17 ก.พ. 2021 เวลา 14:40 • สุขภาพ
วันนี้ที่ญี่ปุ่นเริ่มฉีดวัคซีน #โควิด19 จาก Pfizer เป็นครั้งแรก แต่น่าแปลกที่คนญี่ปุ่นเพียงแค่ 50% เท่านั้นที่อยากจะฉีดวัคซีน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
#5minread #JustAsk
3
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่อยากฉีดวัคซีนโควิด-19
เนื่องจากการแข่งขันโอลิมปิกในญี่ปุ่นที่กำลังจะเข้ามาถึงในอีก 200 วันนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโปรแกรมการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศ
แต่ผลสำรวจกลับพบว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเชื่อถือในวัคซีนต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยพบว่ามีประชากรแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่อยากจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด
3
ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าการอนุมัติวัคซีนโควิด-19 เป็นไปอย่างล่าช้า ยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศ โดยวัคซีน Pfizer-BioNTech เพิ่งได้รับการอนุมัติเป็นเจ้าแรกให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง
1
ความไม่มั่นใจนี้ ทำให้เกิดการพัฒนากล่องแชทตัวการ์ตูนรูปสุนัข (ภาพประกอบ) ผ่านแอพพลิเคชัน Line ซึ่งเป็นน้องหมาสายพันธุ์ชิบะ ที่มีชื่อว่า Corowa-kun ชื่อนี้เกิดจากการรวมกันของคำว่า Coronavirus และ Vaccine โดย Corowa-kun สวมใส่เสื้อกาวน์สีขาว เพื่อตอบคำถามทางการแพทย์แก่สาธารณะแบบอัตโนมัติ
แต่เพราะเหตุใดชาวญี่ปุ่นถึงไม่เชื่อถือวัคซีนป้องกันโควิดกันล่ะ
ดร. Yuji Yamada จากโรงพยาบาล Mount Sinai Hospital ผู้เป็นหนึ่งในผู้พัฒนากล่องข้อความดังกล่าว มีคำตอบว่า ความไม่เชื่อถือนี้น่าจะเกิดจากปัจจัย 3 ประการ ได้แก่
1. การที่สื่อของญี่ปุ่นเคยส่งต่อข้อมูลที่เกินจริงจนทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่อวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human papillomavirus, HPV) ในญี่ปุ่น แม้แต่รัฐบาลก็ไม่ได้แนะนำให้ประชาชนฉีดวัคซีน HPV ดังกล่าว ทำให้ภาคประชาชนอาจจะรู้สึกถึงความเสี่ยงในการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ด้วย
2. สถานการณ์โควิด-19 ที่ญี่ปุ่นไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น ทำให้ประชาชนประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของการติดเชื้อน้อยกว่าที่ควร
3. ความไม่น่าเชื่อถือของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งอาจส่งผลต่อความไม่มั่นใจในตัววัคซีน
2
ซึ่งเหตุผลข้อที่ 1 นี้สอดคล้องกับงานวิจัยในญี่ปุ่นที่ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาเรื่องสื่อเล่นประเด็นเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน HPV เช่น อาการปวดเรื้อรัง อาการบกพร่องทางร่างกาย เป็นต้น จนทำให้เกิดความไม่มั่นใจในวัคซีนและอัตราส่วนของเด็กสาวที่เข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าวน้อยลงอย่างมากจนเหลือแค่ 1%
6
นอกจากนั้น Takeshi Yoda และ Hironobu Katsuyama ได้ศึกษาความสมัครใจในการเข้ารับวัคซีนโควิดในญี่ปุ่น พบว่าเหตุผลส่วนใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมงานวิจัยรู้สึกไม่แน่ใจในการเข้ารับการฉีดวัคซีน มีส่วนมาจากความกังวลในเรื่องผลข้างเคียงและความปลอดภัย และเกือบ 20% ไม่เชื่อเรื่องประสิทธิภาพด้วยซ้ำ
2
นอกจากนั้น เป็นไปได้ว่าด้วยเหตุผลที่วัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ จึงทำให้เกิดความกังวลใจในด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษ ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาต่อสาธารณะจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น รวมทั้งความไว้วางใจในบริษัทผู้ผลิตเอง รัฐบาลและหน่วยงานด้านสาธารณาสุขที่เกี่ยวข้อง ก็อาจจะส่งผลอย่างยิ่งต่อความไว้วางใจของประชาชนในการเข้าร่วมโปรแกรมการฉีดวัคซีนของรัฐบาล ซึ่งท้ายที่สุด จะส่งผลต่อภาคสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ
2
ความไม่เชื่อใจของชาวญี่ปุ่นนี้อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโปรแกรมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยเช่นกัน
1
อ้างอิง
ภาพประกอบ Corowa-kun จาก Reuters
โฆษณา