16 ก.พ. 2021 เวลา 11:13 • การตลาด
ทำไม CP จึงอยากได้โลตัสกลับมา แล้วคนไทยจะได้อะไร
เมื่อช่วงประมาณช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมามีข่าวการเข้าไปซื้อกิจการของ Tesco Lotus ซึ่งดำเนินการภายใต้ชื่อบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด ของเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์หรือ CP Group และได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ใน ในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
ข่าวที่ออกมาสดๆร้อนๆคือการ Rebranding จาก Tesco Lotus มาเป็น Lotus's ที่เป็นชื่อเดิมตั้งแต่แรกเริ่ม ในการเปิดสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ แต่ครั้งนี้ทำการเติม 'S เข้าไปด้วยและเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรใหม่ให้ดูเข้าถึงง่าย
"ยุคใหม่การตลาดของไทย" เองก็เคยทำงานอยู่ที่นี่หลายปีในส่วนของแผนก Commercial ที่เป็นทั้งฝ่ายจัดหาและฝ่ายจัดซื้อสินค้า ได้เคยพูดเรื่องนี้กับพนักงานระดับสูงในที่ทำงานเมื่อ 7-8 ปีที่ผ่านมา ว่ายังไง Tesco ต้องขายกิจการออกไปอยู่ดี เพราะรูปแบบการบริหารแบบอังกฤษ เป็นรูปแบบที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน รูปแบบการบริหารไม่สามารถตอบสนองต่อตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครเชื่อคำพูดของ "ยุคใหม่ฯ" เลย เพราะช่วงนั้นออนไลน์ไม่ได้มาแรงอย่างทุกวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ผู้ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็จะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงอยู่ดี
4
Facebook: Phatramas Kanjanabut
ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา "ยุคใหม่ฯ" มีโอกาสได้รับประทานอาหารกลางวัน กับอดีตผู้บริหารสาขาแรกของโลตัส ท่านบอกว่าในการเปิดสาขาครั้งแรกนั้น มีอะไรที่ไม่พร้อมมากมาย เพราะมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเรื่องของการใช้พื้นที่ของ "ซีคอนสแควร์" อยากให้เป็นรูปแบบสาขาที่มีที่ตั้งของตนเองหรือ Stand Alone ตอนนั้นทีมผู้บริหารต้องใช้ทีมงานของแม็คโครมาช่วย เพราะเป็นรูปแบบของห้างที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน แต่มีรูปแบบการดำเนินการคล้ายๆกับแม็คโครนั่นเอง
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในเครือ CP ALL
ธุรกิจห้างโลตัส เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นจาก CP หรือจะเรียกได้ว่าเป็นลูกแท้ๆของ CP เลยก็ว่าได้ ในช่วงเวลานั้นทั้งแม็คโครและโลตัส ยังไม่ได้ถูกเปลี่ยนมือแต่ประการใด
หลังจากที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540 ทั้งแม็คโครและโลตัสก็ถูกขายออกไป และ Tesco holdings company จากประเทศอังกฤษก็เข้ามาซื้อกิจการของโลตัส และเปลี่ยนชื่อเป็น Tesco Lotus ในช่วงแรกคำว่าโลตัสก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ แต่เมื่อผ่านไปแล้วคนไทยเริ่มคุ้นชิน เราจะเห็นป้ายชื่อ Tesco Lotus ที่ตัวอักษรคำว่าโลตัสเล็กลงเรื่อยๆ
โลโก้ในช่วงแรกๆ
โลโก้ล่าสุด
จากการบอกเล่าของทีมผู้บริหารและพนักงานที่ทำงานอยู่กับ CP มาเป็นระยะเวลายาวนาน ต่างก็บอกว่าท่านประธานหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าเจ้าสัวซีพี คิดมาตลอดว่ายังไงก็ตามจะต้องเอาโลตัสกลับมาให้ได้ เพราะเป็นลูกคนหนึ่งที่พลัดพรากจากกันไปในช่วงที่เกิดวิกฤต เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความยากลำบากอย่างที่สุดในการขายกิจการออกไปในครั้งนั้น
