ทุกวันนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอคำว่า AI ได้บ่อย ๆ
AI เป็นคำที่ฟังดูหรูหรา ระบบปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะที่แค่พูดชื่อก็รู้สึกได้ว่าเราจะสามารถปล่อยวางภาระทุกอย่างไว้กับมันได้
คำถามคือเราเข้าใจนิยามที่แท้จริงของสิ่งที่เรียกว่า AI นี้มากแค่ไหน?
เราสามารถปล่อยให้ทุกอย่างถูกจัดการด้วย AI ได้จริงหรือไม่?
และ AI จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้จริงหรือ?
คำตอบทั้งหมดนี้มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ครับ
"... AI ≠ Buzzword | เอไอ ไม่ใช่แค่คำกล่าวลอย ๆ..."
AI ≠ Buzzword | เอไอ ไม่ใช่แค่คำกล่าวลอย ๆ
AI ≠ Buzzword เป็นหนึ่งในหนังสือชุด No Buzzword series
ที่ประกอบไปด้วย AI ≠ Buzzword, Big data ≠ Buzzword และ Digital transformation ≠ Buzzword เนื้อหาในหนังสือที่เป็นการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาและนิยามที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้เกิดเข้าใจและลดการใช้คำในทางที่ผิดและเกินจำเป็น (คำที่พูดถึงบ่อยครั้งแต่น้อยคนนักจะรู้ความหมายที่แท้จริง จนถูกละเลยและก่อให้เกิดความคาดหวังที่ผิด เรียกว่า Buzzword)
AI กลายเป็น Buzzword ไปตั้งแต่เมื่อไหร่คงไม่มีใครทราบ
แต่ที่รู้คือทุกวันนี้เราสามารถพบเจอคำว่า AI ทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใหม่จาก Startup ที่พ่วงคำว่า AI ให้จูงใจนักลงทุน
หรือแม้แต่โครงการของหน่วยงานรัฐที่ฟากฝังความหวังไว้กับ AI ชนิดที่ไม่สนใจ
โครงสร้างและความพร้อม (ตัวอย่างเช่นโครงการเราไม่ทิ้งกันที่เคลมว่าใช้ AI ช่วยระบุผู้ได้รับการเยียวยา) เมื่อมีคำว่า AI ทำให้ผู้ใช้เกิดความคาดหวังว่าระบบนั้นต้อง
ตามคาดก็ทำให้เราให้ความสำคัญกับคำว่า AI น้อยลง (หมดความตื่นเต้นไปแล้ว)
AI นั้นแท้จริงไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างยาวนานจากหลักคณิตศาสตร์สู่วิทยาการคอมพิวเตอร์ คำว่า AI นั้นย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1955 และพัฒนาเรื่อยมาในแวดวงวิชาการเป็นหลัก อาจมีออกมาให้เห็นบ้างอย่างหุ่นยนต์ ASIMO ในปี 2000 จนกระทั่งปี 2009 เป็นต้นมาที่ Big data เริ่มเฟื่องฟูก็ทำให้ AI ได้รับการผลักดันออกเต็มที่ ให้ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง (เพราะ Big data เป็นทรัพยากรที่สำคัญของการสร้าง AI)
พูดได้ว่า AI คือระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้
(เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยส่วนนำเข้าข้อมูล เก็บข้อมูล ประมวลผล ทดสอบผล และแสดงผล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่ AI จะต้องออกมาเป็นหุ่นยนต์จับต้องเป็นตัวได้เหมือนที่เราเห็นจากภาพยนตร์)
ทั้งนี้ AI แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) Reactive Machines ไม่มีหน่วยความจำ อาศัยการประมวลผลจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าตามชุดคำสั่งเท่านั้น เช่น AI แข่งหมากรุก
2) Limited Memory มีหน่วยความจำที่จำกัด อาศัยการเรียนรู้จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ก่อน สร้างโมเดลในการตัดสินใจจากชุดข้อมูลที่ได้เรียนรู้ไป AI ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพวกนี้
3) Theory of mind ตามคอนเซ็ปท์แล้วคือ AI ที่เรียนรู้ได้ถึงอารมณ์ วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้
4) Self-awareness คือ AI ที่สามารถคิดและกระทำการใด ๆ ได้ด้วยตนเอง เป็นขั้นสูงสุดของ AI ที่สะท้อนให้เห็นได้ในภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น Skynet ใน The Terminator หรือ Ultron ใน Avengers: Age of Ultron
จะเห็นได้ว่า AI ในปัจจุบันนั้นมีข้อจำกัดคือต้องได้รับคำสั่งและเรียนรู้จากชุดข้อมูลเดิมก่อนถึงจะแสดงผลได้ นี่จึงช่วยแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า AI สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง (แก้ไขได้ตามวัตถุประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นตามชุดคำสั่ง) AI สามารถทำงานได้ทันที (ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และพัฒนาโดยมีข้อได้เปรียบกว่ามนุษย์คือไม่เหนื่อย และถึงแม้จะมี AI สำเร็จรูปก็มีข้อจำกัดในการใช้) AI เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจากข้อมูลใหม่ ๆ (มนุษย์ยังต้องกำหนดชุดข้อมูลให้เรียนรู้)
ประเด็นหนึ่งที่คนให้ความสำคัญกันมากคือ AI จะทำให้คนตกงานจริงหรือไม่?
ในทัศนะของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มองว่าโลกเราผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง (ยุคเครื่องจักรไอน้ำ ยุคไฟฟ้า ยุคโรงงานอัตโนมัติ และยุคดิจิตอล) แต่ละครั้งมีอาชีพที่สูญหายและมีอาชีพที่เกิดใหม่ การมาถึง AI จึงส่งผลไม่ต่างกัน จะมีบางอาชีพที่หายไป และจะมีอาชีพเกิดใหม่อีกมาก อย่างไรก็ตาม AI ไม่อาจแทนที่มนุษย์ได้ 100% เพราะผู้ที่จะประเมินและรับรองผลลัพธ์ของ AI ได้คือมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการปรับตัวและเรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อยก็เข้าใจระบบและแปลผล) เพื่อที่จะเป็น Smart User
อีกประเด็นที่มีการพูดถึงในหนังสือเล่มนี้คือการตั้งคำถามทุกครั้งที่ได้ยินคำว่า AI
เพื่อที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของ Buzzword (ไม่โดนแกงจากคำว่า AI ปลอม ๆ ที่สร้างฝันเกินจริง) ด้วยชุดคำถามต่อไปนี้
1) เป็น AI ประเภทใด
2) ชุดข้อมูลที่ใช้คืออะไร
3) วัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์คืออะไร
4) ใครเป็นผู้บำรุงรักษาระบบ
ทั้งนี้เพราะ AI ไม่ใช่ magic bullet ที่จะแก้ไขปัญหาได้ทุกสิ่ง