20 ก.พ. 2021 เวลา 18:59 • หนังสือ
สรุปจาก iCreator Clubhouse : อนาคตวงการหนังสือในปี 2021
1. ตอนนี้ภาพรวมของวงการหนังสือไทยเป็นยังไงบ้าง?
[เอ๋ นิ้วกลม]
ในช่วงปีหลังๆ มีหนังสือแปลดีๆ มีหนังสือที่น่าสนใจออกมาเยอะ วรรณกรรมมีความหลากหลายทั้งใน fiction และ non-fiction หนังสือที่ได้รับความนิยมก็สลับกันไปเรื่อย ความหลากหลายมีความคึกคัก แต่พฤติกรรมคนอ่าน คนซื้อเปลี่ยนไป ยอดขายน้อยลง มันจะมีเล่มที่ขายดีกับขายไม่ดี จำนวนยอดบิลก็จะลดลง เห็นได้ชัดในงานหนังสือ สมัยก่อนคนนึงซื้อ 5-6 เล่ม ทุกวันนี้คนมีสติในการซื้อมากขึ้นและสารพัดแพลตฟอร์มก็ดึงเวลาเราไป อย่าง Clubhouse ที่เกิดขึ้น อาทิตย์ที่ผ่านมาก็อ่านหนังสือน้อยลง ยังมีอย่างอื่นอีกที่ไม่รู้เรียกว่าหนังสือไหม พวก e-book, หนังสือเสียง, มีวิธีการแปลงหนังสืออีกเยอะพอสมควร
2
[กาย Salmon]
พ็อคเก็ตบุ๊คยังมีความเคลื่อนไหวอยู่แต่ลดน้อยลงกว่าช่วงก่อนโควิด หนังสือออกใหม่มีเรื่อยๆ แต่ไม่เยอะเท่าเมื่อก่อน แต่หมวดหรือประเภทมีความหลากหลาย เช่น ประวัติศาสตร์, self-help พวกที่มาแรงใน Salmon คือวรรกรรมแปล อาจจะยังคึกคักอยู่แต่อาจจะไม่ mass เหมือนตอนที่หนังสือ Sapiens ออก โดยรวมเรายังมีคนอ่านหนังสืออยู่
ช่วงนี้ต้องระวังขึ้นเยอะขึ้นในการออกหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งสำนักพิมพ์ Salmon เป็นที่รู้จักดีในเรื่องของ variety, การเดินทาง พวกนี้เราก็ต้องชะลอการออกไปประมาณนึง ที่ผ่านมาไหนจะโควิด ไหนจะการเมือง ก็อาจจะยังไม่เหมาะที่ปล่อยไป นอกจากดูแลเรื่องเนื้อหา เดี๋ยวนี้ต้องดูเรื่องสภาพบรรยากาศของสังคมด้วย
2. อยากถามเรื่องนิตยสารว่าช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง เริ่มคงที่บ้างหรือยัง เพราะมีช่วงนึงนิตยสารปิดตัวลงไปกันเยอะมาก
[เบล a day]
ถ้าว่ากันจริงๆ ในแง่วงการ ผมมองว่าตัวโดนหนักสุดไม่ใช่พ็อคเกตบุ๊ค แต่น่าจะเป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสาร พอฟังกายกับพี่เอ๋ พอนึกได้ว่าพ็อคเกตบุ๊ค ฟังก์ชั่นมันไม่ได้เปลี่ยนไปเท่าไร ยังไม่มีอะไรที่แทนได้ แบบวรรณกรรมที่ยาวแบบ 300-400 หน้า ถึงจะจับไปใส่ใน e-book ก็จะยังดูไม่ถนัด แต่ตัวนิตยสารเอง โดน disrupt จาก website, social media เพราะว่าฟังก์ชั่นเดิมคือไว้ใช้อัพเดทเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน ถ้าเป็นหนังสือสือพิมพ์ก็เป็นรายวัน พอมันเกิด social media มันเหมือนมา disrupt ไปเลย 100% ทุกวันนี้คงไม่มีใครไปหาหนังใหม่ในนิตยสารแล้ว
เมื่อก่อนมีคนบอกว่าสิ่งพิมพ์ตายแล้ว ผมค่อนข้างจะไม่เชื่อ แต่พอมานั่งนึกใหม่ มันก็มีส่วนถูกบ้างบางส่วน นิตยสารมันได้ตายไปแล้วจริงๆ อย่าง a day ก็ไม่ได้รับใช้คนอ่านแบบเดิมแล้ว ไม่ได้อยู่เพื่ออัพเดทข่าวสาร เรากำลังหาคุณค่าใหม่ของมันอยู่ มันจะอยู่ยังไง นิตยสารมีพลังอะไรที่สื่ออย่างอื่นยังไม่มีหรือทำไม่ได้ไหม แต่ถ้าเรามัวแต่หมกหมุ่นว่านิตยสารจะอยู่ยังไง ผมว่าคำตอบจะแคบมาก จะต้องไม่ต้องตั้งโจทย์จากนิตยสาร แต่ผมตั้งโจทย์ว่า a day จะต้องอยู่ต่อยังไงแทน แบบนี้มันจะไปได้อีกเยอะเลย ไม่ว่าจะทำ Clubhouse เล่น TikTok เพราะถ้าองค์กรอยู่ไม่ได้นิตยสารก็อยู่ไม่ได้
3. ถ้าเรามองช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา คนอ่านเปลี่ยนไปเยอะไหม ถ้าวันนี้จะเขียนหนังสือมีวิธีคิดต่างไปไหมครับ?
[เอ๋ นิ้วกลม]
ถ้าหนังสือของตัวเองไม่ได้คิดถึงเรื่องตลาดขนาดนั้น แต่เรื่องผันผวนของสภาวะมีผลต่อการออกหนังสือ เช่น เราเขียนหนังสือเรื่องวิ่ง แล้วมาเจอโควิด งานวิ่งก็ยกเลิกหมดเลย ก็เลยคิดว่าหนังสือควรจะเก็บไว้ออกตอนงานวิ่งกลับมามากกว่า สภาพอากาศ การเมือง โรคระบาด พวกนี้ทำให้เขียนไว้แล้วแต่อาจจะยังไม่ได้ออก คิดเรื่องช่วงเวลาการออกมากกว่าการเขียน
1
ทุกวันนี้เปลี่ยนไปหลายมิติมาก คนที่เคยอ่านหนังสือก็จะแก่ขึ้นเรื่อยๆ คิดดูสมัยก่อนตอนอยู่มหาลัยก็จะอ่านหนังสือเยอะประมาณนึง พอแก่ขึ้นก็จะอ่านหนังสือน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยภาระและหน้าที่ ก็จะเหลือแค่เฉพาะบางกลุ่มที่ยังอ่านอยู่อย่างเข้มขัน แต่ก็จะอ่านได้ต่อเดือนลดลง และนอกจากนี้มันก็มีสื่อใหม่ๆ ด้วย
ตอนนี้ก็มีวัฒนธรรมใหม่ คือการสรุปหนังสือใน youtube channel ซึ่งทำให้เกิดนิสัยการอ่านรูปแบบใหม่ อย่างสำนักพิมพ์ ฟ้าเดียวกัน ก็ได้รับความนิยมกับคนรุ่นใหม่เยอะ ความนิยมหนังสือก็เปลี่ยนไปจากรุ่นเก่า
ในขณะที่คนอ่านนิยายต่อเนื่อง เช่นจากพวก สกุลไทย ขวัญเรือน ก็เห็นมีกลุ่มนักเขียนก็ยังรวมตัวกันผลิตงานที่เป็นนิยายต่อเนื่องอยู่ ก็ยังมีคนอ่านอยู่ ผมคิดว่ามีความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างที่เป็นโจทย์ อาจจะต้องมีความแม่นยำมากขึ้นในแง่ของการพิมพ์หนังสือ อย่างเมื่อก่อน 10 สำนักพิมพ์ วาง 100 เล่ม คนก็จะหยิบออกไป 50 เล่ม ทุกวันนี้มี 10 สำนักพิมพ์ คนหยิบไปออกแค่ประมาณ 5 เล่มเอง
4. คิดว่าสัปดาห์หนังสือจะมีบทบาทน้อยลงไหม ด้วยโควิดด้วย คิดว่าเรายังจะต้อรอสัปดาห์หนังสือแบบสมัยก่อนอยู่ไหม
[กาย Salmon]
สัปดาห์หนังสือมีหลายปัจจัยมากๆ เมื่อไม่มีงานหนังสือในช่วงมีนาคม ถึงจะมีออนไลน์ แต่เราก็ได้รับผลกระทบประมาณนึง เพราะช่วงสัปดาห์หนังสือเป็นโอกาสที่เราจะทำรายได้เต็มหลักเต็มหน่วย ช่วงนั้น Salmon ต้องหาทางรับมือให้หนังสือที่เราผลิตไปแล้วไปสู่นักอ่านให้ได้ ช่วงนั้นเราก็ทำออนไลน์สถานเดียวเลย เราไม่เคยมีความคิดว่าจะมาลุยออนไลน์อย่างเดียว ช่วงนั้นก็คือมึนไปเลย พอการมีโควิดก็เหมือนผลักดันให้สื่ออย่างสำนักพิมพ์ก็ต้องไปสู่เส้นทางใหม่ๆ อย่าง Salmon ก็ไม่เคย live มาก่อน ไม่ค่อยขายออนไลน์เป็นหลัก เราก็ต้องมาขายออนไลน์จริงจัง เดินเข้าหาผู้อ่านอย่างเต็มที่ หลากหลายอย่างสำหรับสำนักพิมพ์เปลี่ยนไปมาก
ครึ่งปีแรกร้านหนังสือปิด สำหรับปีที่แล้วไม่สามารถเอาการทำงาน 3-4 ปีที่ผ่านมามาใช้ได้เลย เดือนตุลาคมพอมีงานก็ช่วยได้ประมาณนึง แต่ก็ยังไม่เต็มที่ บางคนก็บอกว่าเป็นปัจจัยเรื่องของสถานที่ด้วย ถ้าถามว่างานหนังสือยังจำเป็นอยู่ไหม เราคิดว่าเราอาจจะไม่ต้องรอไปปล่อยของที่งานหนังสืออีกต่อไปแล้ว ซึ่งหลายๆ สำนักพิมพ์ก็เปนแบบนั้นอยู่แล้ว แต่ของเราปกติปล่อยหนังสือใหม่แต่ตอนงานหนังสือ ตอนนี้เราอาจจะต้องเปลี่ยนว่างานหนังสือเป็นแค่งานหนึ่ง ไม่ต้องไปเปิดตัวที่นั้นอีกแล้ว อาจจะหาช่องทางอื่นในการเปิดตัวหนังสือเรื่อยๆ แล้ว พอมีงานหนังสืออีกก็ค่อยว่ากัน ไม่ต้องรอเป็นรอบอีกแล้ว
[เอ๋ นิ้วกลม]
ทุกวันนี้การพึ่งพาหน้าร้านทำได้ยากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ออกนอกบ้านน้อยลง ผู้บริโภคไม่ได้เข้าไปหาหนังสืออีกต่อไปแล้ว เราต้องหาวิธีเอาหนังสือไปแสดงที่หน้าเขาแทน มีหนังสือหลายเล่มที่ออกมาเป็นปีแล้วผมยังไม่รู้เลย ก็คงเป็นโจทย์ใหม่สำหรับหลายคนว่าทำยังไงถึงจะเอาหนังสือไปแปะให้เขาเห็นได้ ถ้าเราเคยเสียให้หน้าร้านถึง 40% ทุกวันนี้อาจจะต้องแบ่งส่วนนี้มาใช้เป็นการตลาดออนไลน์แทนบ้างไหม
5. คนทำสื่อสิ่งพิมพ์ปรับมาทำออนไลน์เยอะแล้ว ถือว่า a day ก็ทำสื่อออนไลน์ได้ดี ทำเว็บไซต์ใหม่ด้วย อยากให้ช่วยแชร์วิธีคิด วิธี transition จากออฟไลน์มาออนไลน์ยังไง
[เบล a day]
เราไม่ได้ตั้งต้นว่าจะทำยังไงให้นิตยสารอยู่รอด แต่จะทำยังไงให้ a day อยู่รอดและยังมีประโยชน์ คำตอบเลยกว้างกว่าการปรับปรุงรูปแบบนิตยสาร ถอยไปอีกนิดนึงอาจจะเห็นว่าผู้บริโภคของหนังสือก็คือผู้อ่าน ผู้บริโภคของคนทำอาหารก็คือคนกิน แต่นิตยสารมันมีผู้บริโภคสองกลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มผู้อ่าน สองคือสปอนเซอร์ มันก็จะมีความยากอะไรบางอย่างเพราะมันต้องคิดซับซ้อนขึ้นไปอีก ทำยังไงให้คนอ่านยังชอบ ทำยังไงให้ธุรกิจเราอยู่รอด ทำยังไงให้สปอนเซอร์เขายังเห็นความสำคัญในพื้นที่ของเรา ทำเพื่อตอบโจทย์ ทั้งสองฝั่ง เพราะผู้อ่านก็ย้ายจาก magazine ไป online คนซื้อสื่อก็ย้ายตาม ยากตรงที่ทำยังไงให้มันดี ความจริงก็ต้องมานั่งถอดรหัสกันอีกว่าสื่อเราให้ให้ความสำคัญกับอะไร อย่างวิดีโอตัวโปรโมทที่เราออกไปใหม่ก็คือเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เราไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเอง
อย่างหนึ่งที่คนพูดว่า social media จะมา disrupt สิ่งพิมพ์ มันเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า? ลองสมมุติถ้าทุกคนที่นั่งฟังเรา เล่าเรื่องอยู่ในนี้แล้วเขาสนใจหนังสือของเรา เขาก็จะเข้าเว็บไปสั่งได้เลย จริงๆ มันมาสร้างโอกาสด้วยซ้ำ จริงๆ มันเป็นการ support สมัยก่อนนิตยสารจะขายก็หมดก็ต่อเมื่อมันวางแผง แต่อย่างของเราตอนที่ออกฉบับเล่มมะม่วง มันขายไปกว่า 90% ก่อนที่จะพิมพ์ด้วยซ้ำเพราะเราสามารถเปิดขายก่อนได้
[เอ๋ นิ้วกลม]
ทุกวงการเข้าโดนย้ายไปเรียกว่าเป็น content creator กันหมดแล้ว ยกเว้นคนทำหนังสือก็ยังคงเรียก

ว่าคนทำหนังสืออยู่
[กาย Salmon]
เส้นตอนนี้มันบางลงมากแล้ว นักเขียนก็ไปจัดรายการ จัด podcast ได้ อย่างพี่ตุ้มที่มีไปจัด power game คิดว่านักเขียนก็เริ่มขยายไปทำไปอย่างอื่น สำหรับมุมนักเขียนผมว่าเราเป็นนักเล่าเรื่อง ซึ่งเราสามารถดัดแปลงไปได้ ไปสนุกกับสิ่งใหม่ๆ (แต่ในมุมหนังสือพิมพ์ก็จะอีกแบบ)
6. เคยมีความคิดว่า a day จะไม่มีนิตยสารออกมาเป็นเล่มไหม?
