14 ก.พ. 2021 เวลา 09:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌20 คำศัพท์ที่ต้องรู้ ก่อนอ่าน Fact Sheet กองทุน📌
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอมาเสนอคำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนเปิดอ่าน Fact Sheet กองทุน จะได้ไม่งงเวลาไปเจอคำศัพท์พวกนี้ตอนอ่าน จริงๆ แล้วคำศัพท์หลายๆ ตัวในนี้ก็ไม่ได้อยู่แค่ใน Fact Sheet นะ เราจะได้ยินบ่อยในโลกของการลงทุนเลยแหละ..มาเริ่มกันเลย...🙂
1
1. Fund fact sheet - หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ เป็นสิ่งที่นักลงทุนในกองทุนรวมควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน
2. Active management – กลยุทธ์การลงทุนที่พยายามจะให้กองทุนมีผลตอบแทนมากกว่าดัชนีชี้วัด
3. Passive management - กลยุทธ์การลงทุนที่ต้องการให้กองทุนมีผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัด เช่น Index Fund
8
4. Share class - ชนิดหน่วยลงทุน ซึ่งกองทุนมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามความต้องการของผู้ลงทุน share class ที่เห็นกันบ่อยๆ คือ
(1) A-class เป็นกองทุนที่นำปันผลกลับไปลงทุนต่อให้ ซึ่งถือว่าเป็นกองสะสมมูลค่า (Accumulation) เช่น TMB50, KFGBRAND-A
(2) D-class เป็นกองที่จ่ายปันผล (Dividend) เช่น TMB50DV, KFGBRAND-D
3
5. Asset class - กลุ่มสินทรัพย์ลงทุน เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ สินค้าโภคภัณฑ์ และเงินตราต่างประเทศ
6. Feeder fund - กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองเดียว เช่น กอง KFACHINA-A
7. Master fund – กองทุนหลัก หรือกองทุนแม่ที่กองทุนรวมไปลงทุนอีกที
8. Fund of funds - กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศตั้งแต่ 2 กองขึ้นไป เช่น กอง K-CCTV
9. Hedging - การป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศจะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ผู้จัดการกองทุนอาจจะมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงค่าเงินทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งจะระบุสัดส่วนไว้ หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่ง Hedging จะเป็นแบบไหนนั้นจะมีการระบุไว้ในข้อมูลของกองทุน
10. Credit rating - อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ บ่งบอกถึงระดับความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งจะมีอันดับตั้งแต่ดีที่สุดคือ AAA ไปจนถึงแย่ที่สุดคือ D ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตยิ่งสูง ยิ่งดี เพราะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ Credit rating แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Investment grade และ Non-Investment grade เราจะเห็นข้อมูล Credit rating ในกองทุนรวมตราสารหนี้ว่ากองทุนนั้นไปลงทุนในตราสารหนี้ระดับใดบ้าง
1
11. Investment grade - เป็น Credit rating ที่อยู่ในระดับที่น่าลงทุน (AAA ถึง BBB-) ซึ่งกองทุนตราสารหนี้ส่วนมากจะเน้นลงทุนที่ระดับนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ
12. Non-investment grade - เป็น Credit rating ที่มีระดับน่าลงทุนต่ำ (BB+ ถึง D) หรือเรียกว่าเป็น Speculative grade, High yield หรือ Junk bond ก็ได้ บางกองทุนอาจจะมีการลงทุนในตราสารหนี้ระดับนี้บ้างเพื่อเพิ่มผลตอบแทน แต่ก็จะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มมาด้วยเช่นกัน
1
13. Risk spectrum - ระดับความเสี่ยงของกองทุนรวม ซึ่งจะมีตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 8+ ซึ่งเป็นความเสี่ยงระดับต่ำมากจนถึงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ
ระดับ 1 กองทุนรวมตลาดเงิน
ระดับ 2 กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
ระดับ 3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
ระดับ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้
ระดับ 5 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ระดับ 6 กองทุนรวมผสม
ระดับ 7 กองทุนรวมตราสารทุน
ระดับ 8 กองทุนที่ลงทุนเฉพาะเจาะจง หรือบางหมวดอุตสาหกรรม
ระดับ 8+ กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน
3
14. NAV - มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value) คือมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวมซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทุนได้รับและหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จริงๆ แล้วมันต่างจากราคา NAV ที่เราดูเวลาซื้อขายกองทุน เราเรียกย่อๆ ว่า NAV แต่จริงๆแล้ว ชื่อเต็มมันคือ NAV per unit ซึ่งคิดมาจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุน
1
15. Front-end fee - ค่าธรรมเนียมขาย (เราเสียค่าธรรมเนียมนี้ตอนซื้อ)
16. Back-end fee - ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (เราเสียค่าธรรมเนียมนี้ตอนขาย)
17. Benchmark - ดัชนี้ชี้วัด ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวม เช่น ถ้าเป็นกองทุนตราสารทุนก็จะเปรียบเทียบกับดัชนี SET TRI ถ้าหากเป็นกองทุนเลียนแบบดัชนี SET50 ก็จะเปรียบเทียบกับดัชนี SET50 TRI หรือถ้าหากเป็นกองทุนผสมก็จะเปรียบเทียบกับดัชนี SET TRI ร่วมกับดัชนีผลตอบแทนรวมสุทธิของพันธบัตรรัฐบาล
18. Standard deviation (SD)- ค่าความผันผวนของผลการดำเนินงาน ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี ถ้าหากมีกองทุนประเภทเดียวกันสองกองซึ่งมีผลตอบแทนเท่ากัน แต่กองใดที่มี SD ต่ำกว่า แสดงว่าเวลาที่ตลาดขึ้นแรงๆ หรือลงแรงๆกองทุนนั้นมีความผันผวนน้อยกว่า
19. Tracking error (TE) - ค่าที่บอกว่ากองทุนสามารถลงทุนให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัดมากน้อยเพียงใด ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี เพราะถือว่ากองทุนนั้นมีความสามารถลงทุนได้ใกล้เคียงกับดัชนีค่อนข้างมาก เราจะเห็นค่านี้แสดงอยู่ในกองทุนประเภท Index fund
20. Maximum draw down - ผลขาดทุนสะสมสูงสุดของกองทุนรวมที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลา 5 ปี หรือถ้ากองทุนนั้นจัดตั้งไม่ถึง 5 ปี จะแสดงข้อมูลจริงนับตั้งแต่วันจัดตั้งกองทุน
#เด็กการเงินพาอ่านFactSheetกองทุน
ติดตามเพจ 👉 เด็กการเงิน DekFinance ได้ทั้งใน Blockdit และ Facebook ค่ะ 😊
โฆษณา