นานๆ ปี เราถึงจะมีโอกาสมองเห็น
ยอดดอยหลวงเชียงดาวสวมเมฆหมวก หรือหมวกเมฆ
😊
#ขอบคุณ ภาพสวยๆ และหายาก จาก SeAw MiNg มุมถ่ายจากร้าน All Day Coffee - Chiang Dao เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2020
..
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เจ้าของเพจ ชมรมคนรักมวลเมฆ เคยพูดถึงเรื่องราวของหมวกเมฆ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า... ใครที่ชอบมองท้องฟ้าบ่อยๆ บางทีโชคดีอาจจะเห็นเมฆลักษณะพิลึกแบบนี้ครับ
.
คือ บนเมฆก้อนใหญ่ มี 'หมวกเมฆ' สวมอยู่
.
คำว่า 'หมวกเมฆ' นี่ ถอดจากคำว่า Pileus (ไพลีอุส)
ซึ่งเป็นชื่อของเมฆชนิดนี้ในภาษาอังกฤษ
.
คำๆ นี้มาจากภาษาละติน แปลว่า cap (หมวก) นั่นเอง
ในทางชีววิทยา คำว่า pileus แปลว่า หมวกเห็ด ครับ
(จากหนังสือ ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
.
คำถาม- - เมฆหมวกเกิดขึ้นได้อย่างไร?
.
เฉลย - - เมฆก้อนขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโตขึ้นในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว (เช่น cumulus congestus และ cumulonimbus ระยะก่อตัวใหม่ๆ) จะทำให้อากาศเหนือเมฆถูก "ผลัก" ขึ้นไป หากอากาศที่ถูกผลักนี้มีไอน้ำในปริมาณมาก และบริเวณที่ถูกผลักขึ้นไปมีอุณหภูมิต่ำเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดเมฆเป็นแถบบางๆ ลอยอยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่นั้น เมฆแถบบางๆ นี้ก็คือ หมวกเมฆ หรือ pileus นั่นเอง
..