15 ก.พ. 2021 เวลา 12:36 • การเกษตร
ลีลาวดีหรือลั่นทม จัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ได้รับความนิยมมาก
ลั่นทม ความเชื่อแต่เดิมเข้าใจผิดไป ด้วยเหตุที่ออกเสียงได้พ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า โศกเศร้าเสียใจ แต่ในความเป็นจริงนั้นจะหมายความได้ว่า ละซึ่งความโศกเศร้าทั้งปวง ซึ่งเป็นความหมายที่ดีมาก แต่เมื่อมีผู้คนเริ่มนำมาปลูกในบ้านหรือในโรงแรม จึงได้เรียกชื่อดอกลั่นทมใหม่เป็น ลีลาวดี  ซึ่งแปลว่า ต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย
พลูมมีเรีย หรือ พลัมมีเรีย (plumieria) เป็นชื่อที่เรียก ลั่นทม หรือลีลาวดี ตามชื่อของนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ชาร์ล พลัมเมอร์ (ค.ศ. 1646-1706)  ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากกษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ให้แสวงหาพันธุ์พืชใหม่ๆ ในเขตร้อน เขาได้เดินทางไปยังหมู่เกาะ แคริเบียนถึง 3 ครั้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่ได้พบต้นไม้ที่มีดอกสวยงามและรูปทรงแปลกๆ จึงได้นำกลับมาที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 และเขาได้ริเริ่มจัดระบบของต้นใม้และดอกไม้ในเขตร้อนให้เป็นหมวดหมู่  ภายหลังนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนาม ทัวนีฟอร์ท ได้ตั้งชื่อต้นลั่นทมว่า พลัมเมอร์ เรีย (plumieria) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย ชาร์ล พลัมเมอร์ แต่ภายหลังได้เรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นพลูมมีเรีย (plumeria)
ต้นไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า ฟรังกีปานี (frangipani) ซึ่งมีสมมุติฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรังกีปาเนีย (frangipanier) ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า กลิ่นหอม (fragrance) อีกสมมุติฐานของชื่อนี้คำว่า ฟรังกีปานี มีความหมายถึง ยางสีขาวข้นเหนียวของต้นลั่นทม  เมื่อชาวฝรั่งเศสผู้ไปตั้งรกรากในหมู่เกาะแคริเบียนได้สังเกตเห็นยางของลั่นทมจึงเรียกว่า ฟรังกีปานีเออร์ (frangipanier) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปลว่านมข้น  จึงเป็นไปได้ว่าชื่อสากลของพันธุ์ไม้นี้มาจากภาษาฝรั่งเศส
ต้นลั่นทมที่ได้รับในอเมริกายุคโบราณได้รับการผสมผสานการผสมข้ามพันธุ์ทำให้มีสีสันและรูปแบบที่หลากหลายนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ วูดสัน  ( วูสัน )  ได้รับการแบ่งประเภทของลั่นทมออกเป็น 7  ดังนี้
1.  พลูมมีเรียคุณอินโนโดราทางคดีแหล่งเดิมมาจากเนชั่ออกประเทศโคลัมเบีย และบิตริสกีนา
2. พลูมมีเรียพูดิก้าประเทศและเวลลิงตันเอเซียและมาตินิค
3. พลูมมีเรียรูเล็ตประเทศในอเมริกากลาง
4. พลูมมีเรียซับในประเทศ
5.  พลูมมีเรียหนังสือออบทูซ่าหมู่เกาะบาฮาคุณมัสออกประเทศคิวบา จาไมกาฮิสปานิโอลาปอร์โตริโกบริติสฮอนดูรัส
6. พลูมมีเรียฟิลิโฟเลียประเทศเยอรมนี
7. พลูมมีเรียอัลบาปราโตริโกะไอซ์แลนด์
นอกจากการแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังมีการแบ่งชนิดของลั่นทมตามลักษณะใบ ช่อดอก และสี อีกด้วย  การตั้งชื่อชนิดของลั่นทมได้มีอย่างกว้างขวางไปทั่วทุกแหล่งที่นิยมปลูก ประเทศที่ให้ความสำคัญถึงกับมีการตั้งสมาคม ก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยมีการจดทะเบียนชื่อตามลักษณะต่างๆ ดังที่กล่าวถึงกว่า 300 ชื่อ จากจำนวนของลั่นทมที่มีอยู่เดิม (generic) และที่มีการผสมพันธุ์ (hybrid) กว่า 1,000 ชนิดทั่วโลก
ต้นลั่นทมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม้อ่อน แตกกิ่งเป็นแฉกเป็นง่ามกระจายออก ทำให้เกิดทรงพุ่มใหญ่ กิ่งเปราะง่าย ทิ้งใบในฤดูแล้ง แล้วผลิดอก และใบรุ่นใหม่  ในช่วงราวเดือนเมษายนเป็นต้นไป เราจะได้ชมดอกลั่นทมบานเต็มต้น ปราศจากใบบัง สวยงามมาก ใบลั่นทมโตเป็นรูปใบหอก แข็งแรงมีสีเขียวเข้ม  ออกดอกเป็นช่อ ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ช่อหนึ่งจะมีดอกหลายสิบดอกเป็นกลุ่มสวยงามมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลายลักษณะ บางชนิดกลีบเวียนซ้อนกัน บางชนิดกลีบดอกเรียงกัน บางชนิดปลายกลีบดอกแหลม บางชนิดปลายกลีบดอกมน มากมายหลายสี บางต้นอาจมีดอกมีสีเดียว เช่น ขาว แดง ชมพู แต่บางต้นจะมีดอกที่มีสีแซมกันเป็นหลายสี ขนาดดอกใหญ่ เล็ก ต่างกัน ดอกลั่นทมมีกลิ่นหอมพิเศษช่วยให้ผ่อนคลาย ส่วนที่จะหอมมาก หอมน้อย นั้นต่างกันไปแต่ละชนิด  จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในวงการสปา และเป็นไม้มงคลของผู้เกิดราศีมีน
ไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเม็กซิโก และอเมริกาใต้ เป็นไม้วงศ์เดียวกับยี่โถและโมก ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่าย และไม่ต้องดูแลมากนัก ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ในดินทุกชนิด เป็นพันธุ์ไม้ทนแล้งตามสภาพความเป็นอยู่ถ้าได้รับการบำรุงดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำ หรือบำรุงปุ๋ยสูตร 16-16-16 หรือ 14-14-21 ประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง สลับกับแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 ลั่นทมก็จะให้ความสวยงามสดชื่นตลอดปี แต่ไม่ชอบดินแฉะที่มีน้ำท่วมขัง เมื่อได้มีการเผยแพร่ลั่นทมกระจายพันธุ์ไปตามส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน จึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศศรีลังกาประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ซึ่งประเทศหลังนี้ยกย่องลั่นทม ซึ่งประเทศลาวเรียกว่า จำปา เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพราะได้เคยใช้ เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างพลังเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส และมีการแต่งเพลงที่มีเนื้อร้องถึงดอกจำปาไว้อย่างไพเราะ ดังนี้
การเข้าในประเทศไทยของลั่นทม
ประวัติของการที่ลั่นทมเข้ามาในประเทศไทยนั้นมีหลายกระแสความด้วยกัน บ้างบอกว่าลั่นทมเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนประเทศอินโดนีเซีย  เป็นพันธุ์ดอกสีขาว ใบสีเขียวเข้ม โดยนำมาปลูกที่พระราชวัง บนเขาวัง และที่เกาะสีชัง  แต่ก็ยังมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าลั่นทมได้เข้ามายังประเทศไทยก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยมีบทวรรณกรรมของสุนทรภู่ ซึ่งเกิดและเติบโตในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้กล่าวถึงดอกลั่นทมไว้หลายเรื่อง เช่นเดียวกับบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เรื่องอิเหนาที่กล่าวถึงต้นลั่นทม
จึงเป็นไปได้ว่าเมื่อลั่นทมได้เข้ามาจากอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5  จึงเกิดความนิยมเพาะเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหมู่พระราชวัง และวัดวาอารามต่างๆ  อีกครั้งหนึ่ง ลุงสิน เกษตรกรชาวอุตรดิตถ์ ผู้ศึกษาต้นไม้ชนิดนี้มานานสันนิษฐานว่าลั่นทมน่าที่จะเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เนื่องจากยุคนั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักอยู่ และเป็นข้าราชบริพารจำนวนมาก และเมื่อเสียชีวิตจึงได้นำต้นลั่นทมไปปลูกไว้ในสุสาน เพื่อความสวยงามและเป็นสัญลักษณ์ตำแหน่งของหลุมศพ คล้ายดังที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการปลูกต้นลั่นทมไว้ที่สุสานเมืองกาญจนบุรี
ปี 1950 ลั่นทมเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะฮาวาย โดยเอามาร้อยเป็นมาลัยคล้องคอ ในปี ค.ศ. 1960-1970
กิจกรรมที่พ่วงเข้ามากับการท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก นั้นคือ สปา ด้วยความสวยงามและมีกลิ่นหอมจรุงใจ ดอกลั่นทมจึงมักจะอยู่ควบคู่กับสปา และมีบริการนักท่องเที่ยวอย่างแพร่หลายในเอเชียอาคเนย์ ตั้งแต่บาหลี อินโดนีเซีย และประเทศไทย
ตามความเข้าใจเดิมของคนโบราณ ลั่นทม นั้นออกเสียงพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศกเสียใจ  แต่มีผู้รู้ในหลักภาษาไทยได้อธิบายว่า ลั่นทม  เป็นการละแล้วซึ่งความโศกเศร้า  ซึ่งลั่นทมเป็นคำผสมของคำว่า ลั่น+ทม โดย ลั่น หมายถึง แตกหัก ละทิ้ง ส่วน ทม คือ ความทุกข์โศก เมื่อรวมความแล้ว จึงหมายถึง การละทิ้งความระทมทุกข์ทั้งปวง  ซึ่งเป็นความหมายที่ดี  ทางภาคใต้เรียกลั่นทมว่า ดอกไม้ขอม เป็นดอกไม้บูชาครู หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทางอีสานนั้นเรียก จำปาลาว เหมือนสาธารณรัฐประประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางภาคพื้นตะวันตกของไทยเรียก จงป่า
อีกเหตุผลหนึ่งที่คนไม่นิยมนำลั่นทมมาปลูกในบ้าน คือ ในสมัยก่อนนิยมปลูกในสุสานหรือป่าช้า อย่างป่าช้าวัดดอน ตรอกจันทร์ อีกทั้งป่าช้าจีน ไทย แขก นิยมปลูกต้นลั่นทม น่าจะเป็นความต้องการของลูกหลานให้ผู้ตายอันเป็นที่เคารพรักได้ชื่นชมกับความสวยงามของดอกลั่นทม และลั่นทมยังเป็นต้นไม้ขนาดกลางที่ให้ร่มเงาได้ดี ทั้งยังปลูกง่าย โตช้าไม่ต้องตัดแต่งในระยะยาว จึงสามารถปลูกแล้วทิ้งไว้ก็เติบโตได้ดี บ้างก็ให้เหตุผลว่าต้นไม้ชนิดนี้มีกิ่งที่เปราะง่าย มียางสีขาวข้นจากลำต้น กิ่งก้าน รวมถึงช่อดอก ซึ่งอาจมีอันตรายถ้าเด็กซนไปป่ายปีนต้นแล้วหักลงมา หรืออาจระคายเคืองเมื่อไปถูกยางเข้า  จึงห้ามปลูกลั่นทมไว้ในบ้าน
อย่างไรก็ตาม เสน่ห์ความงดงามของพุ่มต้น ใบ ดอก ประกอบกลิ่นหอมอ่อน เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้พบเห็น ลั่นทมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทของการเป็นไม้ประดับสวน เริ่มต้นจากโรงแรม รีสอร์ท และเจ้าของบ้านที่มีจิตใจรักต้นไม้ชนิดนี้จริงๆ ก็เริ่มนำเข้ามาปลูก ต่อมามีผู้เรียกลั่นทมว่า ลีลาวดี ซึ่งแปลได้ความหมายว่าเป็นต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย  จึงทำให้ผู้ที่ชื่นชอบต้นไม้นี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วหันมาสนใจปลูกกันอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
ในมุมของนักจัดสวน ลั่นทม เป็นไม้ที่สวยงาม ดอกหอม พุ่มใบแผ่กว้างให้ร่มเงา  สามารถนำจัดได้กับสวนทุกแบบ ทั้งเป็นไม้ที่โตช้า ง่ายแก่การควบคุมดูแลรักษา และถ้าจะให้มีรูปทรงต้นที่ชัดเจนก็ต้องเป็นต้นที่โตสักหน่อย จึงเกิดความนิยมวิธีขุดล้อมต้นที่โตแล้ว และด้วยเหตุที่ต้นขนาดใหญ่ มีรูปทรงที่สวยงามนั้น จะเป็นต้นที่มีอายุมาก ปลูกไว้ตามวัดวา และที่สาธารณะ มีจำนวนน้อยกว่าความต้องการ  จนทำให้ลั่นทมต้นใหญ่ๆ นั้นแทบไม่หลงเหลือให้เห็นตามสถานที่ดังกล่าว  ราคาก็ถีบสูงขึ้น ไม้เก่าบางต้นจำหน่ายกันในราคาสูงถึงหลักหมื่นหลักแสนเลยทีเดียว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ยางและแก่น-ใช้เป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเสมหะและโลหิต แก้กามโรค แก้ปวดฟัน
ใบ-ลนไฟให้ร้อนพอพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาหิด
เนื้อไม้-แก้ไอ ในประเทศเขมรใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
ราก-เป็นยาถ่าย และทำให้แท้งได้
เปลือกราก-ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคข้ออักเสบ ขับลม รักษาโรคหนองใน
ทั้งต้น- ใช้ปรุงยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
เปลือกต้น- นำมาต้มเป็นยาถ่าย ขับฤดู แก้ไข้ โรคโกโนเรีย ยาถ่าย และยาขับปัสสวะ  ทั้งยังมีสารฟลูโอพลูไมริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสของโรคเอดส์ได้
ดอก- ใช้ทำธูป และถ้าใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไขมาเลเรีย
ยางจากต้น-เป็นยาถ่าย รักษาไขข้ออับเสบ ถ้าผสมกับไม้จันทร์ และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากhttps://www.dithichaya.com/17393803/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5
ขอบคุณภาพจาก facebookpageเกษตรทดลองbyพี่ซะ
โฆษณา