16 ก.พ. 2021 เวลา 13:56 • สุขภาพ
😊ใครกลัวเข็มฉีดยาบ้าง ยกมือขึ้น!☺️
2
(ให้ตอบในคอมเม้นต์นะคะ ว่า กลัว หรือไม่กลัวเข็ม😁 ขอสำรวจหน่อย)
1
ไม่ต้องอายค่ะ ใครๆก็มีสิทธิ์หวั่นใจ เมื่อเห็นเข็มแหลมเปี๊ยบอยู่ข้างหน้า ...เจ้าเข็มนี่ล่ะหรือที่จะมาจิ้มแขนเรา
เผ่นก่อนดีกว่า!
ภาพจาก injection of vaccine. cartoon
นึกถึงสมัยเด็กๆยืนต่อแถวหน้าห้องพยาบาล เตรียมถลกแขนเสื้อข้างซ้ายขึ้นไว้ กลิ่นแอลกอฮอล์โชยมาแตะจมูก ขณะที่เพื่อนชื่อขึ้นต้นด้วย ก.ไก่ เดินหน้าเหยเกออกมา
เพื่อนๆที่ชื่อขึ้นต้นด้วย อ. อ่าง ก็ยืนรอไปก่อน หัวใจเต้นแรงแทบหลุดออกนอกอก
ทั้งดีใจที่ไม่ต้องถูกฉีดคนแรกเหมือน ก ไก่ แต่ก็แอบใจเสียนิดๆที่ต้องคอยลุ้นนานกว่าใคร
อยู่แถวหน้าถูกฉีดก่อน
อยู่แถวหลังก็รอลุ้นนาน
อยู่กลางๆแถวดีกว่า ☺️ไม่ต้องถูกฉีดคนแรกมีเวลาทำใจ และไม่ต้องลุ้นนาน😀
1
ภาพจาก https://www.cedars-sinai.org/blog/vaccines-during-covid-19.html
เหมือนอย่างขณะนี้ ประเทศไทยของเราก็นับว่าเป็นประเทศ”แถวกลาง”ที่รอให้คนอื่นเขาฉีดไปก่อน แล้วเราค่อยมาสังเกตว่ามีผลอะไรบ้าง จะเตรียมตัวรับมืออย่างไร
เดี๋ยวก็จะถึงตาเราบ้าง ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ก็ถือว่า ไม่ช้าเกินไปนะคะ😀
ที่จริงแล้วมีประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วประเทศหนึ่งค่ะที่เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิดช้ากว่าประเทศอื่นๆ
คือ ประเทศญี่ปุ่นค่ะ
ญี่ปุ่นเพิ่งได้รับวัคซีนล็อตแรกเมื่อ 12 กพ 2021 นี้เอง
ญี่ปุ่นได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ที่ผลิตโดย Pfizer ล็อตแรกจำนวน 400,000โด๊ส จากBelgium เมื่อวันที่ 12 กพ 2021 และจะเริ่มฉีดให้กับแพทย์ และพยาบาล 20,000 คน จากโรงพยาบาล 100 แห่งทั่วประเทศ
1
กลุ่มที่จะได้รับการฉีดต่อไปช่วงกลางเดือน มีนาคม คือ บุคลาการทางการแพทย์ที่ทำงานด่านหน้า ตามด้วยคนที่อายุเกิน 65 ปี จะได้ฉีดเร็วที่สุดในเดือนเมษายน
ญี่ปุ่นเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ที่เริ่มฉีดวัคซีนนี้ช้าที่สุด หลังจากที่อเมริกาได้ฉีดไปแล้วกว่า 17 ล้านโด๊ส
ภาพจาก https://www.japantimes.co.jp/news/2021/02/14/national/vaccination-skepticism-japan/
การที่รอดูว่าประเทศอื่นฉีดแล้วผลเป็นอย่างไรนั้นก็มีมีข้อดี คือ ถ้าไม่พบผลข้างเคียงมากขึ้นก็จะได้มั่นใจมากขึ้น และจะได้เปรียบเทียบผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละบริษัทได้ด้วย
🎈เราไปดูกันว่า ที่อเมริกาฉีดไปแล้วผลข้างเคียงเป็นอย่างไรบ้าง🎈
 
รายงานจาก JAMA Online 12 Feb 2021
ในช่วงระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2020 ถึง 18 มกราคม 2021 ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการฉีดวัคซีน ของบริษัท Pfizer and BioNtech ไปแล้วรวม 9 ,943 ,247 doses และ 7 ,581 ,429 doses ของ วัคซีนModerna (CDC unpublished data, February 2021)
ได้มีการรายงานความปลอดภัย และผลข้างเคียงของวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ไปยัง ระบบ Vaccine Adverse Event reporting System และแพทย์ที่ CDC (Center for Disease Control) ของอเมริกาได้ข้อสรุปและวิเคราะห์ดังนี้
พบ 66 รายที่มีอาการแพ้วัคซีนรุนแรง (Anaphylaxis) (ข้อมูลถึงวันที่ 18 มกราคม2021)
47 รายจากวัคซีน Pfizer คิดเป็น 4.7 ราย ต่อ 1 ล้านโด๊ส
19 รายจากวัคซีนของ Morderna คิดเป็น 2.5 รายต่อ 1 ล้านโด๊ส
เมื่อพิจารณาในแง่ของการเป็นโรคโควิด19 จนป่วยหนัก และถึงตาย เทียบกับข้อดีของวัคซีน ประโยชน์ของวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงต่ออาการแพ้อย่างรุนแรงค่ะ
เพราะโอกาสแพ้รุนแรงถือว่าพบได้น้อย และ รักษาหายได้ โดยการฉีดยาอย่างทันท่วงที ณ สถานที่ฉีดวัคซีน
วัคซีนป้องกันโควิดที่ใช้ในอเมริกาทั้ง 2 ยี่ห้อเป็นชนิดmRNA ซึ่งมีโอกาสที่จะแพ้รุนแรงได้ ถึงแม้จะพบได้น้อยมากๆ
ภาพจาก https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736%2820%2931239-3/fulltext
🌟แต่วัคซีนป้องกันโควิด ที่จะมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็น วัคซีนชนิดเชื้อตัวตาย(Inactivated vaccine)ของบริษัท Sinovac จากประเทศจีน ยังไม่พบอาการแพ้รุนแรง(anaphylaxis) 🌟
🎈เรื่องความปลอดภัยไว้วางใจได้ค่ะ🎈
อ่านรายละเอียดวัคซีน Sinovac ได้ที่ลิ้งค์นี้https://www.blockdit.com/posts/601be49b09584d082053128a
ภาพจาก https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/Turkey-to-deploy-Chinese-COVID-vaccine
ผู้ที่เป็นโรคกลัวเข็มฉีดยา แต่อยู่ในกลุ่มที่มีสิทธิ์ได้ฉีดวัคซีนก่อน ใน 10 จังหวัดนำร่อง ก็ขอให้เดินเข้าแถวรับการฉีดกันเถอะค่ะ สูดหายใจยาวๆเข้าไว้
เดี๋ยวเดียวก็เรียบร้อยแล้วค่ะ 😀
ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ตาม 8 ขั้นตอนการรับวัคซีนป้องกันโควิด19 ดังนี้
1.จุดคัดกรอง ลงทะเบียนทำบัตร
2.ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต
3.ประเมินความเสี่ยง ลงนามในใบยินยอม
4.รอฉีดวัคซีน
5.ฉีดวัคซีน
6.พักสังเกตอาการ 30 นาที
7.รับเอกสารการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน
8.ระบบการติดตามผล หลังการฉีดวัคซีน ด้วยช่องทาง Line Official Account “หมอพร้อม”
10 จังหวัดเริ่มต้นฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด
สมุทรสาคร กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และมีการระบาดมาก
ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ตาก
กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับกลุ่มเสี่ยงในระยะแรก ได้แก่
1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
2.บุคคลที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังที่อยู่ระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง)โรคหลอดเลือดสมองโรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ในระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัดและภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน และ โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ
1
3.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
❤️ไม่ว่าจะกลัวเข็มหรือไม่กลัวเข็มก็พร้อมใจกันไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิดกันเถอะ!❤️
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา