21 ก.พ. 2021 เวลา 04:34 • การเกษตร
ep.2 ทำไมผลไม้จึงสุก ??
สวีสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งครับ ep ที่แล้วผมได้ปูให้ทุกคนเข้าใจคร่าวๆเกี่ยวกับการหายใจของพืชที่แตกต่างกัน ทำให้ลักษณะการสุกของผลิตผลมีความแตกต่างกันออกไป รอบนี้ผมจะมาพูดถึงปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ผลไม้สุกได้ครับ ซึ่งผมเชื่อว่าบางคนอาจไม่เคยรู้ครับ เพราะปัจจัยนี้เปรียบสเหมือน เนื้อคู่ เพราะรู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ ฮี้ววววว 55
โดยปกแล้วนะครับ พืชจะมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเป็นปกติครับ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโตเป็นปกติครับ มี 5 ชนิดครับ ได้แก่ ออกซิน ไซโตไคนิน จิบเบอลิลิน กรดแอบซิสิก และเอทีลีน
ในบรรดาฮอโมนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ครับ มีอยู่ตัวนึงที่มีผลรุนแรงต่อการสุกมาก และอยากให้ทุกคนได้จำไว้เลยคือ เอทีลีน(eyhylene) คำถามคือแล้วมันคืออะไร? มีผลอะไรละ เอทิลีนตัวนี้นะครับ ไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อย มีสถานะเป็นแก็ส เป็นปัจจัยเลยครับที่กระตุ้นให้ผลไม้หรือผลิตผลอื่นๆสุก
โดยผลไม้ทุกตัวนั้นสามารถผลิตเอทิลีนได้ครับ แต่ว่าปริมาณไม่เท่ากันผมยกตัวอย่างให้เก็นเลยนะครับ ตัวที่ผลิตมากๆเลย คือ มะละกอ แอปเปิ้ล อะโวกาโด กล้วยหอม เป็นต้น
สำหรับในกลุ่มที่ผลิตน้อย เช่น ส้มต่างๆ องุ่น สตอเบอรี่ แตงกวา ผักกอนใบ เป็นต้น
ทุกท่านสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของเอทีลีนได้นะครับ โดยลองหากล้วยเขียวมาสักสองผลครับกบัแอปเปิ้ล1ผล ผลแรกให้ใส่ถุงแล้วมันปากให้แน่นครับ ผลที่สองให้เอาแอปเปิ้ลใส่ร่วมกับกล้วยแล้วมันปากถุง ทิ้งไว้1วันครับ แล้วลองมาดูผลกันครับ ท่านจะพบการสุกที่แตกต่างกันครับ โดยการสุกมีแนวโน้มว่า ถุงที่ใส่กล้วยร่วมกับแอปเปิ้ลจมีการสุกที่เร็วกว่าครับ นะ่นเป็นผลมาจาก เอทิลีน
โดยสรุปนะครับ ปัจจัยในการที่ทำให้ผลไม้สุกนะครับ ก็ได้แก่ลักษณะการหายใจของตัวมันและฮอโมนที่ผลไม้หรือผลิตผลนั้นผลิตออกมา ยังไงถ้าบทความมีประโยชน์อย่าลืมคอมเม้นให้กำลังใจกันนะครับ
รูปของการบ่มผลไม้
อ้างอิง
จริงแท้ ศิริพานิช.(2546).สรีวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้(พิมพ์ครั้งที่4).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โฆษณา