Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Six Sigma Playground by ครูพลอย
•
ติดตาม
16 ก.พ. 2021 เวลา 23:50 • ธุรกิจ
การสร้าง Continuous Improvement Culture ในองค์กรโดยใช้ศาสตร์ Six Sigma และการปรับใช้ในมุมธุรกิจ
Six Sigma Coaching by Ploy-พา-Ploen
SIX SIGMA IN YOUR ORGANIZATION
ON-RAMP 3 : PROBLEM SOLVING
แต่ละองค์กรมีความแตกต่างในการทำธุรกิจ ต่างอุตสาหกรรม ต่างกระบวนการผลิต ต่างด้วยโครงสร้างภายในขององค์กร และต่างในสถานการณ์การแข่งขันในตลาด
การนำศาสตร์ Six Sigma ใช้ในองค์กรก็ย่อมมีความแตกต่างกัน
หากเรามองว่าศาสตร์ Six Sigma เป็นเหมือนถนนที่องค์กรจะเดินทางไปยังอนาคตที่ดีกว่า
ถนนนี้มี 3 เส้นทางที่จะนำพาองค์กรไปในทางที่แตกต่างและถึงปลายทางที่แตกต่างกัน
เส้นทางที่องค์กรคุณเลือก จะเป็นตัวกำหนดวิธีการ ขอบเขตและความเข้มข้นของ Six Sigma ต่อองค์กรและพนักงานค่ะ
โพสนี้ ครูพลอยจะพูดถึงเส้นทางที่ 3
(ย้อนอ่านเส้นทางที่ 1 และ 2 ในโพสก่อนหน้า)
เส้นทางที่ 1 การแปลงร่างองค์กรหรือธุรกิจ
ON-RAMP 1 : The Business Transformation
เส้นทางที่ 2 การปรับปรุงกลยุทธ
ON-RAMP 2 : Strategic Improvement
เส้นทางที่ 3 การแก้ปัญหา
ON-RAMP 3 : PROBLEM SOLVING
การแก้ปัญหาเป็นเส้นทางที่องค์กรต่างๆ เลือกใช้มากที่สุด
ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้ศาสตร์ Six Sigma
โดยจะมุ่งเน้นไปยังปัญหาที่เกิดซ้ำๆ
ปัญหาที่เคยลงมือแก้ไข แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
Problem Solving การแก้ปัญหา จะเป็นเส้นทางที่เลือกขององค์กรค่ะ
โดยเริ่มจากการจัดฝึกอบรมคลาส Six Sigma ไม่ว่าจะเป็น Yellow Belt (Basic problems) Green Belt (Complex problems) หรือ Black Belt (Most complex problems)
ในศาสตร์ Six Sigma ที่เราเรียนรู้จะมีเครื่องมือ (Six Sigma Tools) ที่หลากหลาย นำไปใช้ในแต่ละขั้นตอนของการแก้ปัญหาและใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
คลาส Yellow Belt ที่เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐาน ปัญหาที่ไม่ซับซ้อน หรือปัญหาภายในแผนก ก็จะมี Tools ที่ง่ายในการใช้งาน เพราะปัญหาไม่ได้ซับซ้อน
แต่ในคลาส Green Belt และ Black Belt จะมี Tool ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามปัญหาซับซ้อนที่เราจะแก้
เพราะการลงมือแก้ปัญหาที่ซับซ้อน จะเกิดผลกระทบมากตามไปด้วย การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนจึงต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก การวิเคราะห์เชิงสถิติจึงสำคัญมาก
Tools ที่เรียนรู้เหล่านี้ จะทำให้เราวิเคราะห์ปัญหาได้ดีขึ้นและหาวิธีแก้ไขที่ใช่มากขึ้น โดยใช้ facts และการเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงและเป้าหมายที่เราตั้งไว้
เส้นทาง Problem Solving นี้ เหมาะกับองค์กรที่อยากให้พนักงานมีทักษะในการแก้ปัญหาจากศาสตร์ Six Sigma
โดยไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กรค่ะ
หากองค์กรของคุณเลือกเส้นทางนี้ การเริ่มต้นจะเริ่มจากกลุ่มคนที่ไม่มาก ลงแรงไม่มาก และมีโอกาสที่จะขยายให้กว้างขึ้น
ข้อดีของเส้นทางนี้คือ คุณจะมุ่งเน้นไปยังปัญหาที่สำคัญ
ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานั้นๆ โดยใช้ข้อมูลจริงและการวิเคราะห์ที่มีเหตุและผลมากกว่าการใช้ความรู้สึก
ยกตัวอย่าง
บริษัท Real Estate แห่งหนึ่งได้จัดคลาส Six Sigma
อบรมให้กับพนักงาน 2-3 คลาส
หลังจากเรียนเสร็จ ได้ตั้งทีมงานขึ้นมาและมอบหมายให้ลงมือนำการแก้ปัญหาที่สำคัญ โดยมี Black Belt ทำหน้าที่โคชในการแก้ปัญหา
บริษัทนี้สามารถแก้ปัญหานั้นได้ภายใน 3 เดือนค่ะ
นี่คือจุดเริ่มต้นที่บริษัทนี้เห็นผลลัพธ์จากการเลือกเส้นทาง
Problem Solving และมีแผนที่จะขยายออกไปยัพนักงานกลุ่มใหม่อีกด้วย
เส้นทางนี้ เป็นเส้นทางที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงน้อย
องค์กรของคุณอาจจะเริ่มจากเส้นทางนี้ก่อนก็ได้นะคะ
Credit : WHAT IS SIX SIGMA by Pete Pande and Larry Holpp
ครูพลอย
https://www.facebook.com/ployparploen/
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย