17 ก.พ. 2021 เวลา 06:21 • ประวัติศาสตร์
“จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito)” จักรพรรดิโชวะแห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย
“จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito)” เป็นพระประมุของค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น และครองราชย์ตั้งแต่ค.ศ.1926-1989 (พ.ศ.2469-2532)
1
พระองค์เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) ที่กรุงโตเกียว โดยพระนามแรกประสูติคือ “เจ้าชายมิจิ (Prince Michi)”
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะขณะทรงพระเยาว์
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน “เจ้าชายโยชิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร (Crown Prince Yoshihito)” หรือภายหลังคือ “จักรพรรดิไทโช (Emperor Taisho)” และ “เจ้าหญิงซาดาโกะ มกุฎราชกุมารี (Crown Princess Sadako)” หรือภายหลังคือ “จักรพรรดินีเทเม (Empress Teimei)”
จักรพรรดิไทโช (Emperor Taisho)
จักรพรรดินีเทเม (Empress Teimei)
ขณะที่เจ้าชายมิจิมีพระชนมายุได้ 11 พรรษา พระอัยกา (ปู่) ของพระองค์ คือ “จักรพรรดิเมจิ (Emperor Meiji)” สวรรคต พระราชบิดาจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
เมื่อพระราชบิดาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาทและบรรจุเข้าสู่กองทัพบกและกองทัพเรือ
1
เจ้าชายมิจิได้ศึกษาในโรงเรียนสำหรับครอบครัวชั้นสูงตั้งแต่ปีค.ศ.1908-1914 (พ.ศ.2451-2457) และได้ทรงเข้ารับการฝึกพิเศษตั้งแต่ปีค.ศ.1914-1921 (พ.ศ.2457-2464)
1
พระองค์เป็นพระราชวงศ์องค์แรกที่ได้เสด็จประพาสยุโรป โดยเสด็จไปยังสหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งการเสด็จพระราขดำเนินเยือนต่างประเทศนี้ ทำให้พระองค์ทรงนิยมวัฒนธรรมตะวันตก ทั้งอาหารและเสื้อผ้า
3
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะขณะเป็นมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
เมื่อเสด็จกลับญี่ปุ่น เจ้าชายมิจิได้รับแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมารในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464) เนื่องจากขณะนั้นพระราชบิดาทรงพระประชวร ไม่สามารถบริหารประเทศ
ช่วงที่เจ้าชายมิจิเป็นผู้สำเร็จราชการ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส การลอบปลงพระชนม์พระองค์ รวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ
1
ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467) เจ้าชายมิจิได้อภิเษกสมรสกับ “เจ้าหญิงนางาโกะ (Princess Nagako)” หรือภายหลังคือ “จักรพรรดินีโคจุง (Empress Kojun)” โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชบุตรเจ็ดพระองค์
1
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะและจักรพรรดินีโคจุง
ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1926 (พ.ศ.2469) จักรพรรดิไทโชสวรรคต เจ้าชายมิจิจึงได้ขึ้นครองราชย์ เป็น “จักรพรรดิโชวะ (Emperor Showa)” และรัชสมัยของพระองค์ก็ถูกเรียกว่า “ยุคโชวะ (Showa)” โดยมีความหมายว่า “สันติภาพแห่งการรู้แจ้ง”
ตามธรรมเนียมของญี่ปุ่น จักรพรรดิคือผู้สืบสายมาจาก “อามาเทราสุ (Amaterasu)” ผู้เป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์ จักรพรรดิจึงเปรียบเสมือนสมมติเทพ
1
อามาเทราสุ (Amaterasu)
รัชสมัยของพระองค์ถือว่าเป็นยุคสมัยแห่งความวุ่นวาย เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เริ่มจะแย่ตั้งแต่ก่อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซะอีก กองทัพก็ต้องการจะมีอำนาจเพิ่ม มีผู้พยายามลอบปลงพระชนม์พระองค์ นายกรัฐมนตรีก็ถูกสังหาร และได้มีความพยายามจะก่อกบฏในปีค.ศ.1936 (พ.ศ.2479)
ในปีค.ศ.1931 (พ.ศ.2474) ญี่ปุ่นได้รุกรานและยึดแมนจูเรีย ก่อนจะรุกรานจีนในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War)
1
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะไม่ได้ทรงบัญชาการทัพในจีน และพระองค์ก็ทรงเป็นกังวลว่าสหภาพโซเวียตอาจจะคัดค้านการรุกราน หากแต่พระองค์ก็ได้พระราชทานคำปรึกษาทางทหารแก่กองทัพ
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War)
ถึงแม้ภาพลักษณ์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะจะดูอ่อนแอ เป็นเหมือนกับหมากของกองทัพ หากแต่พระองค์ก็ทรงกระตือรือร้นในเรื่องการศึก โดยพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ใช้อาวุธเคมีกับชาวจีน และทรงยินยอมให้โจมตีฐานทัพเพิร์ล ฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) ของญี่ปุ่น
ในระหว่างสงคราม พระองค์ทรงมีรับสั่งให้กองทัพถวายรายงานแก่พระองค์อยู่เสมอ และพระองค์ก็ทรงงานคู่กับนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ ซึ่งในอดีตนั้น พระราชวงศ์ไม่ลงมาเกี่ยวข้องเรื่องการบริหารราชการบ้านเมืองเท่าไรนัก
1
ในช่วงแรกของสงคราม จักรพรรดิฮิโรฮิโตะก็ทรงตื่นเต้นยินดีกับชัยชนะของญี่ปุ่น หากแต่ในช่วงหลัง ญี่ปุ่นกลับเสียเปรียบเรื่อยๆ
การโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
สื่อมวลชนของญี่ปุ่นยังคงรายงานข่าวชัยชนะของญี่ปุ่นอยู่เรื่อยๆ หากแต่ประชาชนก็เริ่มไม่เชื่อ และคิดว่าสถานการณ์ของญี่ปุ่นไม่น่าจะดีเท่าไรนัก สหรัฐอเมริกาก็โจมตีญี่ปุ่นทางอากาศในปีค.ศ.1944 (พ.ศ.2487) ทำให้ความหวังที่จะพบกับชัยชนะของชาวญี่ปุ่นมลายหายไป
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าแพ้ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะจึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งทางวิทยุ โน้มน้าวให้ชาวญี่ปุ่นในเกาะไซปันฆ่าตัวตาย ดีกว่ายอมแพ้สหรัฐอเมริกา ซึ่งก็มีชาวญี่ปุ่นกว่า 1,000 คนที่เชื่อพระองค์ และทำการฆ่าตัวตายเมื่อรู้ว่ายุทธการที่ไซปัน (Battle of Saipan) ฝ่ายญี่ปุ่นแพ้แล้ว
3
ต้นปีค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) จักรพรรดิฮิโรฮิโตะยังทรงคาดหวังที่จะชนะในสงคราม โดยพระองค์ทรงพบปะ พูดคุยกับผู้นำรัฐบาลและกองทัพเป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งเกือบทุกคนก็ถวายคำแนะนำให้สู้ต่อ
3
ถึงแม้ว่าเยอรมนีจะยอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) หากแต่ญี่ปุ่นยังคงสู้ต่อไป แต่เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดยังฮิโรชิม่าและนางาซากิ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะจึงทรงยอมแพ้
2
การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า
15 สิงหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) จักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงมีพระราชกระแสรับสั่งยอมแพ้ ออกอากาศทางวิทยุ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นได้ยินพระสุรเสียงขององค์จักรพรรดิเป็นครั้งแรก
1
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง หลายฝ่ายเห็นว่าจักรพรรดิฮิโรฮิโตะควรได้รับโทษในฐานะของอาชญากรสงคราม โดยพระองค์ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กองทัพญี่ปุ่นทำลงไป อีกทั้งพระองค์ยังทรงให้ใช้อาวุธเคมีอีกด้วย
1
แต่สหรัฐอเมริกาก็เกรงว่าหากตัดสินโทษองค์จักรพรรดิ เหล่าชาวญี่ปุ่นคลั่งชาติอาจจะไม่อยู่เฉย ก่อความวุ่นวายก็เป็นได้ สหรัฐอเมริกาจึงคิดว่าจำเป็นต้องเก็บจักรพรรดิฮิโรฮิโตะไว้ก่อน และในขณะเดียวกัน พระอนุชาทั้งสามพระองค์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะก็ได้ทูลให้พระองค์ทรงสละราชสมบัติ และแต่งตั้งหนึ่งในสามพระองค์นี้เป็นผู้สำเร็จราชการจนกว่า “เจ้าชายอากิฮิโตะ (Prince Akihito)” หรือภายหลังคือ “จักรพรรดิอากิฮิโตะ (Emperor Akihito)” พระราชโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ จะมีพระชนมายุถึงวัยที่จะครองราชย์
2
จักรพรรดิอากิฮิโตะ (Emperor Akihito)
แต่สหรัฐอเมริกาไม่ยินยอมให้จักรพรรดิฮิโรฮิโตะทำเช่นนั้น พระองค์จะได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิต่อไป หากแต่พระองค์ต้องเลิกสถานะ “สมมติเทพ” ของพระองค์ ซึ่งอันที่จริง ชาวญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามก็ไม่ได้มองจักรพรรดิเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป หากแต่ในต่างประเทศ ความเป็นสมมติเทพของจักรพรรดิญี่ปุ่นนั้นถูกนำเสนอผ่านสื่อ และถูกวิจารณ์ว่าล้าหลัง
“นายพลดักลาส แม็คอาร์เทอร์ (Douglas MacArthur)” แห่งกองทัพอเมริกัน เมื่อคราวถ่ายรูปร่วมกับจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ แม็คอาร์เทอร์ได้ยืนเสมอกับจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ซึ่งในอดีตไม่เคยมีใครทำมาก่อน อีกทั้งแม็คอาร์เทอร์ยังมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าจักรพรรดิฮิโรฮิโตะมาก
2
การกระทำนี้ นักประวัติศาสตร์บางคนวิเคราะห์ว่าสหรัฐอเมริกาต้องการจะสื่อความหมายว่าตนนั้นยิ่งใหญ่กว่าสมมติเทพของญี่ปุ่น ถึงแม้องค์จักรพรรดิจะเป็นสมมติเทพ หากแต่ก็ต้องอยู่ใต้สหรัฐอเมริกา
1
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะและแม็คอาร์เทอร์
จักรพรรดิฮิโรฮิโตะยังปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลาอีกกว่า 40 ปี ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) ด้วยพระชนมายุ 88 พรรษา
โฆษณา