3
วันนี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่ท่านประธานธนินทร์หวังไว้ได้กลายเป็นจริงแล้ว และได้ทำให้ Tesco Lotus กลับมาเป็นโลตัสเช่นเดิม นี่คือเหตุผลสำคัญที่ CP group ต้องการโลตัสกลับคืนมา
1
ครั้งนี้ได้เริ่มประชาสัมพันธ์เปิดตัวที่สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา แต่คนภายในจะใช้ชื่อสาขานี้ว่าสาขารามอินทรา ครั้งแรกที่ได้เข้ามารับงานที่นี่ ก็ทำเอา"ยุคใหม่ฯ" สับสนเหมือนกันเพราะตรงนั้นมันไม่ใช่ถนนรามอินทราเลย สาขานี้เป็นหนึ่งในสองสาขา ที่เมื่อมีการปรับปรุงสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างออกไปจากเดิม ก็มักจะใช้สาขารามอินทราและสาขาพระราม 4 เพราะเป็นสาขาที่ใช้เป็นตัวแทนขององค์กรได้อย่างชัดเจน
สาขาเทสโก้ โลตัส
การบริหารองค์กรที่มียอดขายกว่า 200,000 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวมมูลค่าน่าจะหลายแสนล้านบาท หรืออาจจะถึง 1 ล้านบาทด้วยซ้ำไปเมื่อเวลาผ่านไป เพราะที่ดินและสถานที่ก่อสร้างในอนาคต มีโอกาสที่มูลค่าจะเพิ่มขึ้น
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่หล่อหลอมคนทำงานเดิม ที่มีจำนวนหลายหมื่นคน โดยเฉพาะรูปแบบการบริหารวิธีคิดต่างๆ ต่างถูกปลูกฝังมาอย่างเหนียวแน่นด้วยวัฒนธรรมการทำงานแบบอังกฤษ ที่ปัจจุบันเป็นรูปแบบการบริหารที่ไม่ยืดหยุ่นกับสถานการณ์เท่าไหร่นัก ซึ่งผิดกับการบริหารของ CP ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ การบริหารบริษัทซีพีออลล์ ที่เป็นเจ้าของเซเว่นอีเลฟเว่น เพราะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบการบริหารที่คนทำงานมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เป็นหลัก
แต่ด้วยการทำงานของ Tesco Lotus ที่เป็นวิธีการทำงานแบบมุ่งเน้นไปที่วิธีการ มากกว่าจะมองไปที่ผลลัพธ์ ซึ่งถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี นี่คือเรื่องท้าทาย CP Group เป็นอย่างมาก เพราะโลตัสกับสยามแม็คโครมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของวิธีคิดในการทำงาน (เรื่องนี้ยืนยันได้ด้วยตัวเองเพราะเคยอยู่มาทั้งสององค์กรนี้แล้ว)
2
ช่วงที่ทำงานที่ Tesco Lotus
ด้วยความซับซ้อนในรูปแบบการดำเนินงาน ที่ถูกผูกกลับระบบซ้อนทับกันไปซ้อนทับกันมา และด้วยองค์กรมีขนาดใหญ่มาก การดำเนินงานที่ผ่านมาก็ไม่ได้เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น ยิ่งอยู่ภายใต้ Slogan "Every day Low Price" ยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงยากมากขึ้น (แต่เห็นเปลี่ยนเป็น "รู้สึกดีดี ทุกวัน ที่โลตัส" แล้ว น่าจะบอกอะไรบ้างสิ่งบางอย่างในการเปลี่ยนแปลงกับคนไทย)
2
จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองมาก ว่า CP Group จะใช้กลยุทธ์อะไรในการบริหารจัดการโลตัส ให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ หากมีการบริหารจัดการให้องค์กรเติบโตได้ภายใต้วิธีการของ CP ไม่ใช่เพียง CP จะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นต่อสายตาชาวโลกกับคนไทยและประเทศไทยด้วย ถึงวันนั้นซึ่งเชื่อว่าอีกไม่นาน ประเทศไทยจะเติบโตได้อีกมาก
1
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สำหรับท่านที่สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
โฆษณา