Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองน่าคิด
•
ติดตาม
16 ก.พ. 2021 เวลา 10:15 • การเมือง
วาทกรรม 'นักการเมืองเลว'
วาทกรรมนักการเมืองเลวเกิดขึ้นในช่วงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา โดยเกิดจากกลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่ ชนชั้นนำ(elite) สื่อมวลชน และ นักการเมืองด้วยกันเองที่พยายามจะสร้างภาพตัวเองให้เป็นคนดีโดยการเหยียบย่ำคนอื่น
(ข้อมูลจากประชาไท
https://prachatai.com/journal/2009/08/25474
)
วาทกรรมนี้ถูกใช้เรื่อยมา พอจะมีการเลือกตั้งทีก็จะมีคนบอกว่า นักการเมืองเข้าไปมีอำนาจก็เหมือน ๆ กันหมด ทำให้ระบบการเมืองไทยไม่พัฒนา เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง และเป็นวาทกรรมสนับสนุนให้การรัฐประหารของทหารดูชอบธรรมและสนับสนุนการอยู่ยาวของอำนาจรัฐประหารของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้อยู่นานกว่า 4 ปี เท่ากับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซ้ำยังสามารถสะสมกลุ่มอำนาจทุนใหญ่ในประเทศให้ลากยาวอยู่ต่อและชนะการเลือกตั้งไปด้วยกฎหมายที่พรรคพวกของเขาเขียนเอง ตบหน้าอำนาจของประชาชนฉาดใหญ่โดยประชาชนจำนวนมากยินยอม
จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า อำนาจของ(ภาษา)วาทกรรม นั้นมีพลังและส่งผลต่ออำนาจเชิงโครงสร้างใหญ่
ในขณะที่วาทกรรม 'นักการเมืองเลว' แพร่หลายและฝังลึก นักการเมืองดีที่ถูกเหมารวมให้เป็นนักการเมืองเลวก็ทำงานยากขึ้นทุกวัน
ในบรรยากาศเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. ที่ผ่านมา ได้ยินบ่อยครั้งจากปากชาวบ้าน
'เลือกใครไปก็เหมือนเดิม เข้าไปโกงเหมือนเดิม'
เป็นเหตุให้ชาวบ้านเลือกคนที่จ่ายเงิน แค่หัวละ 50 บาท หัวละ 100 บาท ก็เอา เพราะคิดว่าคนที่เข้าไปต้องเหมือน ๆ กันหมด คือ เป็นนักการเมืองเลว และนี่คือบทบาทของวาทกรรมที่ได้ educate คนและกร่อนคนให้ไม่เหลือความเป็นคน
กลไกประชาธิปไตยไม่ได้ถูกอธิบาย ว่าถ้านักการเมืองเลว 4 ปียังมีโอกาสได้เลือกใหม่ ถ้านักการเมืองที่เข้าไปทำงานไม่เข้าตาก็เป็นตัวชี้วัดได้ว่าอนาคตพวกคุณจะไม่ได้รับเสียงเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนอีก และประชาชนไม่ต้องขายอำนาจการตัดสินใจและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเองกับเงินแค่ 50 บาท
และในอดีตประวัตศาสตร์ประชาธิปไตย เราล้วนเคยมีนักการเมือง นักเคลื่อนไหว ตัวแทนประชาชนที่ดี
อาทิ
4 เสืออีสาน ทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ถวิล อุดล, จำลอง ดาวเรือง และ เตียง ศิริขันธ์
หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ หรือ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา จากพื้นที่วัฒนธรรมมลายู ภาคใต้
พ่อหลวงอินถา หรือ นายอินถา ศรีบุญเรือง ผู้นำชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
ฯลฯ
นักการเมืองและตัวแทนภาคประชาชนเหล่านี้ล้วนถูกอุ้มหายและฆาตกรรม พร้อมสาปสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของรัฐไทย ในขณะที่วาทกรรม 'นักการเมืองเลว' ที่มาสนับสนุนการผูกขาดประชาธิปไตยให้กับกลุ่มทุนและ elite ของแผ่นดินเพียงไม่กี่กลุ่มกลับเติบโตขยายพลังอำนาจมากขึ้นทุกวัน
ไม่เพียงแต่การเมืองส่วนกลางในระบอบรัฐสภาที่ประชาชนเสียดุลย์ให้กับ elite เพราะวาทกรรมเหล่านี้ แต่ในการเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ.ที่ผ่านมา กลุ่มทุนเดิมที่แฝงตัวอยู่ในพรรคการเมืองไม่กี่พรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ชนะเลือกตั้งไปอย่างถล่มทลาย
ในขณะที่งบประมาณในการบริหารโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของท้องถิ่นอยู่ที่ อปท.
และต่อจากนี้ไปจะมีการเลือกตั้ง อปท.อีกสองระดับ คือ เทศบาลและ อบต.
ในขณะคนอีกสองกลุ่มที่มีส่วนร่วมสร้างวาทกรรมนักการเมืองเลว คือ อีลีท และ นักการเมืองที่ได้รับผลประโยชน์จากวาทกรรมนักการเมืองเลวเป็นผู้เล่นในสนามการเมืองที่ตนรับผลประโยชน์จนยากที่จะถอนรากถอนโคลนออกจากวาทกรรมเน่าเฟะที่บั่นทอนความเชื่อ ความศรัทธา ต่อสถาบันพรรคการเมืองและการเลือกตั้งจนมิอาจมีความหวังต่อพวกเขาได้
จึงถึงเวลาแล้วหรือยังที่สื่อมวลชนเองจะหันกลับมาแก้ไขในสิ่งที่ตนเคยผิดพลาดในบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน
ล้มวาทกรรมนักการเมืองเลว ให้ข้อมูลและความหมายที่แท้จริงของอำนาจประชาชน และประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนลุกสู้จากฐานล่าง คือ การเลือกตั้ง อปท. ที่ได้คนท้องถิ่นคุณภาพมาบริหารงบประมาณท้องถิ่น จนถึงการเลือกตั้งส่วนกลางที่จะมาถึงในอีกสองปีข้างหน้า ให้ประชาชนตระหนักในอำนาจการตัดสินใจของตนเองและเชื่อว่าการเลือกตั้งสามารถคัดคนดี ๆ เข้ามาทำงานเป็นปากเป็นเสียงและบริหารงบประมาณจากภาษีประชาชนได้อย่างโปร่งใส เพราะการเลือกตั้งที่โปร่งใสเป็นประหนึ่งการคัดกรองคนที่ซื่อสัตย์เข้ามาทำหน้าที่
เพื่อเดินหน้าการพัฒนาชาติด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้สง่างามกว่าที่เป็น.
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย