21 ก.พ. 2021 เวลา 00:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ขาย LTF และ RMF ต้องยื่นภาษีไหม??
การขายคืน LTF และ RMF นั้น ต้องยื่นภาษีด้วยนะ ไม่ว่าเราจะขายคืนแบบถูกเงื่อนไข หรือไม่ถูกเงื่อนไข แล้วต้องยื่นยังไง เลือกตรงไหน มาอ่านโพสนี้กัน...
การขายคืน LTF/ RMF  แบบถุกเงื่อนไขนั้นไม่มีผลต่อเรื่องของภาษี บางคนเลยอาจเข้าใจไปว่า เราไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องเงินที่ได้จากขายคืน LTF/ RMF  ในปีภาษีนั้นๆ ซึ่งจริงๆ แล้วที่ถูกต้อง และเพื่อที่พี่สรรพากรจะได้ไม่ต้องตามให้เรามากรอกให้ถูกต้องครบถ้วนเราต้องกรอกลงในแบบยื่นภาษีด้วยนะ ว่าเรามีการขาย LTF/ RMF  ในปีภาษีนั้นๆ โดยเข้าจะมีช่องเลือกรายได้จากขายคืน LTF / RMF ให้เราเลือก แบบนี้
https://rdserver.rd.go.th/
ซึ่งเมื่อเรากดตรงรูป ? ที่อยู่หลัง เงินค่าขายคืน LTF/ RMF เขาก็จะมี pop-up ขึ้นมาแบบนี้
https://rdserver.rd.go.th/
จะเห็นว่า เขาเขียนไว้ชัดว่า ถ้ามีการขายคืนต้องนำมายื่นภาษี ไม่ว่าจะได้รับยกเว้นภาษี(ขายคืนแบบถูกเงื่อนไข) หรือ ไม่ได้รับยกเว้นภาษี (ขายผิดเงื่อนไข) ก็ตามนะ
1
เมื่อเราเข้ามาจะเห็นเขามีช่องให้กรอก ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ เมื่อเวลาที่เราขายคืน เราจะได้ใบจาก บลจ. ที่เรามีการขายคืน LTF/ RMF บอกรายละเอียดมาอยู่แล้ว ว่า เราขายคืนกี่หน่วย ได้เงินเท่าไหร่ ต้นทุนเท่าไหร่ ส่วนต่างกำไรเท่าไหร่ เราก็นำข้อมูลตรงนั้นมากรอก
https://rdserver.rd.go.th/
ถ้าเราขายคืนแบบถูกเงื่อนไข ก็ไม่ต้องกังวล เราก็มากรอกตรงช่อง “จำนวนเงินส่วนต่างที่ได้รับการยกเว้นภาษี” และก็มีที่ต้องกรอกเพิ่มอีกหน่อย ตรงช่องด้านขวา ที่เขียนว่า “หักภาษี ณ ที่จ่าย”
ซึ่งถ้าเราขายแบบถูกเงื่อนไข ทาง บลจ. จะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เราก็กรอกเป็น 0 บ. แค่นี้ก็เรียบร้อย
3
(ถ้าเราขายก่อนครบกำหนดการถือครอง บลจ. ก็จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วย เราก็เอาตรงนี้มากรอก ถ้าเราขายแบบผิดเงื่อนไข โดยเลือก “จำนวนเงินส่วนต่างที่ไม่ยกเว้นภาษี” และกรอกจำนวนเงินที่ถูกหักภาษีไว้ )
ถ้ามีการขายคืน LTF/ RMF ถึงจะถูกเงื่อนไข ก็ต้องกรอกลงในแบบยื่นภาษีนะ ไม่มีผลต่อภาษี แต่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาที่อาจถูกพี่สรรพกรตามมาให้แก้ให้ถูกต้องครบถ้วนนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม เราจะเห็นว่ามีบรรทัดตัวแดงที่เขียนว่า “เงินที่ได้รับการยกเว้นกรณีเป็นผู้สูงอายุ /คนพิการที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี” ตรงนี้จะเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่อายุตั้งแต่ 65 ปี หรือผู้พิการที่มีบัตรผู้พิการ สำหรับยกเว้นเงินได้ 190,000 บ. แรก ซึ่งสามารถนำไปหักออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้นะ
#LTF
#RMF
#ยื่นภาษี
#กองทุนรวม
#กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
#กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
1
โฆษณา