28 ก.พ. 2021 เวลา 03:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
สัปดาห์ที่ 4 กับการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Procreate แล้วว (สำหรับเพื่อน ๆ ที่ติดตามก็อยู่ ก็จะพอทราบว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 2-3 เราไม่ได้ทำอะไรเลย)
ซึ่งในสัปดาห์นี้ แผนการเรียนรู้ของเราก็คือ การเรียนรู้และฝึกใช้ Adjustment functions แผนของเราคือแบ่งเรียนวันละ 2-4 หัวข้อย่อย เพราะเราเห็นหัวข้อมันเยอะ เราเลยคิดว่ามันน่าจะยากพอสมควร
แต่พอได้เรียนรู้แล้วพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยยย adjustment functions เปรียบเสมือนการใส่ filters ให้กับผลงาน ซึ่งมีความหลากหลายและ ปรับรูปเล่นได้เยอะมาก เราเลยรู้สึกสนุกไปกับเรียนรู้ และมึนในเวลาเดียวกัน
มาดูกันดีกว่า กว่าทำไมเราถึงมึนในการเรียนรู้เครื่องมือนี้กันด้วยย
ภาพที่ 1 Adjustment functions
มาเริ่มที่อันแรกกันเลย function นี้เรียกวา "Hue,Saturation, Brightness" ซึ่งถ้าแปรออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว ก็จะหมายถึง สี ความอิ่มตัวของภาพ และความสว่างค่า เรามาดูกันนะคะ ว่าแต่ละอันคืออะไร
Hue หรือสีนั่นเอง แต่สีที่ออกมาจะเป็นสีที่เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสีนั้นๆไม่มีการเติมสีอื่นเข้าไปผสม นั้นเกิดขึ้นจากความยาวคลื่นของแสงที่สะท้อนสู่ตาเรานั่นเองค่า
Saturation หรือค่าความอิ่มตัวของสี จะมีการไล่ระดับจากสีที่มีความอ่อน-เข้ม ถ้าเพื่อน ๆ ปรับเป็นสีอ่อนสีจะมีความหม่น แต่ถ้าปรับไปฝั่งเข้มจะทำให้งานของเพื่อน ๆ มีความสดใสขึ้นค่ะ
Brightness มันคือค่าที่แสดงความสว่างหรือทึบของสี เหมือนกับการที่เพื่อน ๆ ผสมสีขาวหรือสีดำลงไป เพื่อเพิ่มหรือลดความสว่างให้กับสี
ภาพที่ 2 Hue, Saturation, Brightness
ถัดมาเรียกว่า color balance ค่ะ จะมีเครื่องมือหลัก ๆ 3 ส่วน ได้แก่ Shadows ไว้ปรับแต่งส่วนมืดของงาน Midtones ปรับแต่งน้ำหนักส่วนกลางของงานและสุดท้าย Highlights ปรับแต่งส่วนสว่างของงาน ซึ่งแถบสีที่เพื่อน ๆ เห็นจะเป็นสีคู่ตรงข้ามกัน แต่จะเป็นแบบ Hue น้า
ภาพที่ 3 Color Balance
จากภาพ 4 จะเป็นการปรับโทนงานแบบใช้กราฟน้า ที่เขียนว่า red ,green ,blue สีจะเหมือนกับ function color balance เลย แต่ลักษณะออกมาเป็นกราฟ ส่วนคำว่า Gamma จะเป็นการปรับความสว่าง-ความทึบ ในส่วนนี้เราจะมาพูดถึงกราฟกันนะคะ
เพื่อน ๆ จะเห็นว่าตัวตารางมีกราฟ 2 แกน คือแกน x เส้นแนวนอน และแกน y เส้นแนวตั้งที่ตัดกันเป็น 16 ช่องค่ะ จุดตัดของเส้นที่ 3 ทั้งสองแกน จะมีค่า x=0,y=0 ด้านขวาของแกน x จะมีค่าเป็น+ และค่าด้านซ้ายก็จะเป็น- ส่วนแกน y ค่าด้านบนจะเป็น+ ด้านล่างจะเป็นค่า - ค่ะ
5 ตำแหน่งของกราฟที่เพื่อน ๆ ควรรู้
1. x =2 ,y =2 คือ white point
2. x =1 ,y =1 คือ Highlights
3. x =0 ,y =0 คือ Midtones
4. x =-1 ,y =-1 คือ Shadows
5. x =-2 ,y =-2 คือ black point
(ต้องขอโทษล่วงหน้านะคะถ้าข้อมูลส่วนนี้ผิดพลาด เพื่อน ๆ สามารถเพิ่มเติม หรือลงความเห็นกันได้นะคะ)
ภาพที่ 4 Curves
ต่อมาก็จะเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Gradient Map คือการไล่โทนสีของโดยอ้างอิงสีใน Mode Grayscale จากดำไปขาว เช่น เราไล่โทนสี สีน้ำตาลเข้ม-สีขาว ภาพส่วนที่โทนสีดำ จะถูกไล่สีเป็นโทนสีน้ำตาลเข้ม และจะถูกไล่มาเรื่อย ๆ ตามที่เพื่อน ๆ กำหนดจนถึงส่วนโทนสีขาวจะไล่สีเป็นโทนขาวตามที่เราตั้งไว้นั่นเองค่า
ซึ่งทางโปรแกรมก็จะมีให้ในบางส่วน หรือ เพื่อน ๆ ก็สามารถสร้างเองได้ด้วยค่ะ
ภาพที่ 5 Gradient Map
ในส่วนของภาพที่ 6-8 ก็จะเป็นการปรับงานให้เบลอ ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งตัวโปรแกรมจะมีอยู่ 3 แบบด้วยกันนน
Gaussian blur การเบลอที่จะทำให้งานนั้นดูนุ่มนวลขึ้นหรือดูซอฟต์ ๆ
Motion blur การเบลอที่กำหนดทิศทาง ระยะทางมากก็จะมีค่าการเบลอสูงตาม
Perspective Blur การเบลอที่มีจุดรวมสายตาไปที่จุดใดจุดหนึ่งตามที่เพื่อน ๆ เลือก
ภาพที่ 6 Gaussian blur
ภาพที่ 7 Motion blur
ภาพที่ 8 Perspective Blur
มาต่อกันที่ function noise กันเลยค่ะ ความจริงแล้วการถ่ายภาพ noise คือสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในภาพ ทำให้เห็นความไม่สม่ำเสมอของความสว่างและสีค่ะ
มีทั้งหมด 3 แบบให้เพื่อน ๆ เลือกใช้ตามชอบค่า และเพื่อน ๆ ก็สามารถปรับขนาด ความถี่ การเคลื่อนไหว รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สีขาว-ดำ หรือหลากสี
ภาพที่ 9 Noise
Sharpen คือ การปรับความคมชัดของงานค่ะ
ภาพที่ 10 Sharpen
ภาพที่ 11 หรือbloom เป็น function ที่สร้างความสว่างในพื้นที่ที่มีสีอ่อน ดังนั้นเพื่อน ๆ สามารถปรับความสว่าง ขนาด และปริมาณของความสว่างได้ตามชอบเลยค่า
ภาพที่ 11 Bloom
function glitch ลักษณะเหมือนตอนที่ดูทีวีแล้วจอมันซ่า ๆ หรือเกิดความผิดพลาดของสัณญาณ เพื่อน ๆ สามารถเลือกใช้งานได้ 4 รูปแบบด้วยกันค่า เพื่อน ๆ สามารถดูตามภาพด้านล่างได้เลยย
Artifact และ Signal สามารถปรับปริมาณ ขนาดในแต่ละblock และขนาดโดยรวม
Wave สามารถปรับความกว้าง ความถี่ และขนาด
Diverge สามารถปรับขนาด และทิศทางของแต่ละสีได้ตามชอบค่ะ
ภาพที่ 12 Glitch
Halftone เป็นลวดลายหรือลักษณะการสกรีนภาพบนเนื้อผ้าค่า มี 3 แบบให้เพื่อน ๆ เลือกใช้ค่ะ ได้แก่ full color , screen print , newspaper
ภาพที่ 13 Halftone
Chomatic Aberration เป็น function ที่ทำให้รูปเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสีขึ้น แบ่งเป็น 2 รูปแบบนะคะ
perspective เป็นการปรับสีตามจุดรวมสายตาไปที่จุดใดจุดหนึ่งตามที่เพื่อน ๆ เลือก สามารถปรับในส่วนของการสะท้อนได้ค่ะ และอีกรูปแบบคือ displace เพื่อน ๆ สามารถปรับค่าความเบลอ และความโปร่งใสได้เลยค่าา
ภาพที่ 14 Chomatic Aberration (perspective)
ภาพที่ 15 Chromatic Aberration (displace)
เครื่องมือ Liquify ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพเฉพาะส่วน หรือเป็นการทำให้ส่วนที่เพื่อน ๆ ระบายไปมีความเหลว ให้มีรูปแบบต่างๆ
ซึ่งมีให้เลือก ถึง 8 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ push, twirl right, twirl left, pinch, expand, crystals, edge, reconstruct
ทั้ง 8 รูปแบบดังกล่าวเพื่อน ๆ สามารถปรับขนาด การเคลื่อนไหว การบิดเบือนต่าง ๆ
ภาพที่ 16 Liquify
มาถึง functions สุดท้ายแล้วววว นั่นคือ clone นั่นเองงง ซึ่ง clone ทางภาษาคอมพิวเตอร์ คือการ “คัดลอก” ดังนั้นเพื่อน ๆ สามารถลาก cursor ตามตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นก็วาดไปตามตำแหน่งที่ต้องการได้เลยค่า
ภาพที่ 17 Clone
ระหว่างที่เรียนรู้ Adjustment function ก็รู้สึกว่าenjoy นะ มันไปได้เรื่อย ๆ เพลินดี
ตอนที่ลองใช้เราก็ปรับเล่นค่อนข้างเยอะ เลยรู้สึกปวดตา แล้วก็เวียนหัวนิดหน่อย เนื่องจากสายตาปรับโฟกัสไม่ทัน
ส่วนอาการที่เศร้าก็เริ่มดีขึ้นตามลำดับ เพราะตอนนี้ในวันที่กลับไปคิดถึงเรื่องราวเหล่านั้น ก็ไม่รู้สึกเจ็บปวดเท่าเมื่อก่อน เราบอกตัวเองว่าเราอยู่เพื่อใช้เวลาแทนเค้า และพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ต้องบอกเลยว่า "เวลา" สำคัญมากจริง ๆ ค่ะ
ตั้งแต่เริ่มจนถึงตอนนี้ เราคิดว่าเรามีการพัฒนาเรื่องการใช้ใช้เครื่องโปรแกรมมาประมาณ 15 % แล้ว ยังไงก็ฝากเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ
ในสัปดาห์ถัดไป เรามีแผนที่จะเรียนรู้ 4 functions ได้แก่ selection ,transform ,smudge และ eraser ค่ะ รอติดตามกันด้วยนะคะ ว่าเราจะทำตามแผนมากน้อยแค่ไหนนน
และต้องขอขอบคุณข้อมูลความรู้ดี ๆ มากมายจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ด้วยนะคะ สามรถเข้าไปอ่านเพิ่มเติม หรือติดตามกันได้ค่ะ เดี๋ยวเราจะแปะลิ้ง ต่าง ๆ ไว้ข้างล่างให้เลยย
โฆษณา