18 ก.พ. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
โรควิตกกังวล ไม่ได้น่ากลัวกว่าที่คิด
เคยเป็นกันไหมครับ ที่อยู่ๆก็คิดมากกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป จนเกิดความกลัวความกังวลตามมา บางครั้งก็คิดมากกับเรื่องหนึ่งจนเกินไปจริงๆ ทั้งๆที่เรื่องนั้นคนรอบตัวมองเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กๆแต่ตัวเรานั้นกลับมองว่ามันคือเรื่องที่ใหญ่มาก ใหญ่จน ต้องคิดแล้วคิดอีก คิดทุกๆแนวทางที่พอจะเป็นไปได้ แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก ลองหยุดคิดแล้วก้าวออกจากวงความคิดในหัว แล้วลองมองแบบคนรอบตัว คนอื่นๆเขามองกัน มันก็จริงนะที่ปัญหาที่เรามองนั้นนะ มันแค่เรื่องเล็กๆเรื่องหนึ่ง แต่ทำไมในช่วงเวลานั้นทำไมตัวเราถึงได้มองว่ามันคือเรื่องที่ใหญ่จนต้องเก็บมาคิดแล้วคิดอีกคิดจนปวดหัวสภาพจิตใจตกต่ำย่ำแย่
1
โรควิตกกังวล คืออะไร
เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการทาง กาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น เป็นต้น มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิดโรคมีปัจจัย จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน โรคมักเกิดร่วมกับความ ผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder)เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุและมีปัญหาในการดำเนินชีวิตแต่ก็มีปัญหาทางจิตเวช
1
สาเหตุการเกิดโรควิตกกังวลมี 2 ปัจจัยหลักดังนี้
1. พันธุกรรม หากพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล ลูกก็มีโอกาสเป็นโรควิตกกังวลเช่นกัน หรือมีพื้นฐานที่ไม่กล้าแสดงอารมณ์ออกมาและการมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล
2. สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดหรือ การประสบกับเหตุการณ์ต่างๆที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลแบ่งได้ 5 ประเภทหลักดังนี้
1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder , CAD )
คือ การมีความกังวลในเรื่องชีวิตประจำวันทั่วๆไปนานและมากเกินไป เช่น เรื่องงาน ครอบครัว หรือเรื่องเล็กๆน้อยๆ ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียดและความวิตกกังวลที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น กระวนกระวาย อ่อนเพลีย หงุดหงิด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการนอนหลับ
2.โรคแพนิก (Panic Disorder, PD )
คือ การที่อยู่ดีๆเกิดอาการกลัวและวิตกกังวลขึ้นมาเป็นพักๆโดยไม่มีสาเหตุหรือมีอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออก เจ็บหน้าอก รู้สึกสำลัก เวียนหัว คลื่นไส้หรือท้องปั่นป่วน หนาวสั่นหรือร้อนวูบวาบ มือเท้าชา กลัวว่าตัวเองจะตาย อาการของแพนิกไม่ใช่เป็นโรคร้ายแรงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายมาก ดังนั้นผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองกำลังหัวใจวายหรือเป็นโรคที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
3.โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias)
คือ การกลัวมากเกินไปเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง สถานการณ์บางอย่างหรือกิจกรรม บางอย่างที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวเลือด กลัวความืด กลัวที่แคบ เป็นต้น
4.โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder, OCD)
คือ ความคิดวิตกกังวลที่มีการคิดซ้ำๆและมีการตอบสนองต่อความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น คิดว่าลืมล็อคประตูก็จะคอยตรวจซ้ำๆว่าล็อคประตูหรือยัง คอยตรวจซ้ำไปซ้ำมา
5.โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD)
คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากประสบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายมาก
เช่น เผชิญกับภาวะเฉียดตาย ภาวะภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ร้ายแรง ถูกทำร้ายหรือ เห็นคนใกล้ตัวตาย เป็นต้น อาการเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เงียบเฉย ขาดการตอบสนอง ตกใจง่าย หวาดกลัว กังวลในเรื่องเล็กน้อย คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆและเกิดความกลัวและวิตกกังวลขึ้นมาใหม่เหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง รวมถึงหวาดกลัวสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
1
แนวทางการรักษาโรควิตกกังวล
การรักษาโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรค การรักษาหลักๆคือ การพูดคุยให้ คำปรึกษาด้วยการรับฟัง แสดงความเข้าใจ,ความเห็นใจและให้คำอธิบาย การทำจิตบำบัด การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy หรือ CBT) และการรักษาด้วยยาซึ่งมียาหลายกลุ่มที่สามารถกินเพื่อลด อาการวิตกกังวล
1
ขอขอบคุณข้อมูลดีเหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มได้ตามเว๊ปไซต์นี้เลย
โฆษณา