Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
YouRead YouKnow : คุณอ่านคุณรู้
•
ติดตาม
17 ก.พ. 2021 เวลา 02:09 • สิ่งแวดล้อม
3ข้อ ที่จะทำให้คุณรู้จักกับพลาสติก rPET ยิ่งขึ้นไปอ่านเลยจ้า >>>>>
ข้อ 1 : ทางเลือก?
กระแสลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งกำลังได้รับความนิยมกันแพร่หลายมากขึ้น ทำให้บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือผู้ผลิตสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายแห่งพยายามหาวิธีใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ เช่น การพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า rPET (Recycled polyethylene terephthalate) หรือพลาสติกชนิด “พอลิเอทิลคน เทเรฟทาเลตทีรีไซเคิล”
พลาสติกชนิดนี้นิยมนามาผลิตเป็นขวดน้ำ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ขวดเพ็ต” หรือ “ขวดพีอีที” นั่นเอง
การผลิตขวดหรือบรรจุภัณฑ์จาก PET ส่วนใหญ่ต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ๆ ที่เรียกว่า virgin plastic เมื่อผลิตมากขึ้นก็ยิ่งสร้างขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นด้วย แต่หากลดการใช้ virgin plastic และนำ PET มารีไซเคิลจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้มหาศาลเลยทีเดียว
ข้อ 2 : ใครใช้ rPET บ้าง??
- แบรนด์สินค้าอย่าง Adidas และ Nike ผลิตรองเท้าและเสื้อกีฬาที่มาจาก rPET และขยะพลาสติกอื่นๆ มาจากทะเล
- บริษัทชั้นนำ Patagonia ที่นำ rPET มาผลิตเสื้อผ้า และอุปกรณ์กีฬากลางแจ้ง
- บริษัท Interface ที่นำแหจับปลา และ rPETมาผลิตเป็นพรมรีไซเคิล
- Nestle ในอเมริกาเหนือที่ประกาศว่าจะใช้ขวดที่ทำจาก rPET 100% ผลิตน้ำดื่ม 3 แบรนด์ โดยคาดหวังว่าภายในปี 2025 ทั้งบริษัทจะสามารถเปลี่ยนมาใช้ให้ได้มากกว่า 50%
- บริษัท PepsiCo เริ่มใช้ขวดที่ทำจาก rPET บรรจุน้ำผลไม้สมูทตี้ แบรนด์Naked
- บริษัท Coca-Cola เริ่มบรรจุ โค้ก แฟนน้า สไปร์ท ในการขวดที่ผลิตจาก rPET 50% และมีแผนจะใช้ 100% ในปีนี้
ข้อ 3 : กระบวนการผลิต rPET
ขวด หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกทิ้งในถังขยะหากเรามีระบบการรีไซเคิลขยะที่ดีพอ ขยะจาก PET จะถูกคัดแยกออกจากพลาสติกชนิดอื่น และส่งไปยังโรงรีไซเคิล PET โดยเฉพาะ เพื่อล้างทำความสะอาดสารที่อาจปนเปื้อนออก แยกสี และบดให้เป็นเกล็ด หรือเม็ด
ซึ่งเกล็ด หรือเม็ด rPET นี้ สามารถนำไปขายเป็นวัสดุ สำหรับผลิตเป็นเสื้อผ้า พรม ฉนวน หรือขวดน้ำเพื่อใช้ซ้ำแล้วนำมารีไซเคิลต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
ในประเทศไทยจะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไไซเคิลหลายอย่างแล้ว แต่กฏหมายไทยยังไม่อนุญาตให้นำ PET มารีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหาร โดยประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฉบับที่ 295 พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ใช้ภาชนะบรรจุที่ทำขึ้นจากพลาสติกที่ใช้แล้วบรรจุอาหาร เว้นแต่ใช้เพื่อบรรจุผลไม้ชนิดที่ไม่รับประทานเปลือก”
แม้ทางสำนักคณะกรรมการอาหารและยาเคยตั้งคณะทำงานทบทวนแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว สรุปเห็นได้ว่าต้องมีศึกษาสภาพปัญหา และพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยอย่างแท้จริงก่อน
ฝากกดติดตาม กดใจถูกใจกันด้วยนะคะ 🥰
เครดิตดีดี : the 101 world
#ความรู้ทั่วไป #rPET #PET
บันทึก
13
9
10
13
9
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
โฆษณา
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย