13 ก.พ. 2021 เวลา 17:11 • ไลฟ์สไตล์
"การครุ่นคิด" ลดพลังสมาธิ
มนุษย์อย่างเรานั้นคิดกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยปกติเราเข้าใจกันว่าการคิดและใคร่ครวญเป็นลักษณะเฉพาะที่ดีของมนุษย์ ทั้งคำพูดที่ว่า มนุษย์คิดต่างจากสัตว์ดังนั้นมนุษย์จึงยิ่งใหญ่ แต่ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือ...?
1
เพราะการคิดไม่ใช่หรือ ที่ทำให้สมาธิของเราต่ำลง ทำให้หงุดหงิดและยังทำให้สับสน เราเรียกอาการนั้นว่า "โรคความคิด"
มีคำพูดที่พูดกันว่า คนสมัยนี้ไม่ค่อยรับฟังความคิดของผู้อื่น หลายคนคงเคยมีประสบการณ์โกรธเวลาอยากให้คนอื่นฟังเรื่องของตัวเอง แต่อีกฝ่ายไม่ฟัง
2
เมื่อเริ่มปรึกษาปัญหาความทุกข์ ก็อาจจะเกิดความคิดต่างๆที่ไม่จำเป็นขึ้นในใจ หรืออยากให้เขาคิดว่าเราเป็นคนดี น่ารัก เข้าใจเขา ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ยังดีที่ยังคิดถึงเรื่องของคู่สนทนาอยู่ แต่บางทีผู้ฟังก็ไขว้เขวฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น เช่น "อยากดื่มเบียร์" "จะไปร้านไหนต่อดี"
จิตเราเคลื่อยนไหวด้วยความเร็วสูง โดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีประมวลผลข้อมวล แล้วเคลื่อนไหวแบบชั่วพริบตาไปยังส่วนต่างๆภายในร่างกาย เช่น เมื่อจิตเคลื่อนไปยังประสาทตาก็เกิดการกระทำที่เรียกว่า "ดู" เมื่อจิตเคลื่อนไปยังประสาทหูก็เกิดการกระทำที่เรียกว่า "ฟัง"
ภายในชั่วพริบตาเกิดการประมวลผล " ฟัง -> ดู -> ฟัง -> คิด -> ฟัง -> ดู -> ฟัง "
แม้ตั้งใจจะ "ฟัง" เพียงอย่างเดียว แต่เราก็ผสมข้อมูลที่ไม่จำเป็นจำนวนมหาศาลลงไปในจังหวะที่ว่างนั้น
"สมาธิ" ของเราถูกทำลายด้วยเสียงรบกวนจำนวนมหาศาลที่เกิดแทรกขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย การกระทำที่มีอำนาจมากที่สุดเหนือการกระทำอื่นๆคือ "ความคิด" เมื่อเราคิดพึมพำและลืมระบบการทำงานอื่นๆไปหมด สติจะปิดการทำงานภายในระบบ "ความคิด" ได้
แต่เวลาที่ความคิดจมอยู่เต็มสมอง ระดับเสียงข้อมูลที่หลุดเข้ามาได้จะมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้น การที่เราจะรู้ว่าตอนนี้เสียงแบบไหนที่แทรกเข้ามาและเสียงนี้หมายความว่าอย่างไร เราจึงตอบไม่ได้ เพราะเราเอาพลังงานจำนวนมากไปใช้ในการ "คิด" อย่างไร้สติ
เวลาที่อยู่ในสถานการณ์ปกติ เราจะไม่ค่อยคิดโน่นคิดนี่ แต่เวลาที่สับสน ปริมาณความคิดและเวลาที่ใช้ในการคิดกลับเพิ่มขึ้น เช่น เดินจับมือกับคนรัก ตอนนั้นเกิดความรู้สึกทางกายว่าจับมืออยู่ แต่ในชั่วขณะถ้ามีความคิดอะไรเกิดขึ้นมา ความรู้สึกที่แท้จริงก็จะหายไปเลย
คนหนึ่งคิดเรื่องงาน อีกคนหนึ่งอาจกำลังคิดเรื่องของคนอื่นอยู่ ชั่วขณะนั้นแม้ผิวกายจะสัมผัสกัน แต่ก็เหมือนไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน เพราะทั้งสองคนต่างตกอยู่ในห้วงของความคิดของตนเอง #เฉียบ
โฆษณา