16 ก.พ. 2021 เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
ตอนนี้ถ้าพูดถึงสถานการณ์ในอิรักซีเรีย ใครๆก็จะคิดถึงสงครามปราบ ISIS อย่างไรก็ตามเราควรมองว่าแม้ ISIS จะสามารถยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญหลายแห่ง ได้อาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนรายได้จากบ่อน้ำมันมากมาย แต่พวกเขามีกำลังทหารอย่างมากสุดเพียง 100,000 นาย (ตามการประเมินแบบเกินจริงของฝ่ายเคิร์ด จริงๆควรมีราว 20,000 - 50,000 นาย)
2
กำลังทหารและอาวุธของเขาไม่เพียงพอจะโค่นล้มรัฐบาลอิรัก หรือซีเรีย ที่ยังสู้ได้เพราะทั้งสองรัฐบาลอยู่ภาวะสับสนวุ่นวาย ซ้ำร้าย ISIS ยังเปรี้ยวไปไฝว้กับคนทุกฝ่ายที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ตนรวมทั้งอัลเคดา ทำให้มีแต่ศัตรู
เหตุผลต่างๆบ่งชี้ว่า ISIS มีพื้นฐานไม่มั่นคงนัก มองข้ามชอตไปถามว่าหลัง ISIS ล่มสลายแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? ผมขอวิเคราะห์โดยเริ่มจากสถานการณ์ในอิรักก่อนนะครับ
3
สงครามในอิรักนั้นหลักๆเป็นสงครามระหว่างชาวสุหนี่ กับชีอะห์ กล่าวคือก่อนหน้านี้อิรักถูกปกครองโดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นชีอะห์ซึ่งกดขี่ชาวสุหนี่อยู่ และเมื่อบ้านเมืองวุ่นวายชนกลุ่มน้อยเคิร์ดก็ถือโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอิรักคือ:
1
1. ชาวสุหนี่จะเป็นกลุ่มที่โชคร้ายที่สุด
ชาวสุหนี่ในอิรักอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ ทางหนึ่งถูกรัฐบาลชีอะห์กดดัน อีกทางกลุ่มที่มาต้านรัฐบาลกลับเป็น ISIS ที่บ้าคลั่ง
1
พื้นที่แทบทั้งหมดที่ ISIS ยึดได้นั้นเป็นเมืองของชาวสุหนี่ ยามถูกฝ่ายต่างๆโจมตี พลเรือนที่บาดเจ็บล้มตายถูกลูกหลงก็เป็นชาวสุหนี่มากกว่ากลุ่มอื่น รัฐบาลชีอะห์ย่อมสามารถใช้ข้ออ้างปราบโจร เหมารวมชาวสุหนี่สายกลางไปกับ ISIS แล้วทำลายศักยภาพในการสู้รบไม่ให้มีกำลังกลับมาได้อีก
1
2. ชาวเคิร์ดจะมีกำลังขึ้น
ชาวเคิร์ดในอิรักสวามิภักดิ์ด้วยอเมริกามาตั้งแต่ยุคสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่ออเมริการบชนะซัดดัมก็ให้รางวัลชาวเคิร์ดโดยตั้งเขตปกครองตนเองให้
ชาวเคิร์ดถูกชาวอาหรับกดขี่มานาน ไม่เคยภักดีอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงใช้โอกาสที่รัฐบาลอิรักไม่เข้มแข็งสะสมอาวุธเตรียมแยกตัวเป็นเอกราชมาตลอด ในสงครามกลางเมืองครั้งล่าสุด อเมริกายังทุ่มเทความช่วยเหลือไปยังฝ่ายเคิร์ดอีกมหาศาล เพื่อเป็นแนวหน้าในการปราบ ISIS ถ้าเคิร์ดปราบ ISIS ได้ ก็จะสามารถยึดเมืองโมซูล และเคอร์คุก ตลอดจนบ่อน้ำมันอันอุดมสมบูรณ์
4
เมื่อรวมกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอเมริกา พวกเขาจะเหมือนเสือติดปีกมีทั้งกำลังอาวุธ และศักยภาพทางการเมือง พอที่จะแยกตัวเป็นอิสระ การสู้เพื่อเอกราชนี้อาจจบลงโดยที่รัฐบาลอิรักยอมเซ็นแยกประเทศง่ายๆก็ได้ หรืออาจเป็นสงครามกลางเมืองต่อไปอีกหลายสิบปีแบบศรีลังกาก็ได้
3. จะเกิดสงครามสุหนี่-ชีอะห์ที่ขยายวงกว้างขึ้นอีก
ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นราชอาณาจักรสุหนี่ที่ทรงอำนาจในตะวันออกกลางนั้น รู้สึกหวั่นไหวจากการที่อิหร่านซึ่งเป็นประเทศชีอะห์ที่ใหญ่ที่สุดได้แผ่อิทธิพลมายัง อิรัก ซีเรีย เยเมน และเลบานอน เรียกว่าล้อมรอบซาอุดิอาระเบียไว้ทุกด้าน (ไม่นับโอมาน)
2
เพื่อยับยั้งสิ่งนี้ซาอุดิอาระเบียได้ให้การสนับสนุนทั้งทางตรงทางลับกับกองกำลังที่เป็นปฏิปักษ์กับอิหร่านมาตลอด เคยสู้กันอย่างแตกหักที่สุดในสงครามอิรักอิหร่านที่จบลงด้วยการไม่แพ้ไม่ชนะ แต่อิหร่านได้เปรียบ
1
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เช่นสงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือสงครามปราบก่อการร้าย ล้วนเป็นผลดีต่อฝ่ายชีอะห์มากกว่าสุหนี่ ทำให้อิหร่านมีกำลังขึ้นมาชิงความเป็นใหญ่ในตะวันออกกลาง
1
เมื่ออิหร่านมีอิทธิพล รัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรก็ยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นด้วย ทำให้ความขัดแย้งนี้สามารถลุกลามใหญ่โตไปเป็นสงครามเย็น มีผลกระทบต่อโลกเราด้วยประการต่างๆ
หมายเหตุ : ลงครั้งแรก 10 กุมภาพันธ์ 2015 ใน facebook
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา