Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องของคน....บนโลก
•
ติดตาม
16 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • การศึกษา
เงินฝืด เงินเฟ้อ คืออะไร??
แล้วมีผลอย่างไร กับนักลงทุน ???
เงินเฟ้อ
ความหมายของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ (Inflation), หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วๆ ไปเพิ่มสูงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหากสินค้ามีระดับราคาสินค้าสูง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ยังไม่ถือว่าเกิดเงินเฟ้อ จำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิดคงที่หรือลดต่ำลง แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคา คือ “ดัชนีราคา (Price Index)” ซึ่งนิยมวัดในรูปดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาขายส่ง
ดัชนีราคา คือ เครื่องวัดราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการจำนวนหนึ่งหรือตะกร้าหนึ่งของปีใดปีหนึ่งเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการจำนวนหรือตะกร้าเดียวกันในปีที่อ้างอิง หรือที่เรียกว่า ปีฐาน (base year)
สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ประการ คือ สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุปทาน
สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ ได้แก่ การที่อุปสงค์มวลรวมสำหรับสินค้าและบริการมีมากกว่าอุปทานมวลรวมของสินค้าและบริการ เงินเฟ้อที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์สำหรับสินค้าบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์”
สาเหตุที่เกิดจากแรงผลักดันทางด้านอุทาน ได้แก่ การที่อุปทานมวลรวมสำหรับสินค้าและบริการลดลง เนื่องจากแรงงานเรียกร้องเอาค่าแรงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง หรือผู้ผลิตต้องการกำไรสูงขึ้น จึงบวกกำไรเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และผู้ผลิตจะลดปริมาณการผลิตลง เงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากด้านอุปทานบางครั้งเรียกว่า “เงินเฟ้อจากแรงดันของต้นทุน”
ผลกระทบของเงินเฟ้อ
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะมีผลกระทบต่อหน่วยเศรษฐกิจในลักษณะต่างๆ กัน และผลกระทบจะมีมากน้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ถ้าหน่วยเศรษฐกิจคาดคะเนเงินเฟ้อได้ถูกต้อง ผลกระทบของเงินเฟ้ออาจจะไม่ก่อให้เกิดปัหารุนแรงนัก เพราะว่าหน่วยเศรษฐกิจอาจจะหาวิธีป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อได้ ในทางตรงข้าม ถ้าการคาดคะเนเงินเฟ้อของหน่วยเศรษฐกิจผิดพลาด ผลกระทบของเงินเฟ้อจะมีมากจนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น ดังนั้นผลกระทบของเงินเฟ้ออาจจะเป็นไปได้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. อำนาจซื้อของเงินลดลง
2. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ
3. อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น
4. ผลที่มีต่อการคลังของรัฐบาล
5. ผลที่มีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ
6. ผลที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
เมื่อเกิดเงินเฟ้อโดยมีสาเหตุมาจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น รัฐบาลหรือธนาคารกลางอาจแก้ไขโดยการใช้วิธีทางการเงินต่างๆ ดังนี้
1. การใช้มาตรการของนโยบายการเงิน
2. การควบคุมโดยตรง
3. การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสถาบันการเงิน
เงินฝืด
ความหมายของเงินฝืด
เงินฝืด (Deflation) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปลดลงเรื่อยๆ และต่อเนื่องผลของภาวะเงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ส่วนพ่อค้า นักธุรกิจ และผู้ถือหุ้น จะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก การผลิต การลงทุนและการจ้างงานลดลง ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น การวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาจะใช้ดัชนีราคาเป็นตัวชี้วัดเช่นเดียวกับเงินเฟ้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด
สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้หรืออุปสงค์มวลรวมน้อยกว่าอุปทานมวลลรวม (AD<AS) ซึ่งทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าขายไม่ออก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ธุรกิจลดปริมาณการผลิต เกิดปัญหาการว่างงาน และทำให้รายได้ประชาชาติลดลงในที่สุด
ผลของภาวะเงินฝืด
ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ประชาชนมีความสามารถที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการได้น้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่เมื่อสินค้าที่ผลิตได้ขายไม่ออก ผู้ผลิตจะต้องลดราคาสินค้าและบริการจนขาดทุนหรือได้รับกำไรน้อยลงงไม่คุ้มกับทุน ผู้ผลิตบางส่วนอาจเลิกการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตลง จนเกิดปัญหาการว่างงานจำนวนมาก และเมื่อมีคนว่างงานจำนวนมาก คนเหล่านั้นไม่มีรายได้พอที่จะจับจ่ายใช้สอยตามปกติได้ สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่ออก ทำให้ระดับการผลิตและการจ้างงานลดต่ำลงไปอีกในภาวะเช่นนี้ รายได้ของคนส่วนรวมจะลดต่ำลงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศภาวะเงินฝืดจึงมีผลกระทบต่อประชาชนแต่ละอาชีพ ดังนี้
1. เกษตรกร
2. พ่อค้าและนักธุรกิจ
3. ผู้มีรายได้ประจำ
4. ลูกหนี้และเจ้าหนี้
5. รัฐบาล
การแก้ไขภาวะเงินฝืด
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้โดยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเช่นกัน เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจัดอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ภาวะเงินฝืดก็จะสินสุดลง มาตรการที่แก้ไขภาวะเงินฝืด
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย