Urgent & Important)
Quadrant 2: สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important & Not Urgent)
Quadrant 3: ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Urgent & Not Important)
Quadrant 4: ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน (Not Urgent & Not Important)
#Q1สำคัญและเร่งด่วน (Urgent & Important)
งานในช่อง Q1 นี้ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ต้องทำให้เสร็จยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าหากทำไม่เสร็จชีวิตการทำงานจะมีปัญหา ลองนึกภาพช่องนี้เป็นไฟที่กำลังลุกไหม้ ถ้าหากเราไม่สามารถควบคุมได้ทันเวลาไฟก็จะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน งานที่อยู่ช่องนี้คืองานที่หากเราทำไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนด ก็จะส่งผลทำให้งานอื่นๆ ในตารางรวนเป็น Domino Effect ได้
#Q2สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important & Not Urgent)
สำหรับ Q2 เป็นงานที่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะและควรให้ความสำคัญไม่แพ้กับ Q1 มักจะเกิดขึ้นสำหรับงานที่วางแผนมาแล้ว ดังนั้นเราควรพยายามทำให้เสร็จตามแผนที่วางไว้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลายเป็น Q1 เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นดินพอกหางหมู จะต้องใช้พลังงานเยอะขึ้น เหนื่อยมากขึ้น ทำให้เกิดการ Burnout ตามมา
ในที่สุด
#Q3ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Urgent & Not Important)
งานประเภท Q3 นี้ส่วนใหญ่มักเป็นงานที่ถูกแทรกมากะทันหันโดยที่เราไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยเฉพาะงานที่ไม่ได้เกี่ยวกับเราโดยตรง งานประเภทนี้มักมีเยอะในมนุษย์ขี้เกรงใจหรือมนุษย์ “ได้ค่ะ/ครับ” วิธีที่รับมือกับงานนี้คือต้องคิดดูให้ดีว่าเราสามารถทำงานนี้ได้ดีหรือไม่
ถ้าหากมีคนทำได้ดีกว่าอาจจะขอความช่วยเหลือหรือมอบหมายงานนี้ให้เขา เพื่อที่จะได้ทำงานให้สำเร็จเร็วขึ้นและเราจะได้มีเวลาโฟกัสงานส่วนตัวมากขึ้น หรือถ้าหากฝากไม่ได้ให้เลื่อนเวลาทำแทนหรือปฏิเสธไปเลย
#Q4ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน (Not Urgent & Not Important)
สุดท้าย ช่อง Q4 มักจะเป็นสิ่งที่เราอยากทำเฉยๆ ไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายใดๆ และอาจทำให้เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเลือกที่จะไม่ทำจะดีกว่า หรือถ้าเราอยากทำจริงๆ ลองหาเหตุผลหรือคุณค่าว่าทำไมถึงอยากทำแล้วเราจะได้อะไรจากสิ่งนี้ แล้วทำงานนี้ในเวลาว่างที่ยังเหลืออยู่
Eisenhower’s Urgent/Important Principle ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เรียบง่าย สามารถใช้ได้ตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา คนทำงานทุกระดับ และสามารถใช้ได้ทุกวัน แต่เห็นผลเร็ว
ถ้าคุณจัดการเวลาได้ดีเท่าไหร่ คุณก็จะจัดการชีวิตของคุณได้ดีเท่านั้น
Using Time Effectively, Not Just Efficiently!
1
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
#careerfact
………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
โฆษณา