ep.1 ทำไมผลไม้จึงสุก??
เวลาเราไปเดินตลาด เลือกซื้อผลไม้ เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมผลไม้แต่ละชนิดเนี่ย มีลักษณะการสุกไม่เหมือนกัน กล้วยเวลาเราซื้อกับมาบ้าน เอาไว้นานวันเริ่มเปลี่ยนสี แต่ส้มเอาไว้นานเท่ากล้วยสีกลับเหมือนเดิม หรือกล้วยเอาไว้หลายวันกลับมีรสหวานมากขึ้น แต่ส้มดันหวานน้อยลง นี่ยกตัวอย่างผลไม้เพียงสองชนิดนะครับ จริงๆมีผลไม้ไม้อีกหลายอย่างที่มีความแตกต่างกันอีกครับ ผมขออธิบายแบบนี้ครับ
ผลไม้ในโลกนี้ ตามหลักของ postharves (วิทยาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว....เดี่ยวมาพูดคุยเกี่ยวกับสาขาวิชานี้อีกทีครับ) เราแบ่งผลิตผลทางพืชสวนตามวิธีการหายใจของพืชนั้นๆได้2แบบครับ
1.climacteric fruit หมายถึงผลไม้ที่มีอัตราการหายใจเปลี่ยนแปลงตามอายุ นับจากที่ผลไม้แก่จัด หรือ ผลบริบูรณ์ (maturity) อัตราการหายใจจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุด (climacteric peak) จากนั้นอัตราการหายใจจะค่อยๆ ลดลง เมื่อผลไม้เริ่มสุกจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภายใน เช่น มีการเปลี่ยนสีของเปลือก การเปลี่ยนสตาร์ชให้เป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้สุกมีรสหวาน เนื้อนิ่ม กลิ่นหอมมากกว่าผลไม้ดิบ(http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1105/climacteric-fruit) -อธิบายแบบไม่งงก็คือ ผลไม้ที่หลังเก็บจากต้นแล้ว นำมาวางไว้แล้วยังสุกต่อหรือเอาไปบ่มต่อได้ ผลไม้ประเภทนี้ จะมีการหายใจเพิ่มขึ้นและสร้างน้ำตาลมากขึ้นจนหมดอายุไข ยกตัวอย่างผลไม้ในกลุ่มนี้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล สาลี่ มะละกอ เป็นต้น
2.Non-climacteric fruit หมายถึง ประเภทของผลไม้ ซึ่งหมายถึงผลไม้ ที่มีอัตราการหายใจค่อยๆ ลดลงเมื่อผลไม้อายุมากขึ้น
และเมื่อผลไม้สุกอัตราการหายใจจะไม่เพิ่มขึ้น เมื่อเก็บเกี่ยวมาจากต้นแล้วจะไม่สุกต่อ และไม่สามารถบ่มให้สุกได้โดยใช้
-อธิบายแบบไม่งงคือ ผลไม้กลุ่มนี้จำเป็นต้องเก็บตอนที่สุกแล้ว ถ้าเก็บตอนยังไม่สุกมันจะไม่สุกอีก บ่มให้สุกไม่ได้ เช่น ส้มโอ มะนาว ส้ม องุ่น เป็นต้น ข้อมูลเพิ่มเติมคือ ผลไม้กลุ่มนี้ถ้าดูแลไม่ดี เช่น ถ้าไม่ใส่ปุ่ยเพื่อทำให้หวาน เก็บมามันก็จะไม่หวาน เคยซื้อส้มที่ตลาดแล้วไม่หวานไหมครับ อันนี้อย่าโทษแม่ค้าเลยครับ โทษคนปลูก 55
ที่นี้ผมคิดว่าทุกคนคงพอเข้าใจประเภทผลไม้แบบคร่าวๆแล้วใช่ไหมครับ ตอนต่อไปผมจะอธิบายต่อในเรื่องกลไกที่ทำให้ผลไม้สุกเพื่อให้ทุกคนเข้าใจเพิ่มเติมอีกครับ
#ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรสามารถแจ้งได้นะครับ