21 ก.พ. 2021 เวลา 12:45 • หนังสือ
คิดวิเคราะห์แบบโคนัน : Review & Summary (+ บ่นสัพเพเหระ)
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้จะมารีวิวหนังสือ “ คิดวิเคราะห์แบบโคนัน “ Pocketbook เล่มเล็กๆ ใช้เวลาอ่านจบได้ไม่นานเกิน 2 ชั่วโมง
ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนตรงนี้เลยว่า ผมเป็นแฟนตัวยงของโคนัน ผมติดงอมแงมกับการ์ตูนเรื่องนี้แทบจะตั้งแต่จำความได้เลยครับ ถ้าว่างๆ หรือทำงานก็จะเปิดฟังไปด้วย ผมเสพหมดทั้งดู อ่าน รวมๆ ผมว่าไม่ต่ำกว่าสิบรอบ เพราะ ปีๆ นึง ผมก็ดูวนกับอ่านได้ 4-5 รอบ ต่อปี และเหตุผลที่ซื้อเพราะชื่อของโคนันนั่นแหละครับ เพราะงั้นผมเลยคาดหวังว่า เขาจะเอาเคสโคนันมาเขียนได้สนุกมากๆ แน่เลย เพราะฉะนั้นในบทความนี้ ผมจะเขียนเกี่ยวกับหนังสือ และสิ่งที่ผมเรียนรู้จากโคนันที่เป็นความเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วยกันเลยครับ จะเป็นยังไงบ้างไปดูกันเลยครับ
ในตอนแรกหนังสือจะพูดถึง AI ในปัจจุบันที่แก้ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย ดังนั้นสิ่งที่คนเราจะเหนือว่า AI ได้คือการตั้งคำถาม ว่า อะไรคือปัญหา ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ “การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล (Logical Thinking)” ซึ่งจะทำให้เราสามารถคิดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย น่าเชื่อถือมากขึ้น และ ไม่หลงทางในปัญหาครับ ซึ่งในตัวหนังสือ จะอธิบายด้วย คดีตัวอย่างในโคนัน แบบสั้นๆ (สั้นจริงๆ)
โดยความหมายของ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คือ คิดอย่างมีเหตุผลและข้อมูลมารองรับ เป็น สมมติฐาน มีหลักให้ยึดอย่างถูกต้อง สามารถอธิบายได้ ซึ่งจะแตกต่างจากการคิดไปแบบเลื่อนลอย หรือ การคิดตามอารมณ์ นั่นเองครับ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากแต่จริงๆ ไม่เลยครับ เราใช้มันกันเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น เราไม่ได้ซื้อกางเกงมาหลายปี ตัวเราเองก็เปลี่ยนไป จำไซต์ไม่ได้อีก สิ่งที่เราทำคือ คิดว่าจะประมาณอันเก่านะ เล็กหรือใหญ่กว่าก็ว่าไป แล้วเราก็ทดสอบมันด้วย การลองใส่ดู เมื่อได้คำตอบ ที่เหมาะสมแล้ว เราจึงเลือกไซต์นั้น นี่แหละครับ ง่ายๆ แต่มันอาจจะเกิดขึ้นจนเคยชิน ไวมากๆ หรือ จากประสบการณ์ จึงไม่แปลกที่เราจะไม่ทันสังเกต แต่ถ้าเราอยากเก่งเรื่องนี้มากขึ้น เราต้องสังเกตและฝึกฝนมันครับ
สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องทำคือ แยกระหว่าง ข้อคิดเห็น กับ ฐานคิด ให้ออกก่อน ข้อคิดเห็น เป็นความคิดสิ่งที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ ส่วนฐานคิด คือข้อมูลที่มีข้อเท็จจริงยอมรับครับ ห้ามเชื่อว่าข้อคิดเห็นคือเรื่องจริงเด็ดขาด
การให้เหตุผลที่หนังสือบอกจะมีหลักๆ อยู่ 2 แบบครับ คือ นิรนัย และ อุปนัย
โดย นิรนัย คือ การนำเอาข้อมูลใหม่ที่เป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้ว มาตรวจสอบความเชื่อเก่าของเราว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ตัดทิ้ง แล้วหาข้อสรุปใหม่ครับ
ส่วน อุปนัย คือ การรวบรวมข้อมูลอะไรที่ทำให้ได้ผลแบบเดียวกันนั้น มารวมกันได้เป็น ข้อสรุป ซึ่งในวิธีนี้ต้องระวังว่า ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อเท็จจริง ครบถ้วนในทุกรายละเอียดของแต่ละเรื่องแล้วหรือยังครับ ไม่งั้นจะทำให้ข้อสรุปผิด
ผมขอแทรกนิดนึงว่าในการอ่านเล่มนี้ เราไม่ได้ต้องการมาสร้างไอเดียเป็นหลักนะครับ แบบคิดจากแคบไปกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่ในเล่มนี้จะเป็นการคิดจากกว้างไปแคบ เพื่อหาความจริงที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นครับ คำตอบที่ถูกต้องมีคำตอบเดียว ต่างจากไอเดียหรือคิดสร้างสรรค์ที่แทบจะทุกคำตอบคือความคิดสร้างสรรค์ครับ
กลับมาในขั้นตอนของการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลครับ การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลจะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน ก็คือ การมองหาและกำหนดประเด็น -> การสร้าง framework -> การตั้งสมมติฐาน -> การตรวจสอบสมมติฐาน -> การสรุปผล
ในขั้นตอนแรก คือ การมองหาและกำหนดประเด็น
พูดง่ายๆ เลยก็คือ เราต้องตั้งคำถามให้ถูกต้องครับ แล้วตั้งยังไงให้ถูกต้องหละทีนี้
อันดับแรกเลย เวลาเราจะทำอะไรก็แล้วแต่เราต้องหาสิ่งที่ต้องการจริงๆ ก่อนครับ แล้วตั้งมันเป็นหลัก แล้วหลังจากนั้นจะมีข้อมูลเข้ามามากมายสิ่งที่เราต้องระวังคือ อย่าลงประเด็นที่เราต้องการ ตัวช่วยง่ายๆ คือ เขียนเตือนไว้ครับ แล้วนึกถึงมันตลอด
การมองหาปัญหานั้นให้ดูที่ตัวต้นเหตุเลยครับ ด้วยความไม่ลำเอียง อย่างการมองที่ผลเป็นหลัก เช่น สมมติว่า เรามองแว๊บแรกเราคิดว่า ข้อ A ต้องถูกแน่นอน เราจึงคิดหาเหตุผลมา support ข้อ A แบบนี้คิดจากผลมาเหตุ ไม่ถูกต้องครับ เพราะ ต่อให้เราคิดเหตุยังไงก็แล้วแต่ คำตอบมันก็คือ A เราจะไม่หาเหตุผลที่ไม่ทำให้ตอบ A แน่นอน เพราะฉะนั้นเราคิดว่า โจทย์ข้อนี้ปัญหาคืออะไร ถ้าลองคิดด้วยวิธีที่ 1,2,3,... แล้วดูว่าวิธีไหนที่น่าเชื่อถือมีข้อเท็จจริงรองรับ และ มีน้ำหนักมากที่สุด เราจึงเลือกตอบข้อนั้นครับ ถ้าข้อนั้นคือข้อ A ก็ดีครับ แต่การคิดแบบนี้เราจะตอบ B C D ก็ไม่แปลก เพราะ แล้วแต่เราให้เหตุผลว่าข้อไหนถูกมากกว่าครับ อันนี้ก็ต้องพึ่งพาข้อเท็จจริงที่เรารู้มาครับ การตั้งคำถามถูกไม่เท่ากับจะได้คำตอบที่ถูกครั้บ แค่มีโอกาสถูก แต่ถ้าตั้งคำถามผิด หมดสิทธิ์ครับ ตอบยังไงก็ไม่มีทางถูก ถึงมั่วถูกก็อธิบายไม่ได้ครับ ดังนั้นสรุป ให้เรามองที่ต้นตอของโจทย์ หรือ เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ยังไงครับ ไม่ใช่การหาเหตุผลมา support สิ่งที่เราคิดว่าใช่ครับ แบบนี้ลำเอียง เหมือนคนที่ใช่ทำอะไรก็ถูกแนวๆ นั้นแหละครับ
การกำหนด Framework
Framework คือสิ่งที่ใช้พิจารณา มุมมอง หรือ ความคิด ที่ใช้อธิบายข้อสรุปของประเด็นนั้นๆ ที่เราตั้งขึ้นมาครับ ตรงนี้แหละที่จะทำให้น้ำหนักของประเด็นนั้นๆ ของเราน่าเชื่อถือครับ
ใน 1 ประเด็นที่เราตั้งขึ้นมา ไม่ควรมีมากกว่า 3 Framework ครับ การเขียน Framework สามารถทำได้โดยการ สร้างแผนภาพต้นไม้ครับ โดยตั้งแต่ละกิ่งว่า ถ้าเป็น A , B, C การใส่เหตุผลที่ทำให้เกิดประเด็นขึ้นไป แล้วดูว่ามันเกี่ยวข้องอะไรกับประเด็น ยังไงบ้าง แล้วสรุปแต่ละกิ่งออกมา และเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายครับ เช่น เหตุการณ์คือ ทำยังไงให้หนังสือขายดี Framework ก็อาจจะ ปกสวย ในปกสวยก็จะมีรายละเอียดของใันว่ายังไงๆ บ้างแยกย่อยที่สุด ตรงนี้ผมขอเสริมว่าใช้ 5Why , ishikawa diagram หรือ อื่นๆ ที่จำแนกหัวข้อนั้นเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ได้ ช่วยให้เราเห็นได้มากขึ้นครับ อย่างเชื่นในทางธุรกิจก็จะใช้พวก 4P , 3C , AMTUL พวกนั้นมาเป็น Framework ครับ ในเล่มนี้ให้ตัวช่วยมาคือการคิดแยกส่วนครับ โดยการคิดแยกส่วนนี้จะมี 4 แบบคือ
- แยกส่วนด้วยลำดับขั้น : กำหนดเกณณ์และจัดลำดับข้อมูล จากนั้นสรุปผลที่ได้ออกมาแล้วนำข้อสรุปตรงนี้ไปตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของประเด็นต่อครับ (ก็คือสมมติฐานในขั้นถัดไป)
- แยกด้วยตัวแปร : ค้นหาตัวแปรที่เกี่ยวข้อกับเรื่องที่เราสนใจมาให้มากที่สุด และ พิจารณาว่าแต่ละตัวแปรมีผลยังไง
- แยกด้วยขั้นตอน : อย่างการทำอะไรบางอย่างจาก A->D ก็ต้องผ่านขั้นตอนย่อยๆ มากมาย แยกขั้นตอนตรงนี้ออกมาพิจารณาครับ ว่ามีขั้นตอนไหนบ้างที่ส่งผลต่อประเด็นที่เราสนใจ
- แยกด้วยเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจ : อย่างเช่น ประเด็นเราคือจะซื้อรถยนต์ เกณฑ์ที่เราใช้ตัดสินใจคือ สวย แรง ราคาถูก ทนทาน เราก็นำเกณฑ์เหล่านั้นมาหาคำตอบที่เหมาะสมให้ประเด็นเราครับ
การกำหนด Framework ต่างๆ ต้องนึกถึงหลัก MECE พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่มีการซ้ำซ้อนกัน เช่น แบ่งตามอาชีพ นักเรียน นักดนตรี นักกีฬา มันมีการ interception กันว่านักเรียนก็เป็นนักดนตรีได้หนิ หรือจะเป็นนักกีฬาก็ได้เช่นกันครับ อย่างต่อมาคือ แยกให้ครบถ้วนครับ
การตั้งสมมติฐาน
ความต่างสมมติฐาน กับ การคาดเดามั่ว คือ การที่สมมติฐานมีการตีวงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นและสรุปผลก่อนนผลนั้นมาคาดเดาความเป็นไปได้ ในการที่จะแก้ปัญหาในประเด็นนั้นๆ ได้ ส่วนการคาดเดามั่ว คือการคาดเดาแบบมีโอกาสถูกต้องน้อยกว่าการตั้งสมมติฐานที่มีข้อเท็จจริงเป็นป้ายบอกทางอยู่กรายๆ อยู่แล้ว แล้วเอาสมมติฐานนั้นไปขยายความต่อ ถ้าทดสอบแล้วสมมติฐานไม่ถูกต้อง ก็จะได้ไอเดียใหม่ หรือ ตั้งสมมติฐานใหม่
โดยสมมติฐานที่ดี คือ สมมติฐานที่จะนำไปหาคำตอบที่ถูกต้องได้ง่าย จึงต้องชัดเวน เจาะจง ตีวงให้แคบที่สุด ก็คือสิ่งที่จะย่อยมาจาก การกำหนดและสรุปผลของ Framework ที่ดีครับ
ข้อควรระวัง
- อย่าใช้คำกำกวมในการตั้งสมมติฐาน เช่น A มี”ความแตกต่าง”กับ B ความแตกต่างคืออะไร ? ไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ถ้า A ใหญ่กว่า B แบบนี้ ไม่กำกวมมีความหมายชัดเจนครับ ตรงนี้ยังใช้ 5Why ทำให้มันจำเพาะได้อยู่ครับ
- หลักฐานสนับสนุน ต้องเพียงพอ อาจจะใช้เทคนิค Why? Ture ? ตั้งคำถามกับสมมติฐานหรือข้อสนับสนุนนั้นๆ ว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? และเป็นความจริงแน่หรือ ?
- อย่าตีขลุม คือ การคิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องทั่วไปที่คนอื่นน่าจะรู้อยู่แล้ว จึงไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับมัน ทำให้บางทีเรื่องนั้นเราอาจจะรู้เรื่องคนเดียวก็ได้แล้วคิดเองไปว่าคนอื่นเขารู้แล้ว หรือ การมั่นมั่นใจในมุมมองนั้นจนเกินไปจึงทำให้ไป focus ผิดจุด อย่างเช่น ผลลัพธ์เท่ากับ 3 แล้ว มีเลข 1 เป็นข้อมูลสนับสนุน เราเลยมองง่าย ว่ามันคือ 3x1 แต่ที่จริงมันอาจจะเป็น 2+1 หรือ 3^1 หรือ 3/1 หรือ 1+1+1 ก็ได้ เราจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างถี่ถ้วนก่อนจะเลือก focus ทางเลือกนั้นครับ
การตรวจสอบสมมติฐาน
ทำเพื่อดูว่า มีสมมติฐานอื่นที่ใช่ได้หรือไม่ -> ขยายแนวคิด สร้างไอเดีย
โดยการ แยกสมมติฐานเป็นหลายๆ สาเหตุ ประเภท และพิจารณาหลายๆ สาเหตุ หรือ ใช้เกณฑ์ ที่มีความเกี่ยวข้อง หลายๆ เกณฑ์ เพื่อตรวจสอบดูว่าทางอื่นพอเป็นไปได้หรือไม่ครับ
!! อย่าไปคิดว่าสมมติฐานนั้นมันถูก ถ้าผิดก็คือผิด แล้วตั้งสมมติฐานใหม่ครับ ถ้ามีทีท่าว่ามันผิด หรือ อันอื่นถูกกว่า และตรวจสอบซ้ำอีกที !!
สมมติฐานถูกตั้งขึ้นมาหลายสมมติฐาน อาจจะตาม Framework คือ 3 สมมติฐาน ดังนั้นทุกวิธีล้วนเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เราสนใจ แต่คำตอบที่จะนำไปตอบโจทย์ในตอนสุดท้าย มีคำตอบเดียว และ 3 ทางเลือกนั้นให้คำตอบที่ต่างกัน (ไม่ซ้ำซ้อน) ก็จะมี 3 คำตอบเป็นอย่างน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า 3 สมมติฐานจะให้คำตอบที่ผิด 2 ถูก 1 นะครับ อาจจะรวมกัน 3 ข้อแล้วได้ 1 คำตอบที่ถูกก็ได้ ดังนั้นวิธีการที่จะคัดเลือกคำตอบ คือ การจัดลำดับสมมติฐาน ทำเพื่อไม่หาข้อสรุปของสมมติฐานที่เราไม่ต้องการครับ อันไหนต้องการอยู่เก็บไว้ได้หมดครับ
โดย การจัดลำดับสมมติฐานจะแบ่งเป็นหลักๆ 5 ข้อ คือ
- สามารถตอบคำถามของประเด็น ได้ในตอนนี้เลยไหม (ความเร่งรีบ)
- มีความเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
- สมมติฐานนั้นต้องใช้เวลาตรวจสอบนานแค่ไหน
- ผลลัพธ์ที่น่าจะได้ มีค่ามากน้อยแค่ไหน
- แล้วผลลัพธ์ที่ได้ สามารถนำมาใช้งานจริงได้หรือไม่
เราสามารถเลือกใช้ เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งเป็นหลัก หรือ ใช้หลายเกณฑ์ เพื่อคัดให้ได้สมมติฐานตามที่เราต้องการมากที่สุดครับ
ต่อมาเป็น การพัฒนาสมมติฐาน คือการใช้เทคนิคแบบตัว T เจาะลึกข้อมูลลงไป ก็คือเอาข้อมูลทั้งหมดที่มี (ข้อมูลปฐมภูมิ) มาตอบสมมติฐานว่าได้คำตอบอย่างไร คล้ายๆ การอุปนัยนั่นแหละครับ แต่ต้องนึกไว้เสมอว่า ข้อมูลเปลี่ยน สมมติฐานเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้าข้อมูลนั้นถูก และทำให้สมมติฐานผิดเราก็ต้องเปลี่ยนสมมติฐานใหม่ๆ เสมอครับ
3
ต่อมาเป็นกระบวนการสุดท้ายคือ
การสร้างข้อสรุป
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ สร้างข้อสรุปของทุก Framework และ เรียบเรียงทุกข้อสรุปออกมาให้เป็นคำตอบของประเด็น
ปัญหาคือ เมื่อสรุปแล้วไม่ตรงกับอะไรที่เราต้องการเลย เราต้องกลับไปทบทวนข้อมูลต่างๆ ใหม่ถึงความถูกต้องของข้อมูล อันนี้คือในประเด็นที่โชคดีที่เรามีช้อยอยู่แล้ว อย่างเช่น คำนวณคำเลขออกมาแล้วไม่ตรงกับช้อยเลย แต่ถ้าโชคร้ายมันจะไม่มีตัวเบรกที่บอกเราว่ามันผิดเลยครับ ตัวที่บอกว่ามันจะผิดคือผลเมื่อเราลองทำไปแล้ว ก็คือการทดสอบสมมติฐานวิธีนึงแหละครับ หลังจากได้ข้อสรุปแล้ว แล้วเราจะทำยังไงเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น นั่นก็คือเราต้องตรวจสอบ ข้อเท็จจริงของข้อมูลต่างๆ ว่าถูกต้องทั้งหมดจริงๆ หรือไม่ ถ้าข้อมูลทั้งหมดนั้นถูกต้องแล้ว แสดงว่า ข้อมูลเรายังไม่ครบครับ อาจจะพยายามนำสิ่งที่มีมาคิดในมุมมองใหม่ๆ ดูได้ครับ เช่น การคิดในมุมกลับหรือด้านตรงข้ามดูครับ
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อมันผิด เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อในคำตอบของเราเพื่อหาคำตอบที่ถูกต่อไปครับ
สุดท้ายทุกอย่างแล้วแต่ความรู้และมุมมองของแต่ละคนด้วยครับ ตั้งคำถามถูก ถูกครึ่งนึงอีกครึ่งเป็นการใช้ความรู้แก้ปัญหาครับ ถ้าจำได้หรือรับรู้ได้ก็คงจะดีครับ อย่างเช่นถ้าอ่านหนังสือแล้วความรู้ เราจำไม่เราอาจจะบอกว่า เห้ย ในหนังสือมีเปิดหาเอาได้ อันนั้นใช้ได้กับการที่จะเปิดหารายละเอียดครับ แต่บทสรุปเรื่องหลัก หรือหลักการสำคัญของความรู้นั้นต้องจำได้ประมาณนึงพอที่จะบอกว่าถูกไม่ถูกครับ ถ้าจำไม่ได้เลย ถึงมีในหนังสือก็จริง ก็มีแนวโน้มว่าสิ่งที่เรามั่นใจเอามาเป็นคำตอบนั้น เช่น มีคนถามเราเรื่องข้อสอบว่าข้อนี้ตอบอะไร เราบอกเราตอบอันนี้แหละมีในหนังสือ ซึ่งจริงๆ เราก็นึกไม่ออกว่าในหนังหนังสือนั้น มันบอกว่าอะไร แต่ตอบไปก่อนคุ้นๆ พอไปเปิดดู ผิด ผมว่าตรงนี้ไม่ต่างอะไรจากการคาดเดา โอกาสผิดก็สูงกว่ามากๆ คิดง่ายๆ เลยว่า คนที่มีหนังสือหลายเล่ม ที่อ่านแล้วจำอะไรไม่ได้เลย ก็ไม่ได้เก่งกว่าคนที่อ่านหนังสือเล่มเดียวแต่เข้าใจในรายละเอียดทุกอย่างหรืออย่างน้อยแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งและนำมาประยุกต์ใช้ต่อได้เลยครับ ในเรื่องนี้ที่ผมจะบอกก็คือ ในข้อมูลบางเรื่องที่เรานำมาใช้ตัดสินใจ เราคิดว่าเรารู้แต่เราแทบจะจำรายละเอียดไม่ได้เลย เปิดหาข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจไปครับ ไม่งั้นปัญหาเราจะเพิ่มขึ้น จากหาข้อสรุปของประเด็นก็กลายเป็นการไล่แก้ปัญหาที่สร้างขึ้นใหม่แทน
เป็นไงครับสำหรับสาระหลักในเล่มนี้ ส่วนตัวผมก็พอจะโอเค แค่พอจะโอเคเพราะว่า ตัวเนื้อหาภาษาเขียนในเรื่อง ส่วนตัวผมว่ามันค่อนข้าง งง และได้อะไรน้อย ต้องอ่านย้ำแล้วย้ำอีก ต้องคิดเอาความรู้จากเล่มอื่นๆ มาช่วยแปลความเสมอ พอตัวเนื้อหามันดูงงหรือยาก ก็มีตัวอย่างที่เป็นเคสโคนันที่ดูง่ายๆ แต่ผมว่าอย่างแรกเลยมันก็ไม่ได้ทำให้หายงง ในเนื้อหาช่วงแรกๆ ที่เรางงมา อีกอย่าด้วยความเป็นตรงนี้ ผมว่าแต่งเอาสถานการณ์อื่นมาก็ได้เผลอๆ อาจจะดีกว่า โดยไม่ต้องเอาเคสโคนันแบบรวบรัดมาครับ สั้น รวบรัดมาก เหมือนจะบอกแค่ตรงนี้ก็เอามาแค่ตรงนี้ ยื่นเนื้อหาให้เลย ก็ทำให้เราคิดแบบนั้นเลย แล้วก็จะบอกให้เราผิดเพราะเขาจะให้ข้อมูลไม่ครบมา มันค่อนข้างห่างไกลกับรสชาติโคนันมากๆ ครับ แต่ผมไม่เอาตัวเองมาเป็นบรรทัดฐานหรอกนะว่าอะไรดีไม่ดีสำหรับอะไรนะครับ การเขียนอาจจะไม่ถูกจริต ไม่มีสิ่งไหนในโลกที่เกิดมาเพื่อทุกคนครับ
อันนี้คือความคิดเห็นส่วนตัวของผมเลย ผมจะบอกว่าวิธีการดูโคนันให้สนุกนั้น คือการดูแล้วจับคนร้ายให้ได้ก่อนที่มันจะเฉลยๆ ครับ ถ้าสังเกตจริงๆ แต่ละตอนโคนันและตัวละครอื่นๆ มันจะพูดถึงสมมติฐานหรือข้อมูลหลักฐานต่างๆ บางทีอาจตะขึ้นต้นด้วยแรงจูงใจ หรือ ตบท้ายด้วยแรงจูงใจก็ได้ ถ้าเราพยายามคิดตามไปแล้วตั้งสมมติฐานของตัวเองไว้ เน้นนะครับ ของตัวเอง เพราะในเรื่องตัวละครอื่น หรือ แม้แต่โคนันอาจจะบอกสมมติฐานที่ผิดให้แก่เรา เราเก็บแค่ข้อมูลที่เป็นเรื่องจริงพอครับ เช่น เจอหลักฐาน A ในที่เกิดเหตุ ซึ่งเราก็เห็นอยู่ว่ามันมีหลักฐานอยู่จริงๆ แต่ถ้าเราคิดว่าหลักฐานนี้เป็นของนาย X แล้วมาอยู่ตรงนี้แสดงว่านาย X เป็นคนทำ แบบนี้ไม่ใช่ครับ ต้องหาสิ่งที่เป็นขอเท็จจริงมามัดตัวคนร้าย ภาพรวมของเรื่องโคนัน ข้อมูลจะไม่มาก การพิจารณาคดีต่างๆ จะไม่ยากเกินไป แต่ถึงกระนั้นสิ่งที่ยากที่สุดของโคนันที่ทำให้เรา Wtf คือวิธีการลงมือครับ เราต้องจินตาการถึงวิธีการลงมือจากข้อมูลต่างๆ ในเรื่อง เช่น คำพูด ท่าทีพิรุธ สิ่งแวดล้อม หลักฐานที่ปรากฏให้ครบถ้วนครับ เรื่องโคนันนี้น้อยตอนมากที่จะมีเรื่องใหญ่ๆ มาเตะให้เราเขว ส่วนใหญ่จะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆเตะเรา ถ้ายึดหลักว่าเรากำลังทำประเด็นอะไรไม่น่ามีปัญหาเลย นี่แหละครับ หนังสือเล่มนี้ทำให้รสชาตินี้หายไปมาก ให้ข้อมูลมาเท่าที่เขาจะอธิบายสิ่งที่เขาบอกได้แต่ไม่ได้ให้เราสังเกตุโดยรวมให้ชัดเจน ซึ่งตรงนี้ปกติโคนันมันไม่ได้คดียากและข้อมูลเยอะอยู่แล้ว ถ้าใครเคยดูการ์ตูนแนวนี้อีกเรื่องนึงผมว่าเป็น level up ของโคนัน ผมว่าคือ คินดะอิจิ ครับ ค่อนข้างโหดร้ายกว่า ทั้งในเชิงอารมณ์ ในด้านปริศนา และส่วนใหญ่เป็นตอนยาวครับ คดีนึงชั่วโมงกว่า แล้วข้อมูลมาเรื่อยๆ ผมดูแรกๆ ต้องนั่งจดข้อมูลไว้ และเตะเขวแรงมากครับ มีจุดให้หลงทางเยอะมากๆ และตอนนึงตายกันเพียบ วิธีการที่จะใช้มัดตัวหรือข้อมูลที่ใช้คิดมันเยอะมากครับ ลองๆ ดูก็ได้ครับ การ์ตูนทั้ง 2 เรื่อง มีใน Line TV เดียวผมจะเป็นชื่อตอนที่อยู่ในเล่มไว้ให้ครับ ลองดูแล้วใช้หลักการคิดในเล่มนี้คิดตามดูครับ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมเล่มนี้มันเข้าใจยาก และในเรื่องจริงมันมีรายละเอียดมากกว่านั้นมากครับ ที่จะทำให้เราได้คิดและเข้าใจเนื้อหาหลักการจริงๆ สรุปแล้วโดยรวมผมว่าไม่ต้องโคนันก็ได้ครับ 555 มันเอาเคสโคนันมาอิงเฉยๆและครับ ความสนุกน้อยกว่าที่คาดเยอะครับ
ตัวสรุปหลักการหลักมีอยู่ใน 2 หน้าครับ ผมถ่ายรูปลงในเม้นไว้ให้ครับ
ส่วนอันนี้ตอนที่เป็นเคสัวอย่างสักเคสที่ผมคิดว่าน่าจะสนุกได้คิดเยอะ เผื่อใครจะไปฝึกฝนวิชาครับ search ดูใน line TV ดูนะครับ
ยอดหนังสือบจิ๋ว โคนัน ซีรีย์ ปี 1 | EP.11 และ 12 ครับ
ใครยังไม่ได้อ่านเล่มนี้ลองคิดดูก่อนได้ครับ แล้วอาจจะไปเปิดเฉลยวิธีคิดแบบง่ายๆ คือ เคสที่อยู่ในบทสุดท้ายเคสสุดท้ายครับ ไปเปิดๆ ดูได้ครับถ้าแวะไปเจอ
หรือไว้มาเล่นเกมนักสืบกันในโพสต์หน้านะครับ ผมจะเขียนเคสจากการตูนหรือหนังไว้ให้เล่นกันสนุกๆ ครับ
เอ้อ นึกออกพอดี ช่วงนี้มีเกมที่เราได้ฝึกฝนความคิดตรงนี้กันอย่างมากอยู่เกมนึง สนุกด้วย ใช้เวลาต่อเกมแปปเดียว มือถือก็เล่นได้ เกมนั่นคือ Among Us ! ครับ 555 ลองโหลดมาแล้วหาเพื่อนเล่นกันดูได้ครับ วัดคมกันไป
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้อีกครั้งครับ ใครชอบฝากกด like เพื่อเป็นกำลังใจให้กัน หรือกด share เพื่อให้คนใกล้ตัวได้อ่านถ้าคิดว่ามีประโยชน์ หรือ comment รีวิวการฝึกฝน หรือ พูดคุยกันได้ครับ ยินดีครับ
เจอกันใน เคสสนุกๆ ในตอนหน้านะครับ ไว้มาลับคมกัน วันนี้ผมไปก่อน สวัสดีครับ
Sherlock B.
Facebook Page & Blockdit : Sherlock B.
โฆษณา