Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TODAY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 ก.พ. 2021 เวลา 06:59 • สุขภาพ
ศบค. เผย พบติดเชื้อรายใหม่ 143 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย รับกำลังจับตาเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากแอฟริกา อาจต้องปรับมาตรการกักตัวเพิ่มจาก 14 วัน เป็น 21 วัน
2
วันที่ 15 ก.พ. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 143 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 132 ราย แบ่งเป็นระบบเฝ้าระวังและบริการ 64 ราย และผู้ติดเชื้อจากการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 68 ราย กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค 11 ราย ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยรวมสะสม 24,714 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 22,067 ราย จากการคัดกรองเชิงรุก 13,990 ราย รักษาหายแล้ว 22,883 ราย เหลือรักษาอยู่ 1,749 ราย อาการหนัก 7 ราย แบ่งเป็นอยู่ในโรงพยาบาล 1,112 ราย โรงพยาบาลสนาม 637 ราย และมีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 ราย
2
สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 81 เป็นเพศชาย อายุ 62 ปี อาชีพขายผักที่ จ.อุบลราชธานี โรคประจำตัว คือ เบาหวาน ไต ความดันโลหิตสูง เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 เริ่มมีอาการ ไอแห้ง วันที่ 8 ม.ค. 2564 อาการทรุดลง ไอมากขึ้น มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย ต่อมาวันที่ 9 ม.ค. 2564 ผลเอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง ตรวจพบเชื้อโควิด-19 จึงนำผู้ติดเชื้อเข้าห้องความดันลบ เมื่อวันที่ 10-13 ม.ค. 2564 อาการทรุดลงรวดเร็ว และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2564 เวลา 9.15 น. ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่ 82 เป็นเพศชาย อายุ 78 ปี จ.สมุทรสาคร เป็นพ่อบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน เมื่อวันที่ 16-17 ม.ค. 2564 ลูกสาวที่มีผลยืนยันการติดเชื้อก่อนหน้านี้มาเยี่ยมพ่อที่บ้าน รับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อวันที่ 19-20 ม.ค. 2564 ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอแห้ง เจ็บคอ วันที่ 22 ม.ค. 2564 ไอมากขึ้น จึงไปโรงพยาบาล ผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 ร่วมกับอาการปอดอักเสบรุนแรง และเนื่องจากเป็นผู้สูงอายุร่วมกับมีโรคประจำตัวมาก ทำให้อาการทรุดลงเร็ว เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2564 เหนื่อยหอบมากขึ้น จึงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จากนั้นมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อมาวันที่ 7 ก.พ. 2564 อาการแย่ลง ร่วมกับไตวายเฉียบพลัน ความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2564 เวลา 18.19 น.
2
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า สำหรับกรุงเทพฯ ยังติดตามใกล้ชิดคือ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ อาคารจุฬานิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นข้อมูลวันที่ 11 ก.พ. 2564 พบผู้สัมผัสใกล้ชิด 862 ราย พบติดเชื้อ 20 ราย คัดกรองในชุมชน 343 ราย ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ และยังรอผลอีกกว่าร้อยราย ส่วนจังหวัดอื่นๆ พบว่า จ.ปทุมธานี ที่เกี่ยวข้องกับตลาดมีผู้ติดเชื้อใหม่ 50 ราย และใน จ.ตาก แม้วันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่ แต่ย้อนไปสัปดาห์ที่แล้วเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2564 พบ 37 ราย วันที่ 13 ก.พ. 2564 พบ 52 ราย และวันที่ 14 ก.พ. 2564 พบ 7 ราย จึงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ จ.สมุทรสงคราม เพชรบุรี สระบุรี นครราชสีมา และนครนายก ยังพบผู้ติดเชื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดใน จ.ปทุมธานี
2
พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีผู้ป่วยเพศชายอายุ 41 ปี เป็นนักธุรกิจซึ่งเดินทางไปค้าพลอยที่แทนซาเนีย ในทวีปแอฟริกา จากรายงานการสอบสวนโรคพบว่า อยู่ที่นั่น 2 เดือน มีประวัติไปงานเลี้ยง ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย จากนั้นเดินทางกลับมาถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 โดยมาจากแทนซาเนีย ต่อเครื่องที่เอธิโอเปีย มีการคัดกรองอาการป่วย หน้าด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่มีไข้และอาการป่วย จากนั้นจึงไปกักตัวที่สถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ และมีการตรวจเชื้อครั้งแรกในวันที่ 3 ก.พ. 2564 พบผลเป็นบวก จึงส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐในวันที่ 4 ก.พ. 2564 ต่อมาวันที่ 5 ก.พ. 2564 ทีมสอบสวนโรคจากกรมควบคุมโรค ส่งตัวอย่างตรวจระบุสายพันธุ์ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย ยืนยันผลว่า เป็นสายพันธุ์แอฟริการายแรกของไทย และจากการตรวจผู้ดูแลซึ่งสวมชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) อย่างดีนั้น ตรวจไม่พบเชื้อ ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องมีการคัดกรองอย่างเข้มข้นที่ด่าน เพื่อนำคนที่เข้ามาจากต่างประเทศเข้าสู่ระบบการกักตัวอย่างเป็นระบบ และอาจจะมีการพิจารณาปรับมาตรการกักตัวเพิ่มจาก 14 วัน เป็น 21 วัน เหมือนกับที่ปรับการกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอังกฤษ เพราะถือเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการฉีดวัคซีนในจังหวัดท่องเที่ยวด้วยหรือไม่ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า การฉีดวัคซีนจังหวัดท่องเที่ยวนั้นได้แน่นอน ซึ่งคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติประชุมใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุข และ ศบค. โดยจะมีการจัดสรรวัคซีนให้เป็นระยะๆ ซึ่งระยะแรกที่วัคซีนมีจำนวนจำกัดนั้น ระหว่าง ก.พ.-พ.ค. 2564 จะฉีดให้บุคลากรการแพทย์ และพื้นที่เสี่ยงระบาดรุนแรง ส่วนระยะต่อมาที่คาดว่าวัคซีนมีมากพอคือ มิ.ย.- ธ.ค. 2564 นั้น กลุ่มการท่องเที่ยวจัดอยู่ในระยะนี้ที่ต้องได้รับวัคซีนด้วย
2
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
8 บันทึก
49
6
14
8
49
6
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย