14 ก.พ. 2021 เวลา 09:07 • ไลฟ์สไตล์
ในช่วงเวลาปีใหม่ที่ผ่านมานี้ แต่ละคนก็ได้วางแผนลิสต์การเรียนรู้ใหม่ ๆ
หรือเรียกกันว่า New year's resolution แต่จนมาถึงวันนี้
ก็มีบางคนที่ยังไม่ได้เริ่มทำตามแผนที่วางเอาไว้
(ทางผู้เขียนบทความก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ) จนเกิดการผลัดวันประกันพรุ่ง
หรือ Procrastination ขึ้นมา
โดยสาเหตุก็เกิดมาได้จากหลายอย่าง หนึ่งสาเหตุที่มาจากผู้เขียนบทความ
ก็คือการที่เราไม่สามารถจัดการเวลาเพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่เราอยากเรียนได้
จนเกิดความสับสนว่าเราควรทำอะไรก่อน และควรจัดการอย่างไร
ทางผู้เขียนได้ไปอ่านมาจากบทความนึง ของ มาลองเรียน-Malonglearn
(ลิงก์บทความ - https://www.blockdit.com/articles/6027f2672719600bb9648c86 )
ที่เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และผมได้เจอวิธีการจัดการเวลานึงที่น่าสนใจ
โดยวิธีนั้น เรียกว่า Pomodoro Technique
วิธีนี้ถูกคิดค้นโดย Francesco Cirillo ชาวอิตาลี ในปี 1980
โดยคำว่า Pomodoro ในภาษาอิตาลีนั้นแปลว่า มะเขือเทศ
ซึ่งรูปทรงของนาฬิกาของเขาที่เอาไว้ใช้กับเทคนิคนี้คล้ายคลึงกับมะเขือเทศ จึงทำให้กลายเป็นชื่อของเทคนิคนี้นั่นเอง
โดยเทคนิคนี้จะมี 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1) ตั้งเวลา 25 นาที โดยในช่วงนี้
ให้เราศึกษาหรือเรียนรู้ตามสิ่งที่ตัวเองสนใจอย่างตั้งใจ (Focus on learning) และพักการทำสิ่งที่รบกวนต่อความตั้งใจของเรา เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือ
2) หลังจากหมดเวลาในช่วงของขั้นตอนแรกไปแล้ว ให้จับเวลา 5 นาที
ซึ่งเป็นเวลาพักผ่อน ในเวลานี้ก็สามารถพักเล่นโทรศัพท์
หรือทำในสิ่งที่ทำให้ตัวเองผ่อนคลายต่างๆ
3) ให้ทำขั้นตอนที่หนึ่งและสอง ซ้ำกัน 4 ครั้ง หลังจากนั้นก็เป็นการพักผ่อนยาว ประมาณ 15-30 นาทีได้เลย
ใช้เว็บไซต์นี้ในการจับเวลาตามเทคนิคนี้ได้เลยนะครับ - https://pomofocus.io/
และยังมี Application อีกมากมาย สามารถไปดูตาม Blog นี้ได้เลยครับ - https://medium.com/@hectormunozg/complete-guide-to-the-pomodoro-technique-613d05ef60ef
โดยเทคนิคนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ
1) จะทำให้มีพลัง และความกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นหลังจากพัก
2) ช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น เนื่องจากมีสมาธิในการทำงาน
3) ช่วยให้จัดการเวลาได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากสมองได้มีการพักผ่อน
4) ข้อนี้เป็นจุดเด่นของเทคนิคนี้เลยก็ว่าได้ ก็คือการที่ช่วยหลีกเลี่ยงการเกิด office syndrome เพราะเราจะไม่ต้องจดจ่อกับงานและนั่งติดอยู่ที่หน้าจออย่างเดียว
แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกัน
1) ทำให้เกิดความกดดัน เนื่องจากวิธีนี้จะมีการจับเวลาที่แน่ชัด
ทำให้เราเคร่งเรื่องเวลามากเกินไป
2) หลังจากช่วงพัก อาจจะทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องจากงานที่ทำค้างไว้
3) บางงานอาจจะกินเวลาเกิน 25 นาที ทำให้เวลาทำงานไม่พอ
ฉะนั้นเทคนิคนี้เหมาะกับการทำงานที่ยืดหยุ่น อย่างเช่น การอ่านหนังสือ อ่านบทความ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ไม่ได้รีบนำไปใช้ ณ เดี๋ยวนั้น
สำหรับผมแล้ว ผมก็ยังเป็นนักศึกษาอยู่ จึงอาจเหมาะกับเทคนิคนี้
ไว้ถ้าผมปฎิบัติตามเทคนิคนี้แล้วได้ผลลัพธ์มาเป็นอย่างไร ก็จะนำมาบอกเล่ากันนะครับ - CurioCity
โฆษณา