20 ก.พ. 2021 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นจีน มีอะไรบ้าง?
แล้วแต่ละตลาดมีจุดเด่นต่างกันอย่างไร?
1
ในช่วงเวลานี้ ตลาดหุ้นจีนก็ยังคงได้รับความนิยม ใครๆก็พูดถึง ใครๆก็เริ่มลงทุนในจีน เหตุผลเนื่องจากเศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด สามารถแข่งขันกับยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาได้
1
รวมถึงหลังจากจบการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในรอบแรก จีนสามารถควบคุมและกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น
จากเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่จับตามองและเริ่มสนใจเข้าไปลงทุนในประเทศจีนกันมากขึ้น มีกองทุนที่ลงทุนในประเทศจีนเยอะขึ้น
.
หลายคนที่กำลังสนใจลงทุนหุ้นจีน น่าจะเจอว่าหุ้นจีนมีหลายตลาด มีหลายดัชนี และเทรดกันหลายสกุลเงิน ดังนั้นการลงทุนในหุ้นจีนจึงมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ทำให้นักลงทุนมือใหม่สับสนได้ และอาจจะตัดสินใจไม่ถูกว่าเราควรลงทุนในตลาดไหนดี
ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมตลาดหุ้นจีนมาให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาทำความเข้าใจก่อนเริ่มต้นลงทุน
ตลาดหุ้นจีน มีทั้งหมด 6 ตลาด ดังนี้ A-Share, B-Share, H-Share, Red-Chip, P-Chip และ ADRs ซึ่งจะมีอยู่เพียง 3 ตลาดที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมเข้าไปลงทุน คือ A-Share, H-Share และ ADRs
เราจึงยกดึงมาเพียง 3 ตลาดที่ฮิตๆ มาอธิบายเพิ่มเติม แต่ละตลาดจะแตกต่างกันอย่างไร ตามมาอ่านต่อด้านล่างเลยค่ะ
A-Share 🇨🇳
คือ ดัชนีของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในมีฐานธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ ประกอบด้วยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) และ ตลาดหุ้นเซินเจิ้น (Shenzhen) โดยคำนวณรวมกันแบบถ่วงน้ำหนัก สกุลเงินหลักที่ใช้ในการซื้อขายคือ หยวน (RMB)
1
เมื่อก่อน A-Share ให้นักลงทุนบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติจีนซื้อขายได้เท่านั้น ไม่อนุญาติให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้
1
แต่ในปี พ.ศ. 2546 ทางก.ล.ต.จีนจึงมีเงื่อนไขให้นักลงทุนสถาบันต่างชาติเข้าลงทุนในกลุ่ม A-Share ได้ ภายใต้ระบบ Qualified Foreign Institutional Investor (QFII) รวมทั้งนักลงทุนรายย่อยต่างชาติที่ใบอนุญาตเฉพาะ
สำหรับ A-Share นับเป็นกลุ่มหุ้นบริษัทจดทะเบียนที่มีจำนวนหลักทรัพย์ และมี Market Cap ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดัชนีทั้งหมดของตลาดหุ้นจีน เราสามารถติดตามดูการเคลื่อนไหวของ A-Share ผ่าน Shanghai Composite Index (SSEC)
5
บริษัทที่อยู่ใน A-Share มีอยู่ประมาณ 3,800 บริษัท โดย 3 อันดับแรกของธุรกิจที่มี Market Cap สูงสุด ได้แก่ 1.กลุ่ม Financial 2.กลุ่ม Industrial 3.กลุ่ม Consumer staple ในกลุ่ม A-Share จะมีความหลากหลายของบริษัทจดทะเบียนมากกว่าเมื่อเทียบกับ H-Share
2
ส่วนใหญ่จะลงทุนใน “เศรษฐกิจยุคใหม่” (New Economy) ของจีน เน้นการเปลี่ยนแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการบริโภคในประเทศมากขึ้น การเน้นเรื่องเพิ่มมูลค่าในกลุ่มธุรกิจต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว บันเทิง อุปกรณ์ด้านสุขภาพ ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ยานพาหนะพลังงานทางเลือกใหม่ ไบโอเทค ซอฟต์แวร์ และวัตถุดิบใหม่ๆ
รายได้ของบริษัทใน A-Share กว่า 90% มาจากการบริโภคภายในประเทศ และผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ลงทุนในประเทศ ทำให้บริษัทใน A-Shares ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าที่จีนมีกับสหรัฐฯ น้อย ดังนั้้น ผลตอบแทนของหุ้นจีนจึงมีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นอื่นน้อยมาก
ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ใน A-Share เช่น Ping An Insurance, Kweichow Moutai, Wuliangye Yibin, Yunnan Baiyao Group, Shenzhen SC New Energy Technology, Bank of China
H-Share 🇭🇰
คือ ดัชนีของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนและทำธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ Listed ตัวเองในตลาดหุ้นฮ่องกงแทน ซึ่ง H ในที่นี้ย่อมาจาก Hang Seng China Enterprise Index (HSCE) สกุลเงินหลักที่ใช้ในการซื้อขายคือ ฮ่องกงดอลล่าร์ (HKD)
หุ้นกลุ่มนี้เปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างเสรี และได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตลาด H-Share ต้องใช้มาตรฐานการบัญชีของฮ่องกงที่มีความเป็นสากล จึงทำให้บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดนี้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าอยู่ใน A-Share
1
บริษัทที่อยู่ใน H-Share ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และบางบริษัทก็เป็นบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลก ซึ่งต่างจาก A-Share ที่บริษัทส่วนใหญ่จะเป็น Mid-Small Cap.
ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ใน H-Share ไม่เกิน 100 บริษัท และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Market Cap สูงสุด คือ กลุ่ม Financial รองลงมา คือ กลุ่ม Information Technology
ล่าสุดกลุ่ม H-Share กำลังปรับโครงสร้างจาก Old Economy มาเป็น New Economy และอ้างอิงกับเศรษฐกิจจีนมากขึ้น คาดว่าสาเหตุมาจากผลกระทบจากที่สหรัฐฯ ทะยอยปลดบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้มีโอกาสสูงที่บริษัทจีนเหล่านั้้นอาจจะกลับมาจดทะเบียนในประเทศจีนอีกครั้ง ซึ่งคาดดว่าตลาดหุ้นฮ่องกงจะเป็นเป้าหมายแรก เพราะนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในตลาดนี้ได้
1
ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ใน H-Share เช่น Tencent, Alibaba Group, China Mobile, Bank of China, Meituan, China Construction Bank Corp, Ping An Insurance
ADRs 🇺🇲
คือ กลุ่มบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
ADR ย่อมาจาก American Depositary Receipts เป็นใบรับฝากหุ้นที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของในหุ้นที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อหรือขาย ADR ได้เหมือนหลักทรัพย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
บริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนนิยมมาจดทะเบียนในตลาดสหรัฐ เนื่องจากในประเทศจีนมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่า รวมถึงเพื่อขยายฐานนักลงทุน และเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันมีตราสาร ADRs ของจีนจำนวน 233 หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ (เฉพาะการระดมทุนในตลาดแรกหรือ primary listings) โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของสหรัฐและ 8% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของจีนทั้งหมด (ข้อมูลจาก TMBAM Eastspring)
3
เมื่อปีที่แล้ว ทางวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา (สมัยประธานาธิบดีทรัมป์) ได้ออกกฎหมายคุมเข้มใน ADR มากขึ้น โดยกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ในสหรัฐต้องรับรองว่าไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลต่างประเทศ โดยบริษัทอาจถูกระงับหรือเพิกถอนออกจากตลาดหากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ตรวจสอบโดยคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการบัญชีของบริษัทมหาชน หรือ PCAOB เป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกัน
1
ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ใน ADRs เช่น Tencent Holdings, TAL Education Group, PetroChina, Alibaba, New Oriental Education & Technology Group, NetEase
จากที่เราได้เล่าไปข้างต้น จะสังเกตได้ว่ามีหุ้นบางตัวที่อยู่มากกว่า 1 ตลาด ซึ่งเราไม่ได้ใส่ข้อมูลผิดแต่อย่างใด
แต่มีบางบริษัทที่จดทะเบียน 2 ตลาด หรือที่เรียกกันว่า Dual Listed Company นั่นเอง
แม้จะเป็นหุ้นตัวเดียวกันอยู่ทั้ง 2 ตลาด แต่ราคาซื้อขายหุ้นตัวนั้นก็จะไม่เท่ากันเสมอ
2
ฝากติดตามเพจ Cashury - เพจความรู้พื้นฐานด้านการเงินการลงทุน
ติดตาม Cashury ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#Cashury #Investment #FinancialAdvisor #Finance #ลงทุน #การเงิน #กองทุน #หุ้น #เริ่มต้นลงทุน #มือใหม่เริ่มต้นลงทุน #พื้นฐานการลงทุน #ออมเงิน #ตลาดจีน #Ashare #Hshare #ADRs #กองทุนหุ้นจีน #หุ้นจีน #HangSeng
โฆษณา