[เบล a day]
ผมคิดตลอด คนจะจำว่า a day ผลิตนิตยสาร แต่คนในทีมเองไม่ได้มองว่าเราเป็นคนทำนิตยสารแล้ว นิตยสารเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการสื่อสาร ซึ่งตอนนี้ก็ถูกปรับเป็นออกเดือนเว้นเดือน ทุกวันนี้คุณค่าของนิตยสารคืออะไร ถ้าเราถอดรหัสชัดๆ เราอาจจะออกนิตยสารเป็นแบบภาพที่เปลี่ยนไปจากทุกวันนี้เลยก็ได้ เราคิดเสมอและไม่ได้ยึดติด แต่คำถามคือว่า a day จะไม่ทำนิตยสารอีกแล้วหรือเปล่า ถ้าวันนึงเราไม่ไ่ด้ออกนิตยสารทุกเดือนสองเดือน แต่ถ้าเครื่องมือนี้ยังมีอะไรบางอย่างที่ตอบโจทย์ได้อยู่ที่ช่องอื่นๆ ยังตอบไม่ได้ เช่น ตอนเราออกเล่มมะม่วง เล่ม Harry Potter ซึ่งขายดีมากๆ ขายหมดมีแต่คนเรียกร้องให้เราพิมพ์อีก ไม่เห็นมีใครสนใจไปซื้อ e-book ของเรา ถ้ามันมีเรื่องที่เหมาะสม เราก็คิดว่านิตยสารมันก็ยังเป็นอาวุธของเรา
ช่วงถาม-ตอบ, แชร์ประสบการณ์
[คุณ A]
7. ผมทำหนังสือแบบพิมพ์เองขายเองอยู่ในตลาดหนังสือทำมือ พอจะมีแนวทางแนะนำในปี 2021 ไหมครับ เพราะโดยปกติผมทำไปขายในอีเวนต์ เป็นสายการ์ตูนญี่ปุ่น
[กาย Salmon]
จริงๆ เรื่องการทำหนังสือด้วยตัวเอง หลังๆ ก็เป็นที่นิยมในหมู่นักเล่าเรื่อง ผมไม่แน่ใจว่าการไปออกงานผลตอบรับมันดีมากหรือน้อยแค่ไหน แต่ที่เวิร์คคือเราอาจจะต้องหากลุ่มคนอ่านของเราให้เจอก่อน ก่อนที่เราจะพิมพ์หนังสือ ช่องทางออนไลน์อาจจะเป็นอีกช่องทางให้คนมาอ่านก่อน สร้างให้มีฐานแฟนคลับ แล้วค่อยเอาไปร่วมเล่มขาย
[คุณ B]
8. อยากแชร์เรื่องความรู้สึกกับหนังสือ How to คือ
เมื่อก่อนตัวเองเป็นคนอ่านเยอะมากๆ หลังๆ เริ่มอ่านเล่มที่บางลงเรื่อยๆ จนช่วงหลังอ่านไปครึ่งเล่มก็เริ่มรู้สึกว่ารู้เรื่องหมดแล้ว ยิ่งหลังๆ ก็มีคนเอามาสรุป พอเอามาฟังแค่นี้ก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว
[เอ๋ นิ้วกลม]
ทำไมเราถึงอ่านหนังสือสั้นลง อย่างนึงผมคิดว่าอาจจะเพราะเนื้อหามันซ้ำไปซ้ำมา ผม
เคยคิดแบบนั้น ผมมีเพื่อนคนนึง เขาไม่อ่าน non-fiction ส่วนผมไม่อ่าน fiction เราก็มานั่งคุยกันคิดว่าทำไมเราถึงอ่านน้อย เราก็คิดว่าบางเล่มอ่านประโยคนึงก็เข้าใจแล้ว อย่างหนังสือ Thinking, Fast and Slow มี 800 หน้า อ่านชื่อก็จบแล้ว แต่พอได้ลองอ่านดูแล้วในเล่มมันก็มีงานวิจัย มีตัวอย่าง มีการอธิบายเพิ่มเติม ส่วนนึงผมคิดว่าเพราะสมัยนี้มีมาคนสรุปมาให้ฟังเยอะ เราเหมือนอยู่ในทุ่งที่มีข้อมูลเยอะแยะมาก พอเราเห็นอันนึง ฟังนิดนึงก็คิดว่าแค่นี้เราก็โอเคแล้ว เราย้ายดูตัวอื่นต่อดีกว่า พวกหนังสือ how to บางเล่มพออ่านในรายละเอียดมันก็ทำให้เราเห็นภาพหรือเข้าใจอะไรมากขึ้น เหมือนการที่อ่านนิยายเป็นฉากๆ ก็จะดำเนินเรื่อง เข้าใจขึ้นไปเรื่อยๆ
9. คิดว่าอนาคตของหนังสือปีนี้จะเป็นยังไงบ้าง?
[พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์]
social media ส่วนใหญ่เขาจะแย่งเวลาในชีวิตของเราไป หนังสือก็โดนแย่งไปเหมือนกัน แม้กระทั่งอย่าง Clubhouse ซึ่งตอนนี้ก็ไปแย่งเวลาพวก Facebook และ social media อื่นๆ เหมือนกัน
คนจะไปซื้อหนังสือในร้านหนังสือหรือมหกรรมหนังสือน้อยลง ที่ย้ายทำเลก็อาจจะมีส่วนอยู่บ้างเพราะก่อนที่จะย้ายไป ตอนอยู่ศูนย์สิริกิติ์ก็ยังดีอยู่
ร้านหนังสือก็หดหายไปเรื่อยๆ พื้นที่ในร้านหนังสือก็โดนสินค้าอื่นๆ เบียดไปหมดเหมือนกัน เหมือนที่เอ๋บอกตอนนี้ต้องทำให้หนังสือไปแปะที่หน้าคนให้ได้ โควิดก็มีส่วนทำให้คนซื้อออนไลน์มากขึ้น อย่างคนแก่ๆ สมัยก่อนก็ทำไม่เป็นแต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มรู้วิธีการซื้อออนไลน์ รู้จักวิธีการสั่งอาหาร การโอนเงิน ตอนนี้ทิศทางของหนังสืออยู่ที่ออนไลน์เป็นหลักเลย
[เอ๋ นิ้วกลม]
อย่างที่โทรทัศน์ลดความสำคัญน้อยลง ดาราก็เลยต้องทำช่องทางเพิ่มขึ้นบนโลกออนไลน์ทั้ง Facebook, Instagram ก็เป็นความท้าทายของนักเขียนเหมือนกันว่าจะสามารถสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ได้ยังไง เพราะอาจจะฝืนธรรมชาติของนักเขียนซึ่งปกติอาจจะไม่ได้ชอบออกหน้า
นักเขียนเองก็จะมีผลในการขายหนังสือ บรรณาธิการก็มีส่วน ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเล่นบทบาทนั้นมากน้อยแค่ไหน เปรียบเสมือนหนังก็เหมือนกัน พอมีผู้กำกับดังๆ โดดเด่นขึ้นมันก็จะช่วยขายหนังของเขาด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องทำ แต่ก็เป็นโจทย์หนึ่งที่ต้องเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำ
[วิว Point of View]
สนใจประเด็นหนังสือกับออนไลน์ เพราะเป็นทั้งนักเขียนและ content creator ส่วนตัวเกิดพฤติกรรมที่แปลกมากๆ สำหรับเราคือเราไม่เข้าร้านหนังสือเลยมาปีสองปีแล้ว เพราะเข้าไปเจอแต่หนังสืออะไรไปหมดก็ไม่รู้ ไม่เจอหนังสือที่อยากเจอเลย เหมือนหนังสือมันแบ่งซอย niche มากขึ้น หลากหลายมากขึ้น จึงทำให้หนังสือทั้งหมดไม่สามารถไปอัดอยู่ในร้านหนังสือได้อีกต่อไป ไม่เหมือนถ้าซื้อออนไลน์ เราก็จะรู้เลยว่าถ้าต้องการหนังสือแบบนี้ต้องไปที่เว็บไหน เพจไหน
[พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์]
นักเขียนเก่าได้เปรียบอยู่บ้าง เพราะอย่างผม อย่างเอ๋ เรามีฐานแฟนคลับอยู่บ้าง ถ้าสามารถสร้าง community สร้างแฟนคลับได้อย่างศิลปิน BNK หรืออย่าง Clubhouse เนี่ยก็น่าสนใจ ปกติหนังสือเล่มนึงขายได้ประมาณ 3,000 เล่มก็ก็คิดว่าน่าจะพออยู่รอด คิดว่าการหาคน 3,000 คนที่สนใจเรื่องๆ นึงเหมือนกันเนี่ยก็ไม่ได้ยากมาก ถ้ามี Clubhouse หรืออะไรที่มันสร้างคนมารวมกันได้ อย่างถ้าเราสร้าง commnunity คนชอบอินเดียได้ แล้วก็เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องของอินเดียและเอาไปโปรโมทในกลุ่มนั้น ยังไงคนก็สนใจอยู่แล้ว
10. ถ้าคนที่ฟังอยากออกหนังสือหรือพ็อคเกตบุ๊คเล่มนึง ทั้งสามท่านมีคำแนะนำอย่างไรบ้าง สำหรับปีนี้
[กาย Salmon]
ผมคิดว่าช่วงปีนี้ตั้งแต่มี online หรือ social network เรามีพื้นที่มากขึ้นในการเล่าเรื่องของตัวเอง หนังสือเป็นแค่ช่องทางหนึ่ง ทุกวันนี้ถ้าอยากเขียนจริงๆ เราเขียนใน Facebook ของตัวเองก็ได้ ทำ podcast หรือพูดใน Clubhouse ก็ได้ ผมคิดว่าทุกวันนี้ถ้าอยากทำหนังสือด้วยตัวเองมันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป วิธีการทำหนังสือมันง่ายๆ มาก หนังสือไม่จำเป็นต้องเป็น พ็อคเกตบุ๊ค เป็นหนังสืออะไรก็้ได้ เขียนด้วยมือ ถ่ายรูป เอากราฟฟิคเข้ามาช่วย มันเปิดโอกาสให้ทุกคนทำได้ง่าย
แต่ถ้าอยากทำกับสำนักพิมพ์ การเริ่มเขียนในช่องทางตัวเองหรือเขียนเก็บไ้ว้แล้วค่อยส่งให้ทีมงานดูก็เป็นสิ่งพื้นฐานที่ควรทำ ทางทีมจะได้รู้ว่ามีคนยังอยากเล่าเรื่องกับเราอยู่ เพราะทุกวันนี้ยังสงสัยว่ายังมีคนอยากเขียนหนังสืออยู่ไหม เพราะคิดว่ามันหาได้ยากและก็หาได้ง่ายในเวลาเดียวกัน
1
[เบล a day]
ต้องย้อนกลับไปถามว่าอยากเขียนหนังสือหรืออยากทำหนังสือ ตอนนี้มีพื้นที่มากมาย สื่อทุกสื่อตามหา freelance ที่จะช่วยเขียน หรือเครื่องมือที่จะทำหนังสือทำมือ มันมีโอกาสมากกว่ายุคก่อนเยอะ สมัยก่อนเขียนแล้วก็ไม่รู้จะเอาพิมพ์หรือเอาไปขายที่ไหน ทุกวันนี้มีเทศกาลหนังสือทำมือ มีการขายออนไลน์ แต่เราคิดว่าเรื่องพวกนี้จริงๆ มันเป็นแค่ปลายทาง คำถามที่ยากกว่าคือเราจะเขียนเรื่องอะไร ทุกวันนี้มีคนมาปรีกษาว่าถ้าอยากเขียนหนังสือต้องทำยังไง ผมว่าคำถามมันกว้างไป มันไม่เหมือนบอกว่าเราอยากเตะบอล อยู่ดีๆ อยากเขียนหนังสือมันยาก เราต้องมีเรื่องที่เราอยากเล่าก่อน แบบอยากเล่ามากๆ จนอดไม่ได้จนอาจจะต้องสะกิดคนข้างๆ มาฟัง ต้องย้อนกลับไปว่าเราอยากเล่าเรื่องอะไร เรียกร้องอะไรในการเล่า ทักษะใช่ไหม พวกเรื่องอื่นๆ ช่องทางการขาย การทำให้คนรู้จัก ที่เหลือค่อยมาคิดกันได้
[เอ๋ นิ้วกลม]
ไม่แน่ใจว่าคนวัยเราเหมาะสมรึเปล่าที่จะให้คำแนะนำคนรุ่นใหม่ เพราะเห็นทุกวันนี้เขามีวิธีสร้างสรรค์กว่าเรากันมากๆ วันก่อนพึงคุยกับ อ. ธเนศ เรื่อง Clubhouse ว่าวัฒนธรรมเสียงมันต่างกับวัฒนธรรมเขียน การเขียนมันต้องรอบคอบไตร่ตรองมากกว่า ถ้าเราอยากเล่าเรื่อง ช่องทางมันเยอะก็จริง แต่ธรรมชาติของแต่ละช่องทางมันก็เล่าต่างกัน เราอยากเล่าเรื่องแบบที่มันลึกหรือแบบสั้นๆ ไม่มีอะไรถูกอะไรผิดแต่เราต้องเลือก การเขียนหนังสือ คุณต้องเลือกว่าอยากสลักภูเขา คือทำพ็อคเก็ตบุ๊ค เราต้องมี passion ต้องตั้งใจรวบรวมเนื้อหา หรือถ้าคุณอยากแค่ก่อปราสาททราย ทุกวันนี้ก็จะมีช่องทางเต็มไปหมด
ไม่อยากมองให้การเขียนหนังสือเป็นการเขียนอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป ถึงเราจะไม่ได้สังกัดสำนักพิมพ์ แต่เราอาจจะชวนเพื่อนคณะอื่นมาช่วยกันก็ได้ เช่น เราเรียนทันตะ อยากเขียนหนังสือก็ชวนเพื่อนที่อยู่ถาปัตมาช่วยออกแบบ สร้างเครือข่าย สร้างเพื่อนมารวมตัวกัน หาชุมชนที่มีความคิดความฝันร่วมกัน เช่นเราอยากจะออกหนังสือเที่ยวอาเซียนให้ครบสิบประเทศ ทุกวันนี้เราต้องทำการบ้านให้มากขึ้นในเมื่อเทคโนโลยีมันทำให้เราเอื้อมถึงข้อมูลได้มากขึ้น เราก็ต้องใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ต้องทำให้ดีขึ้น ต้องไม่โดดเดี่ยว เราต้องใช้ connection ที่เทคโนโลยีให้เรามาร้อยเรียง การเขียนอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่การปล่อยมันออกไปอาจจะเป็นเรื่องของหลายๆ คนช่วยกัน ทั้งการพิมพ์ การโปรโมท แต่ผมเชื่อในศักยภาพคนรุ่นใหม่
Date: 20 FEB 2021 (22:00 - 23:00)
Speaker
@khajochi คุณเอ็ม Khajochi's Blog
@jirabell คุณเบล a day
@roundfinger คุณเอ๋ นิ้วกลม Roundfinger
@patikal คุณกาย Salmon Books
@boycitychan พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์
@pointofview คุณวิว Point of View
#iCreatorClubhouse #RAiNMaker #Clubhouse #ClubhouseTH #ClubhouseThailand #นิ้วกลม #salmonbooks #aday #หนุ่มเมืองจันท์ #pointofview #bookclub #bookclubthailand #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา