19 ก.พ. 2021 เวลา 19:02 • ธุรกิจ
สรุปจาก iCreator Clubhouse : เทรนด์จัดอีเวนต์ปี 2021 โดยเพจ Rainmaker
2
1. ปีที่ผ่านมาเราเจอ Covid-19 ภาพรวมปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง?
[Max]
ปีที่แล้ว event ค่อนข้างย่ำแย่เงียบทั้งปี เริ่มคึกครื้นตอน Oct, Nov ระหว่างปียังมีธีม new normal เป็น virtual conference หา angle ใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ให้ย้ายมาเป็น virtual ทั้งคอนเสิร์ต, conference, หรืองานวิ่ง virtual run ส่วนใหญ่คือตีมจะทำจาก offline มา online ได้ยังไง ยังไม่ซับซ้อนมากแต่อุตสาหกรรมยังซบเซา
3
ช่วงเริ่มกลับมายังเป็นอีเวนต์ scale เล็ก เริ่มกลับมาตั้งแต่กลางๆ ปี แล้วก็ concert festival ปลายๆ ปี จริงๆ แล้วอีเวนต์จะเป็น seasonal ต้นปีกับปลายปีจะเยอะอยู่แล้ว กลางปีจะน้อยเพราะหน้าฝน (High 4 Low 8 เหมือนโรงแรม) covid ปีที่แล้วหายไปช่วงนึงไม่ได้เยอะเหมือนปีก่อนๆ เพราะหายไปช่วงต้นปี
2. Techsauce มีทำจัดงาน virtual กลางปีที่แล้ว คิดว่าเป็นเจ้าแรกๆ ที่กลับมาจัด ต่างกันมากไหม เป็นยังไง?
[Air]
กระทบงาน offline มากๆ เพราะเตรียมงานมิถุนายนไว้หมดเรียบร้อย ทั้งจองสถานที่ ขายบัตรหมดแล้ว พอเราจัดไม่ได้ก็หาว่าจะทำยังไง ตอนแรกเลื่อนงานไปตุลาคม ระหว่างที่รอจัด ก็มีความต้องการของฝั่ง corporate เข้ามาว่าเขาต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโควิด จุดเด่นของเราคือสามารถดึง speaker ดังๆ เช่น อดีตรัฐมนตรีของประเทศ Estonia ที่เขาเก่งเรื่องการทำสังคมดิจิตอล เราจึงรีบประชุมทีมและคิดจัดเวลานั้นเลย เวลาเตรียมงานค่อนข้างน้อยแค่ 1-2 เดือน พอเราวางแผนเรียบร้อย ความเป็น virtual คือ event อื่นๆ อาจจะเหมือนจัดเป็นรายการทีวีแล้วถ่ายทอด แต่ของเรา speaker อยู่ต่างประเทศ บางคนอยู่อเมริกา เวลาต่างกันเขาอาจจะหลับอยู่ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใครทำเวอร์ชั่นซับซ้อนเจ้าแรกๆ เพราะเรา live สดจริงๆ มี pre-record บ้างแต่ว่าน้อย มีต้องทำให้คน live สดเข้ามาในสตูดิโอ มีหลายอย่างที่ทีมจะต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย
2
งาน Techsauce ไม่ใช่แค่งาน coference แต่มันมีทั้ง networking ทั้ง business matching มี expereicne เยอะมากกว่า virtual ซึ่งปกติจะใช้เวลาวางแผนประมาณ 9 เดือน มีการเชิญ speaker วาง agenda เพราะงานใหญ่ มีทั้งหมด 14 stage งาน 2 วันแต่กลายเป็นว่าทั้งหมดเหลือวันเดียว การจะคุมคอนเทนต์ต้องทำยังไง บิดยังไงให้น่าสนใจ ปกติงาน offline จะสร้าง expereinceให้คนรู้สึกว้าว รู้สึกตื่นเต้น คนเข้ามาได้ engage กับทุกๆ บูธ มีแสงสีเสียงเหมือนงานคอนเสิร์ต
3. สำหรับงาน Creative Talk ปีที่แล้วจัดที่ BITEC ตอนต้นปี ปกติคนเข้าร่วม 2,000-3,000 คน ปีนี้วางแผนจะแก้ปัญหายังไงบ้าง?
1
[Keng]
เราก็คิดเยอะเหมือนกันว่าจะจัดหรือไม่ เพราะอยู่ในช่วงที่มันยังไม่แน่นอน เพราะต้องตัดสินใจล่วงหน้า ของเราใช้เวลาเตรียมงานประมาณ 6 เดือน ถ้าเราจะจัดมกราคมปีนี้ กรกฎาคมปีที่แล้วเราก็ต้องฟันธงแล้ว แต่เพราะตอนกรกฎาคมปีที่แล้วมันก็ยังไม่ได้ดีขึ้นชัดมาก เราก็ต้องเลือกละ ก็เลยเลือกว่าจัดไปเหอะ โดยส่วนตัวผมไม่ชอบงาน virtual เลย เพราะผมชอบไปงานอีเวนต์ offline มันจะสนุกกว่า เราก็เลยบอกกับทีมมีแค่จัดกับไม่จัด offline แต่พอเตรียมงานไปเรื่อยๆ เราก็คิดว่าควร มี backup plan ซึ่งตอนนั้นเราคิดไว้มีทั้งหมด 4 แผน คือ a.จัดปกติ, b.จัดแบบ hybrid, c. จัดแบบ virtual, d. ยกเลิก
ซึ่งตอนนั้นทุกอย่างก็ดูราบรื่นเพราะมี ทั้งงาน iCreator Conference, งานอื่นๆ ก็ดูจัดได้ แต่ปรากฏว่าคลื่นมันมาซัดตอนวันที่ 19 ธ.ค. หนึ่งเดือนก่อนหน้างานเรา เราเลยรู้ว่างานเราคงไม่ได้จัดชัวร์ ทางด้าน speaker กับ sponsor ก็ถามว่าเราว่าเอายังไงดี ซึ่งโชคดีที่เราเตรียมแผนไว้ งั้นเราเอาเป็น hyrbrid ละกัน ทำ virtual ก่อนแล้วงาน offline เลื่อนไป 25 เม.ย. ส่วนตัวเองไม่ชอบ virtual มี negative มากๆ กับงาน แต่ถ้าต้องจัดก็ไม่อยากให้คนดูผิดหวัง
งาน virtual ต้องไม่ใช่การเอางาน event ไปยัดใส่จอ คิดว่าต้องเป็นโชว์อีกรูปแบบ เหมือนเมื่อก่อนที่เราชอบเอา magazine ไปยัดใน ipad ที่ต้องเปิดเลื่อนๆ เหมือนหนังสือมันก็ดูไม่ถนัด ไม่เหมาะสม ที่เราเคยเจอมาก็อารมณ์ประมาณนั้นเลย เราคิดว่าต้องอีเวนต์ใหม่ขึ้นมาสำหรับจอ มันก็กลายเป็นกึ่งๆ TV show มีไปปรึกษาพวก Workpoint ที่เขามีประสบการณ์ จนเราก็จัดขึ้นมาเป็นงาน virtual conference ได้ซึ่งคิดว่าผลลัพธ์ที่ออกมาก็ค่อนข้างน่าพอใจ เพราะคนดูส่วนใหญ่อยู่กันยาวตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงบ่าย 3 ตอนช่วงเที่ยงๆ ก็ลดลดแค่ 10-20%
4. หลายคนมองว่า virtual conference ไม่ตอบโจทย์ แต่บางคนก็คิดว่ามันก็ต้องทำเพราะเลือกไม่ได้ อยากให้แชร์เสน่ห์ในการทำ virtual conference หรือมีเทคนิคเจออะไรที่เจอในการจัดบ้าง?
[Air]
จริงๆ ต้องบอกว่าเราจัด virtual conference ในช่วงที่ covid ระบาดหนัก ซึ่งตอนนั้นในไทยยังไม่มีใครจัดมาก่อน แต่เราเห็นตัวอย่างจากต่างประเทศ มันมีความต้องการของคนที่อยากจะได้ความรู้ ก่อนจัดเราถามตัวเองก่อนว่า ทำไมเราต้องจัดและจุดเด่นอะไรที่เรามี ถึงจะจัด
เราต้อง connect speaker หลายๆ ประเทศมาได้เราถึงจัด เราสามารถสร้าง virtual ในตอนนั้น คือดีที่สุดแล้ว พิสูจน์ได้โดยที่คนซื้อบัตรเข้ามา เราขายบัตรได้เกือบ 5,000 ใบ แอร์มองว่ามันเยอะมากช่วงนั้นเพราะยังไม่มีใครจัด ทุกคนอยากได้ความรู้ อยาก engage กับ speaker ตอนนั้นจัดแบบนั้นอาจจะโอเค แต่ตอนนี้คิดว่าถ้าจะจัดอีกต้องทำ expereince ให้มีมากขึ้น ต้องหาตัวตนว่า event เราอยู่เพื่ออะไร ไม่ใช่แค่พาร์ท conference จริงๆ ก็มี business matching เราก็มีทีทำออนไลน์อยู่ ถ้า virutal ก็ต้องลองดูว่าต้องตอบโจทย์อะไร
[Keng]
ผมเข้าใจ Techsauce เพราะเขามี barrier หลายอย่าง แชร์ในมุม Creative Talk เราย้อนกลับมามองตัวเองว่างาน Creative Talk เป็นงานยังไง แล้วทำไมคนถึงอยากมางานเรา ตอนแรกเรามัวแต่กังวลเรื่องเลือกเทคโนโลยี เรื่อง green screen แต่ตอนหลังเราย้อนกลับมาดูว่างานเราเป็นแบบไหน ทำไมคนชอบมางานเรา ที่ผ่านมางานเรามันสนุก มันตื่นเต้น มัน alert มี energy ตลอดเวลา ยังไงถ้าทำ virtual เราต้อง deliver ประสบการณ์ทำให้สนุกและตื่นเต้นได้เหมือนเดิม แล้วเราจะทำไงให้คนสนุกตื่นเต้น พวกเทคนิค green screen อาจจะเป็นอ๊อฟชั่นเสริม แต่หัวใจสำคัญต้องทำยังไงให้คนดูสนุก เราจึงคิดได้ว่า
2
หนึ่ง แต่ละ session ต้องไม่ยืดเยื้อ เราตัดจากปกติ 40 นาที เหลือแค่ 20 นาที เราวัดจาก TED Talks ตามหลัก psychology คือ 17 นาที ที่คนจะสามารถ pay attention ได้ เราก็ตีคร่าวๆ เป็น 20 นาที คราวนี้พวก Speaker ที่เตรียมจะมาพูด 40 นาทีก็ต้องรีบพูดให้ทันภายใน 20 นาทีเพราะฉะนั้นมันก็จะต้องพูดให้ speed ขึ้น มันก็จะทำให้ดูตื่นเต้นขึ้น
สอง ระหว่าง session ถ้ามาต่อๆ กันเลยก็คงจะแข็งทื่อ ถ้างั้นทำเหมือนเราดูรายการทีวีต้องมีอะไรแทรก อย่างพวกรายการ America's Got Talent ต้องตัดให้คนหลังม่าน โวยวายตื่นเต้นส่งเสียงสนุกจังเลย เราก็เลยแทรกพิธีกรเข้าไป แทรกเบื้องหลัง ทำให้เรามีมิติมากขึ้น เพราะคนดูบางคนก็สนุกกับการเล่นเกมชิงรางวัลพิธีกร บางคนก็สนุกกับเบื้องหลัง บางคนก็เข้าห้องน้ำ ซึ่งเราแบ่งเวลาระหว่าง session ไว้ 5 นาที เราไม่อยากให้บีทให้จังหวะมันหยุด
2
สาม วิธีทำให้บีทไม่หยุดอีกอย่างคือเรามี pre-record ซึ่งเยอะพอสมควร เพราะอยากให้ทุกอย่าง smooth เพราะถ้างาน offline ปกติถ้าไมค์ดับหรือ speaker ขึ้นช้าคนก็ยังรอได้ แต่ถ้าเป็นงาน online แปปเดียว คนก็ยิ้มมือถือขึ้นมาเล่นไม่สนใจกันแล้ว โจทย์ของเราคือต้อง pre-record ยังไงให้ดูเหมือนว่าพูดสด เราก็เลยให้ speaker อัดเทคเดียวเลย ไม่มีต่อ ถ้าพูดผิดก็ปล่อยเลย ให้ขอโทษในตอนอัดไปเลย ส่วนมุมกล้องก็ตัดกันสดๆ ตอน pre-record แล้วก็เอาทุกอย่างตามนั้นเลย ส่วนพิธีกรเล่นเกมก็คือสด จะเอามาร้อยกันหน้างานวันนั้น ค่อนข้างสนุกและลดความเครียดทีมงานลงไปได้เยอะ แต่อยากที่บอกว่าต้องเริ่มที่ตัวเราว่างานเราเป็นแบบไหน เช่น ถ้าเป็นงานที่มันต้องโฟกัสนิ่งๆ ทำแบบผมก็อาจจะไม่เวิร์ค
5. นอกจากงาน conference อีเวนต์งานอื่นๆ เขามีวิธีปรับตัวยังไงกันบ้าง?
[Max]
จริงๆ เป็นคนไม่อินกับงาน virtial เหมือนกัน แต่เคสตัวอย่างที่ชอบคือพวกงาน fan meeting คือกลับมาจัดแบบ hybrid ช่วงที่เราเริ่มคลายล็อกดาวน์แต่ยัง social distancing อยู่ ทำให้เห็นว่าศิลปินไทยมีศักยภาพมาก มีลูกค้า มีคนมา join กว่าร้อยประเทศทั่วโลก เพราะที่นั่งมันลดลง เราเลยจัด offline และ online งานจะจัดคล้ายๆ offline แต่มี live streaming ไป online ด้วย ส่งที่น่าสนใจคือการ engage จากฝั่ง online กับ offline อันนี้เราควรเอามาต่อยอดมากขึ้น พอบางงานพอเขารู้ว่ามีต่างชาติ ก็ต้องเตรียมเรื่องการแปลภาษาหรือ MC ที่พูดได้หลายภาษา แล้วก็จะมีการส่งต่อผ่านคอมหรือหูฟังว่าห้อง online เขาคุยหรือแชทอะไรกันอยู่แล้วเอาอันนี้มาบอก MC ให้ปรับหน้างานไปด้วย Location ไม่สำคัญอีกต่อไปจัดแบบนี้ offline อาจจะมีหลักร้อย แต่มี online อีกเป็นหลักหมื่น น่าสนใจที่จะเอามาดัดแปลงได้
6. ผมยังนึกไม่ออกว่า virtual จะแทน offline ได้ยังไง ทั้งงานวิ่งหรือ concert
[Max]
อย่างที่ว่ามันคือ new category ไม่ใช่ new normal ต่อให้มี virtual ก็ไม่สามารถงานที่คนมาวิ่งด้วยกัน ไม่สามารถแทนการไปร่วมต่างประเทศได้
เราต้องแทนตัวเองด้วยว่าเราเป็น show director เราจะจัดโชว์ยังไงให้น่าสนใจ ทำให้ virtual ยังไงให้น่าสนใจ อย่างตัวอย่างที่เกาหลี เขาจะทำงานหรือรูปแบบโปรดักชั่นให้มันฉีกโลกไปเลย เช่น ศิลปินกระโดดจากหลังคาลงมาเวทีเปลี่ยน, งาน entertainment show creative มันสามารถต่อยอดได้แต่ถ้ามองในมุมแทนที่ ไม่ได้แน่นอน
ต้องคอยดูว่า new experience ว่าเป็นยังไง หรืออาจจะมาจับกลุ่มใหม่ๆ ของคนก็ได้ เพราะหลายคนที่ชอบดนตรีก็อาจจะยังมีบางส่วนที่ไม่อยากไปร่วมงาน ไม่ชอบคนเยอะๆ หรืออาจจะมีเหตุผลอื่นๆ ที่อาจจะอยากเข้าร่วมเป็น virtual
[Keng]
อย่างที่ผมจัดงาน hybrid ก็ต้องขึ้นราคาบัตร offline จาก 1,500 เป็น 3,500 ปรากฏว่าบัตร offline หมดเกลี้ยงก่อน online ซะอีก ผมว่าธรรมชาติของคนก็ต้องการงาน event offline อยู่ดี
7. ช่วง share เพิ่มเติมจากแขกรับเชิญ
[@Pongsiri]
ที่ถามว่า virtual มันเป็นยังไง แทนกันได้ไหม อยากให้ผู้จัดกับผู้ชมเซ็ต mindset ก่อนว่ามันไม่ใช่เรื่องของการแทน virtual คือการ create ของใหม่ที่ไม่สามารถเกิดในโลกความเป็นจริงได้ ซึ่งการดีไซน์นั้นจะไม่ใช่แค่การดีไซน์ stage อีกต่อไปแล้ว อย่าไปคิดว่ามันต้องเป็น stage มีแสงมีเสียง จริงๆ มันจะทำอะไรก็ได้ ขี่ดาว นั่งดูบนวงแหวนดาวเสาร์ virtual จะออกแบบประสบการณ์ที่อาจจะไม่ใช่แค่ new category แต่อาจจะเป็นอนาคตใหม่
อยากแนะนำแบบนี้คือ
หนึ่ง virtual create ของใหม่ที่ไม่เกิดในโลกความเป็นจริง สิ่งที่จะมี disrupt คือ virtual world เพราะเข้าไปใน world มันจะ create โลกที่ในความเป็นจริงไม่มีทางเป็นไปได้ พอพูดถึง virutal ก็ต้องพูดถึง device อาจจะเป็น VR แต่ตอนนี้ถึงจะเป็น Oculus หรืออะไรมันก็ไม่สะดวก มันใหญ่ ราคาแพงพอสมควร บางคนใส่แล้วก็ปวดหัว แต่ยังไงคิดว่า roadmap ของ device ก็จะสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ device ที่สะดวกที่สุดก็คือ device ที่ไม่ต้องใส่อะไรเลย อาจจะออกมาเป็นแว่นตาหรือเป็นคอนแทคเลนส์
สอง พอเป็น AR หรือ VR หรือปรับเลนส์ในตาได้ พอเรามองสิ่งต่างๆ ถึงจะเดินไปกับเพื่อนก็อาจจะเห็นคนละอย่างกับเพื่อน เป็น customize ของแต่ละคนตามสิ่งที่ชอบได้ แต่ device อาจจะต้องสักพักถึงจะ develop ได้ ทุกวันนี้ถ้าเราเล่น VR Chat ในโลกเสมือนจริงบางทีที่เจอในนั้นเขาก็เป็นแค่เด็ก ป. 2 นะครับ ซึ่งเขาไม่สงสัย ไม่ต่อต้าน ใส่แล้วไม่ปวดหัวด้วย แล้วเด็กประมาณนี้อยู่ในนั้นเต็มเลย ซึ่งอีก 5-10 ปีข้างหน้าเขาก็จะคือวัยรุ่นละ เขาเหล่านี้แหละที่จะใช้สิ่งพวกนี้ มัน ไม่ใช่แค่ category ใหม่ แต่อาจจะเป็น category ที่สำคัญมากๆ เลยก็ได้
[@Pepsi]
เป็นตัวแทนผู้จัดงาน Japan Expo Thailand ซึ่งคิดว่าเป็นงานสุดท้ายของประเทศที่จัดก่อน shutdown เมื่อปีก่อน แล้วเราต้องไปจัดงาน Japan Expo Malaysia ต่อ
งาน Japan Expo ไม่ว่าที่ไทยหรือต่างประเทศ คอนเทนต์งานหลักจะประกอบด้วย การศึกษา วัฒนธรรม แฟชั่น รวมถึงเราเป็นบริษัทแรกที่นำวง BNK48 มาเปิดตัวงานเราที centralwOrld, mood & tone คือความสนุกเราจัดทั้งหมด 17-18 โซน พอเราบินไปจัดที่มาเลเซียไม่ได้ทางผู้บริหารเลยเกิดไอเดียจะทำให้ยังไงให้คนสามารถ interact กับงานอยู่ ก็เลยลองจัด virtual
ปกติถ้าเราจัด Japan Expo Malaysia ก็จะได้แต่คนญี่ปุ่นกับมาเลเซีย ข้อดีตอนนี้คือได้ worldwide เลย เอกลักษณ์อีกอย่างคือการแต่ง cosplay ซึ่งเราได้คน cosplay จากฝั่งยุโรปด้วย เราเปิดห้อง zoom แล้วเราเดิน cosplay parade นึกภาพคือทุกคนใส่ cosplay ในห้อง online แถมเปลี่ยน background ตามไปด้วย
เราเปิดขายบัตร worldwide ออนไลน์ meet & greet ได้ทั่วโลก ก็เป็นโอกาสครั้งแรก ทำอะไรใหม่ๆ เช่น เอา AKB48 มา collab กับ JKT48 ทำกราฟฟิคอยู่บนกับล่าง ร้องเพลงสลับกันคนละท่อนตามภาษาของตัวเอง สมมุติจัดที่ไทยหรือมาเลก็ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เหล่าโอตาคุ เขาก็ถือกระบองไฟ แล้วถือก็เชียร์ไปด้วย มีเสียง โวววโววว ก็ได้อีกฟิลนึง ข้อเสียของมันไม่ได้สนุกเหมือนงาน offline เราไม่ได้เจอศิลปิน เจอไอดอลตัวจริง แต่เราก็ยังคงความเป็น mood & tone ของมันพอได้อยู่
ไม่ใช่ว่าเราจัด offline ไม่ได้ ให้ลองมองอีกมุมนึงว่าเราสามารถจัดงาน global สามารถ connect คนได้ง่ายขึ้น
1
8. คำถามสุดท้าย ในเมื่อโควิดยังอยู่ ธุรกิจก็ต้องเดินต่อไป ธุรกิจอีเวนต์จะจัดการยังไง สำหรับปีนี้?
[Air]
ทุกอีเวนต์อาจจะต้องหาตนเองให้เจอว่าเราจัดอีเวนต์นี้เพื่ออะไร แล้วอีเวนต์เราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างงาน CES ที่เป็นงาน offline จัดตอน 2020 ต้นปี ที่เราไปมา พอเรากลับมาก็เริ่มมีโควิดพอดี เขาก็มี survey มาว่าอยากให้เขาอยากจัดงานแบบไหนยังไงสำหรับปีหน้า เราก็ตอบไปว่า virtual เขามีเวลาเตรียมงาน 1 ปี, งาน CES คืองานสำคัญสำหรับการเปิดตัวนวัตกรรมของบริษัทต่างๆ ระดับโลก จุดขายคือการเปิดตัวนวัตกรรม ต้องสร้าง experience ให้ทุกคนมาเปิดตัว ปีนี้เขาจัด online แต่ก็สนุกมาก มีทั้ง live และ pre-record นอกจากเนื้อหาแล้วเขาก็มี press release มี footage ให้เราไปกระจายได้ ฝ่าย media happy เราได้ดู เราได้คิด เราได้ข่าว ซึ่งต้องบอกว่าจริงๆ สามารถเก็บได้ทั้งหมดมากกว่าไปงานจริงอีก
อย่างงาน Techsauce การมีอยู่ของเราเพื่อ connect Startup กับ VC มีการจัด networking, business matching ทุกคนก็บอกว่าคิดถึงนะ ตอนที่เราจัดงาน reunion เราไม่ได้มีแค่งาน conference แต่เรามีตัวตนเพื่ออะไร และทำอะไร จริงๆ ปีนี้เรามีลิสของ Startup ที่จะมาออกบูธแล้ว เดี๋ยวรอดูสถานการณ์อีกทีก่อน คนทำอีเวนต์ต้องอย่ายึดติดกับสิ่งเดิมๆ เมื่อก่อนเราจัดใหญ่โต คนบินมามากมาย ตอนนี้ต้องดูว่าเราทำอะไรได้บ้าง ต่างประเทศเขาทำอะไรกันบ้าง ต้องคิดให้แตกต่าง คิดให้นอกกรอบ อย่างที่เราจัด virtual เราก็จัดเป็นรายแรกๆ
[Keng]
เห็นด้วยกับคุณแอร์ ที่ทำได้คือการวางแผนสำรองไว้เยอะๆ เพราะเราแทบจะประเมินสถานการณ์ไม่ได้เลย แม้แต่อาทิตย์หน้าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างเรายังไม่รู้เลย เราก็ต้องย้อนกลับมาเลยว่าเราจัดงานเพื่ออะไร ผมจะมองว่าถ้าจะจัดงาน 4 ปาร์ตี้นี้ต้องได้ประโยชน์คือ
หนึ่ง audience คนมาร่วมงานต้องได้ประโยชน์ ได้คอนเทนต์
สอง sponsor มาเพื่อ pr ขายของ เขาต้องได้ตรงนั้น
สาม speaker เขาอยากจะแบ่งปัน อยากพูดอะไร อยากได้ network
สี่ ผู้จัด เราจัดแล้วเราได้อะไร
ถ้าสี่ปาร์ตี้นี้ได้ประโยชน์ ผมว่าไม่ว่าจะจัดที่ BITEC, Virtual หรือจัด Clubhosue สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นภาชนะ ในมุมของผม BITEC ก็เหมือนชามใหญ่ๆ Clubhouse อาจจะเป็นแก้ว Virual อาจจะเป็นถ้วย เราเป็นน้ำเราควรจะอยู่ในภาชนะไหนก็ไ้ด้ เราต้องมูฟได้ตลอด เอาจริงๆ ทุกวันนี้เมษาก็ยังไม่มั่นใจว่าจะได้จัดหรือเปล่า ทาง BITEC ก็มีประกาศออกมาว่าตอนนี้
ไม่ว่าห้องใหญ่แค่ไหนก็เข้าได้แค่ 100 คน แล้วคิดดูเราจองห้องไว้ใหญ่สุด ปกติจุได้ 700-800 คน ถ้านโยบายนี้ยังอยู่ก็เข้าได้แค่ 100 คน ยังงั้นก็คงอาจจะไม่จัด คงเหงามาก แต่เราไม่ได้บอกว่าคุ้มหรือไม่คุ้มนะ กลับมาที่ตัวสี่ปาร์ตี้ มันสนุกเหมือนเดิมไหม ถ้าจัด 100 คนแล้วเหงาๆ ก็คงไม่จัด ผมเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นใน Clubhouse ผมมองว่าเราเหมือน confrence มากกว่า podcast พอ Clubhouse เกิดขึ้นมาอาจจะเป็น virtual แบบใหม่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมี green screen ถ้ามัน deliver content ได้ sponsor ได้ จัดงานเราได้ เราอยู่ในภาชนะอะไรก็ได้ เราต้องไหลตามน้ำ
ความน่าสนใจคือถ้ามีคน high profile ตัวท๊อปๆ มาพูดบ่อยๆในห้อง Clubhouse แล้วคนยังจะไปงาน conference กันอยู่หรือเปล่า โดยเฉพาะพวกงานความรู้ที่เราจัดๆ กัน เราก็ต้องพยายามมองไปไกลว่าอีกเดือนสองเดือน Clubhouse จะเป็นยังไง คนท๊อปๆ อาจจะเข้ามาน้อยลงหรือเปล่า ถ้าเข้าน้อยลงเราจะเริ่มทำอะไรได้บ้างกับตรงนี้
[Max]
อาจจะไม่ได้เก่งพอจะที่บอกว่ามันจะเป็นยังไง ในมุมที่บอก mindset ได้ดีที่สุดก็คือ ดูทิศทางลมว่างานจะกลับมาได้ เคสโควิดทั่วโลกก็ลดลง ตัววัคซีนมีผลไม่ว่าจะเป็นด้าน psychology หรือแง่ของการลดการติดโรคจริงๆ ในมุมมองของผมคืออยากให้กลับมาจัด offline ได้กลางปี หวังว่าจะเป็นยังงั้น ปัจจุบันงานช่วงสงกรานต์คิดว่าคงน่าจะยังไม่มี แปลว่าอุตสากรรมน่าจะกลับมาครึกครื้นอยากฝากกำลังใจ เห็นคนจัดอีเวนต์เข้ามาเต็ม เข้าใจหัวอกพี่ๆ ที่ลูกค้ายกเลิก
คิดว่าช่วงนี้ที่สำคัญคือการ reskill, virutal อาจจะไม่ได้อยู่ถาวร แต่เรื่อง hybrid ก็อาจจะคงอยู่ต่อไป แบบพี่เก่งหรือคุณแอร์ element นี้มันฟิตกับตลาดละ ค่อยสังเกตและค่อยดูทิศทางลม หวังว่าครึ่งปีหลังจะครึกครื้น
[Keng]
อย่างงานที่จัดวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมาก็มี feedback ว่าบางคนก็ชอบงาน virutal อยู่บ้านแล้วก็นั่งฟังได้ยาวๆ เราไม่ได้มองว่า virtual คืองานที่ทำไปก่อนแล้ว มันอาจจะเป็นหนึ่งในอ๊อฟชั่น เราป็นน้ำ ใส่ภาชนะไหนก็ได้ ดีไม่ดีวันนึงเราอาจจะใส่ทั้งสามภาชนะก็ได้
[สรุปสุดท้าย]
1. ไม่สำคัญว่าเป็น online หรือ offline ที่สำคัญคือ core ของ event ของเราคืออะไร
2. virtual บางครั้งไม่ตอบโจทย์แต่ก็เป็นโอกาส
3. hybrid สามารถนำมาต่อยอดได้อีกเยอะ
4. ตอนนี้ก็ต้องมีแผน a b c เตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ให้ดี
Date: 19 FEB 2021 (22:00 - 23:00)
Speaker
@khajochi Khajochi's Blog
@airnae Techsauce Thailand
@mpbod Eventpop
@sittipong Creative Talk
#iCreatorClubhouse #RAiNMaker #ClubhouseThailand #ClubhouseTH #Techsauce #Eventpop #CreativeTalk #Event2021 #EventThailand #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา