19 ก.พ. 2021 เวลา 00:05 • หนังสือ
"___ ตามกฎหมายแล้ว​ ถ้ามีคนไปแจ้งความร้องทุกข์​ ต่อ​ พนักงานสอบสวน​ หาก​ #เข้าหลักเกณฑ์เป็นคำร้องทุกข์ ตาม​ ป.วิ.อ.ม. ๒ (๗)​ พนักงานสอบสวนก็จะต้องรับคำร้องทุกข์นั้นไว้เป็นคดีตามกฎหมายและระเบียบเพื่อทำการสอบสวนไปตามกฎหมาย​ หากเข้สเกณฑ์เป็นคำร้องทุกข์​ แต่ไม่รับคำร้องทุกข์นั้นไว้เป็นคดีก็จะต้องถือว่า​ #เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย​ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด​ เป็นความผิด​ ตาม​ ป.อาญา​ ม.๑๕๗ โดยมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่​ ๑ ปี​ ถึง​ ๑๐​ ปี​ ฯ​
(เที่ยบ​ ฎ.๗๖๓๐/๒๕๔๙,๗๑๗/๒๕๑๑
และเนื่องจากศาลฎีกาได้วางหลักไว้​ใน​ คำพิพากษาศาลฎีกา​ ที่​ ๒๙๗๔/๒๕๑๖ ในทำนองว่า ​ ""... การร้องทุกข์​ กับการสอบสวนเป็นคนละส่วนกัน​ ดังนั้น​ #อำนาจในการร้องทุกข์จึงเป็นคนละเรื่องกับอำนาจสอบสวน​ ฉะนั้น​ จึงสามารถร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจสอบสวนก็ได้และถือเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย​
#ต่อมา​ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ​ จึงได้ระบุเรื่องการรับคำร้องทุกข์​ ว่า​ การร้องทุกข์นั้น​ #ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ได้ทุกท้องที่​ โดยไม่ต้องยึดโยงกับอำนาจสอบสวนก็ได้​ และมีคำสั่งให้ตำรวจและพนักงานสอบสวน​ #ต้องรับคำร้องทุกข์เอาไว้แม้ว่าตนองเองหรือท้องที่ของตนเองจะไม่มีอำนาจสอบสวนก็ตาม​ เมื่อรับไว้แล้วก็ให้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจต่อไป​ #เป็นไปตาม ​ คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ​ ที่​ ๔๑๙/๒๕๕๖ บทที่​ ๒ ข้อ​ ๑.๑.๓.๑ วรรคสอง
หากจะไม่รับคำร้องทุกข์​ ก็จะต้องเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า​ ยังไม่เข้าเกณฑ์เป็นคำร้องทุก์ตามกฎหมาย​ และต้องวินิจฉัยก่อนที่จะรับหรือไม่รับคำร้องทุกข์ด้วย​ หากไม่รับคำร้องทุกข์เอาไว้โดยไม่มีสาเหตุ​ #แม้ภายหลังจะพบว่าไม่เข้าเกณฑ์เป็นคำร้องทุกข์ก็ตาม​ แต่เมื่อตอนที่ไม่รับคำร้องทุกข์นั้นไม่ได้มีเหตุผลตามกฎหมาย​ จึงถือว่าความผิด​ ตาม​ ป.อาญา​ ม.๑๕๗​ เกิดขึ้นแล้ว​
(เที่ยบ​ ฎ.๗๖๓๐/๒๕๔๙,๒๘๘๐/๒๕๔๘,๑๒๑/๒๕๔๓)
🚩หลังจากผมโต้แย้งไปด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา พนักงานสอบสวนก็รับคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเอาไว้เป็นคดีเพื่อสอบสวนต่อไป​ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีทีท่าที่จะไม่รับคำร้องทุกข์​ ​ ___"
#คดีโลกคดีธรรม
โฆษณา