18 ก.พ. 2021 เวลา 04:34 • การเกษตร
พลับพลา สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพลับพลา
สมุนไพรพลับพลา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หลาย (แม่ฮ่องสอน), กะปกกะปู (พิษณุโลก), สากกะเบือละว้า (สุโขทัย), คอมขน (ชัยภูมิ), มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด), พลาขาว (ชุมพร), พลาลาย (ตรัง), พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง), พลับพลา ขี้เถ้า (ภาคกลาง), กอม กะปกกะปู คอม พลา ลาย สากกะเบือดง สากกะเบือละว้า หมากหอม (ภาคเหนือ), คอมเกลี้ยง พลองส้ม (ภาคตะวันออก), ก้อมส้ม คอมส้ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หมากหอม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), น้ำลายควาย พลาขาว พลาลาย (ภาคใต้), มลาย (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), จือมือแก (มลายู-ภาคใต้), ปะตัดหูเปี้ยว (เมี่ยน), เกลี้ยง, ก่อออม, กะผล้า, ขนาน, ข้าวจี่, จุกขวด, ม่วงก้อม, มะก้อม, มะคอม, ม้าลาย, ไม้ลาย, ลอมคอม เป็นต้น
ลักษณะของพลับพลา
• ต้นพลับพลา จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 15 ต้น ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและแตกล่อนเป็นสะเก็ดบาง ๆ เปลือกด้านในเป็นสีชมพูและมีเส้นใยเรียงตัวเป็นชั้น ที่กิ่งอ่อนและก้านใบจะมีขนลักษณะเป็นรูปดาวอยู่หนาแน่น โดยต้นพลับพลามักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบผสม และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-300 เมตร บ้างก็ว่า 100-600 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย กัมพูชา จีน ไปจนถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
สรรพคุณของพลับพลา
1. แก่นช่วยแก้หืด ด้วยการใช้แก่นพลับพลาผสมกับแก่นโมกหลวง แก่นจำปา ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ลำต้นสบู่ขาว ลำต้นพลองเหมือด และลำต้นคำรอก นำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยแก้หืดได้ หรือจะใช้เนื้อไม้หรือแก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเลยก็แก้หืดได้เช่นกัน (แก่น, เนื้อไม้)
2. เปลือกใช้ผสมปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี (เปลือก)
3. ช่วยกระจายโลหิต (ผลแก่)
4. ลำต้นใช้เป็นยาประกอบรักษาโรคลำไส้ (ลำต้น)
5. ผลแก่มีรสเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นยาระบาย (ผลแก่)
6. เปลือกต้นใช้ทำลายพิษของต้นยางน่องได้ (เปลือก)
ประโยชน์ของพลับพลา
1. ผลสุกใช้รับประทานได้
2. ผลเป็นอาหารโปรดของกระรอก มูสัง รวมไปถึงนกบางชนิด หากสังเกตให้ดีจะพบกระจอกได้มากหากพื้นที่นั้นมีการปลูกต้นพลับพลา
3. เปลือกให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกแบบหยาบ ๆ ได้
4. ผลดิบใช้เป็นของเล่นเด็กที่เรียกว่า "บั้งโผ๊ะ" หรือ "ฉับโผง" โดยนำมาใช้ทำเป็นกระสุนยิงจากกระบอกไม้ไผ่
5. ไม้พลับพลาเป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายแม้เป็นไม้สด คนใต้สมัยก่อนจึงนิยมนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพ และใช้ในการอยู่ไฟของสตรีคลอดบุตรใหม่ ๆ ส่วนน้ำมันยางจากเปลือกก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อีกด้วย
6. เนื้อไม้มีความทนทานสูงจึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือใช้ทำเครื่องเรือน
โฆษณา