Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Kids Proper : เด็กสมวัย
•
ติดตาม
18 ก.พ. 2021 เวลา 10:30 • ครอบครัว & เด็ก
6 ความเสี่ยง !!! หากปล่อยให้โทรศัพท์มือถือเลี้ยงลูกของคุณ
ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับตัวเพื่อดำเนินชีวิต เด็กในยุคสมัยนี้จะเติบโตขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยี โลกออนไลน์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือด้วย ในบริบทของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เราใช้โทรศัพท์มือถือไปกับการซื้อขาย ทำธุรกรรมทางการเงิน ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น แต่ในบริบทของเด็กเล็กนั้นยังไม่จำเป็นขนาดที่ต้องมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง ยิ่งในช่วงวัยสำคัญที่เด็กกำลังมีพัฒนาการด้านต่างๆของตน (Critical Period) อย่างวัย แรกเกิด – 6 ปี ที่สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูจะส่งผลอย่างมากต่อพัฒนาการของเด็ก และส่งผลต่อบุคลิกภาพในอนาคต แต่เป็นที่น่าตกใจอย่างมากที่พบว่ากว่า 25% ของเด็กอายุ 2-5 ปี ทั่วโลกมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองแล้ว(phychecentral, 2559) หากปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอมือถือมากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงที่ส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของลูก อย่างเช่น
1.ร่างกายไม่แข็งแรง
ในวัยเด็กแรกเกิด – 6 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน การที่เด็กดูหน้าจอวันละหลายๆชั่วโมง จะลดโอกาสที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาไม่แข็งแรง การทรงตัวทำได้ไม่ดี กล้ามเนื้อตา รวมถึงดวงตาอาจมีปัญหาเสื่อมก่อนวัยได้ การนั่งเฉยๆก็ไม่ได้กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าที่ควร
2.เส้นประสาทสมองพัฒนาได้น้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
ในเด็กวัยแรกเกิด – 6 ปี เป็นวัยทองของการพัฒนาสมอง เส้นประสาทในสมอง (neuron) จะสร้างอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก หากทักษะใดที่เด็กได้ทำด้วยตนเองเยอะ เส้นประสาทของทักษะนั้นก็จะยิ่งแตกแขนงและแข็งแรง หากเลยวัยไปแล้วทักษะใดที่ไม่ได้ใช้เลย เส้นประสาทในสมองก็จะผุกร่อนลง(pruning)
3.รอคอยไม่ได้
บนหน้าจอมีแต่ความรวดเร็วทันใจ ดูการ์ตูนอยู่อยากจะเปลี่ยนไปฟังเพลง เปลี่ยนกลับมาดูการ์ตูน ดูไม่จบอยากดูเรื่องอื่นแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนได้ในทันที เมื่อต้องกลับมานั่งรอคอยในโลกแห่งความจริง ก็จะยิ่งขัดใจและทำได้ยากขึ้น ( ลองนึกภาพตนเองกลับไปใช้คอมเครื่องเก่า ที่โหลดช้าๆ คุณจะรู้สึกหงุดหงิดแค่ไหน )
4.อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว
โทรศัพท์มือถือทำให้เด็กเคยชินกับการที่ได้รับการตอบสนองความต้องการในทันที เพราะเพียงปลายนิ้วสัมผัสก็ได้ตามสิ่งที่ต้องการ พอมาสู่โลกความจริง เด็กก็คาดหวังให้ทุกคนตอบสนองความต้องการของเขาในทันทีเช่นกัน เมื่อไม่ได้ในทันที ก็ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง หรือซึมเศร้าได้
5.พูดช้า เข้าสังคมได้ยาก
เพราะโทรศัพท์มือถือพูดกับเด็กอยู่ตลอดเวลา และพูดอยู่ฝ่ายเดียวไม่หยุด เด็กจึงไม่ได้เรียนรู้การพูด การหยุดพูดและรอให้อีกฝ่ายพูดจบ การตอบคำถาม การสังเกตและเลียนแบบสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง อารมณ์ของผู้พูด ส่งผลให้เกิดความยากต่อการเข้าสังคม อาจทำให้เป็นเด็กที่พูดช้า ในทางกลับกันอาจเกิดการพูดเลียนแบบ(Echolalia) เช่น พูดภาษาอังกฤษได้เป็นบทๆ(ไม่ได้ใช้สื่อสารกับใคร พูดออกมาลอยๆ)เหมือนเจ้าของภาษา (น้องไม่ได้พูดเอง แต่จำมาพูดเลียนแบบ) ซึ่งไม่ใช่ความเก่งแต่เป็นความผิดปกติชนิดหนึ่ง
6.เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมาธิสั้นเทียม
โรคสมาธิสั้นเทียมพบเจอเยอะขึ้นมากหลังจากการพัฒนาของสมาร์ทโฟน อาการหลักๆก็คือ หุนหันพลันแล่น ขาดสมาธิ รอคอยไม่ได้ และซุกซน ไม่อยู่นิ่ง
7.เด็กกลายเป็นลูกของโทรศัพท์มือถือ
อาจเป็นการเปรียบเปรยที่ดูรุนแรงไม่ใช่น้อย แต่การที่เด็กอยู่กับหน้าจอมากกว่าคุณนั่นหมายความว่า โอกาสในการพัฒนาสัมพันธภาพในครอบครัว จะลดน้อยลง ส่งผลถึงความเชื่อใจของเด็กต่อครอบครัว การขาดความรัก การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กอีกด้วย
นี่ก็คือ 6 + 1 ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากปล่อยให้ลูกของคุณถูกเลี้ยงดูโดยโทรศัพท์มือถือ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามไว้เพื่อเป็นกำลังใจให้เพจของเรา และเพื่อไม่พลาดบทความดีๆในครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28471
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30174
https://psychcentral.com/lib/how-do-smartphones-affect-childhood-psychology#3
https://www.cune.edu/academics/resource-articles/examining-effect-smartphones-child-development
บันทึก
2
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย